svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

GISTDA เผยภาพเปรียบเทียบอ่างฯลำเชียงไกร พท.น้ำลดลงมาก

05 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

GISTDA ยังคงตามติดสถานการณ์น้ำท่วมปี 2564 อย่างต่อเนื่อง เผยภาพถ่ายดาวเทียม ของวันที่ 4 ต.ค. 64 บริเวณอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร พื้นที่น้ำในอ่างเก็บน้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัด

5 ตุลาคม 2564 ยังคงตามติดสถานการณ์น้ำท่วมปี 2564 อย่างต่อเนื่อง โดย GISTDA ใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1 ของวันที่ 4 ต.ค. 64 ติดตามพื้นที่บางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ เริ่มพบพื้นที่น้ำท่วมขังบ้างแล้ว รวมทั้งสิ้น 4,253 ไร่ โดยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ และพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำสายหลัก

 

GISTDA เผยภาพเปรียบเทียบอ่างฯลำเชียงไกร พท.น้ำลดลงมาก

GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียม ระบุโคราชน้ำท่วมขังแล้วกว่า 2 แสนไร่ ส่วนใหญ่ในพื้นที่เกษตรกรรม  GISTDA ใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียม Sentinel-1 “พบพื้นที่น้ำท่วมขังบริเวณบางส่วนของจังหวัด ดังนี้

  • นครราชสีมา 248,355 ไร่
  • ชัยภูมิ 150,061 ไร่ 
  • ขอนแก่น 99,004 ไร่ 
  • บุรีรัมย์ 13,909 ไร่ 
  • สุรินทร์ 4,568 ไร่ และ
  • ร้อยเอ็ด 196 ไร่

รวมทั้งสิ้น 516,093 ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำสายหลักสายรอง รวมถึงที่อยู่อาศัยของประชานบางส่วน

 

GISTDA เผยภาพเปรียบเทียบอ่างฯลำเชียงไกร พท.น้ำลดลงมาก

GISTDA ใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 พบพื้นที่น้ำท่วมขังบริเวณบางส่วนของภาคเหนือในจังหวัดสุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก และภาคกลาง รวมประมาณ 1,900,000 ไร่ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำสายหลัก ลำน้ำสายรอง ที่อยู่อาศัยบางส่วน

 

GISTDA เผยภาพเปรียบเทียบอ่างฯลำเชียงไกร พท.น้ำลดลงมาก

 

เปิดภาพจากดาวเทียม Sentinel-1 เปรียบเทียบ 3 ช่วงเวลาเหตุการณ์บริเวณ อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา

 

ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2564, 30 กันยายน 2564 และล่าสุด 4 ตุลาคม 2564  โดยสีดำในภาพคือพื้นที่น้ำ จะเห็นว่าพื้นที่น้ำในอ่างเก็บน้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัด ปริมาณน้ำจำนวนมากเข้าท่วมพื้นที่ต่างๆ ที่อยู่ทางตอนล่างของอ่าง อาทิ พื้นที่เกษตรกรรม บ้านเรือนชุมชน เป็นต้น

GISTDA เผยภาพเปรียบเทียบอ่างฯลำเชียงไกร พท.น้ำลดลงมาก

โดยขณะนี้ มวลน้ำดังกล่าวอยู่บริเวณ อ.ประทาย อ.พิมาย อ.โนนแดง อ.คง อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา มุ่งหน้าสู่ จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี เพื่อออกสู่แม่น้ำโขงต่อไป

 

สามารถตรวจสอบพื้นที่อื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่  http://flood.gistda.or.th

logoline