svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

กรมชลประทาน ‘เอาอยู่‘ น้ำท่วมกทม.-ปริมณฑล

04 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมชลประทาน ยืนยัน สามารถรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมในพท.กรุงเทพและปริมณฑลได้ โดยการผันน้ำออกทางเจ้าพระยาฝั่ง ตะวันตกและตะวันออก ถ้าหากไม่มีน้ำฝนมาเติม

กรมชลประทาน ‘เอาอยู่‘ น้ำท่วมกทม.-ปริมณฑล

กรมชลประทาน ‘เอาอยู่‘ น้ำท่วมกทม.-ปริมณฑล

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากปริมาณฝนที่ตกในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศของปี 2564 สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 9% โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคกลางสูงกว่าค่าเฉลี่ย 9% เท่ากัน ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่าค่าเฉลี่ย 1% จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น “เตี้ยนหมู่” ช่วงวันที่ 24-26 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งส่วนใหญ่จะตกบริเวณด้านท้ายเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ส่งผลให้ปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา คือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในวันที่ 3 ต.ค. 64 มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกันเพียง 12,832 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำใช้การได้ 6,136 ล้าน ลบ.ม. ยังสามารถรับน้ำได้รวมกันอีกกว่า 12,000 ล้าน ลบ.ม.

กรมชลประทาน ‘เอาอยู่‘ น้ำท่วมกทม.-ปริมณฑล

ทั้งนี้ ฝนที่ตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนล่างบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร และในพื้นที่จังหวัดลำปาง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิงสูงขึ้น และน้ำส่วนหนึ่งที่มาจากพื้นที่จังหวัดลำปาง ไหลลงสู่ลำน้ำแม่มอกและคลองแม่รำพันในเขตจังหวัดสุโขทัย ทำให้มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำฝั่งขวาของแม่น้ำยมบริเวณ อ.เมืองสุโขทัย กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำท่าในลุ่มน้ำยม พร้อมกันนี้ได้หน่วงน้ำไว้ในพื้นที่แก้มลิงทุ่งบางระกำ จ.พิษณุโลก เพื่อช่วยลดผลกระทบกับปริมาณน้ำที่ท่วมในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยฝั่งตะวันตก รวมไปถึงช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไหลหลากลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้วย

กรมชลประทาน ‘เอาอยู่‘ น้ำท่วมกทม.-ปริมณฑล

ด้านแม่น้ำปิง ปัจจุบันปริมาณน้ำได้ลดลงแล้ว แต่ยังมีปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังไหลมาสมทบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ต้องผันน้ำเข้าคลองทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยารวม 376 ลบ.ม./วินาที เพื่อลดการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา โดยจะไม่ส่งผลกระทบกับกรุงเทพมหานคร

กรมชลประทาน ‘เอาอยู่‘ น้ำท่วมกทม.-ปริมณฑล

สำหรับสถานการณ์น้ำในแม่น้ำป่าสักที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้องระบายน้ำเพื่อลดปริมาณน้ำที่เกินระดับเก็บกักของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปัจจุบันมีการระบายลงสู่ด้านท้ายในอัตรา 1,133 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มลดลง กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำในแม่น้ำป่าสัก โดยการผันน้ำบางส่วนออกทางคลองระพีพัฒน์ ผ่านประตูระบายน้ำพระนารายณ์ ลงสู่คลองรังสิตประยูรศักดิ์ เพื่อสูบออกแม่น้ำบางปะกงและอ่าวไทย  ช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านเขื่อนพระรามหก และลดผลกระทบบริเวณ อ.ท่าเรือ อ.นครหลวง และ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งลดปริมาณน้ำที่จะไหลผ่าน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา อีกด้วย

logoline