20 กันยายน 2564 นายเกียรติศักดิ์ ปานรังสี ประธานชมรมเภสัชกรชุมชนจังหวัดภูเก็ต เปิดเผย “ผู้สื่อข่าว” ว่าจากสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่
ซึ่งทางจังหวัดภูเก็ตได้มีมาตรการอย่างดีเยี่ยมและทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เข้ามาเสริมในการให้ แอนติเจน เทสต์ คิทAntigen test kit (ATK) กับประชาชนเพื่อการคัดกรอง
“เรามองว่ามันยังมีช่องว่างที่ประชาชนบางกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ทางชมรมฯร่วมกับภาคเอกชนและนักธุรกิจในพื้นที่คิดว่าเราจะช่วยจังหวัดหรือจังหวัดอย่างไรได้บ้าง สำหรับการช่วยกันคักกรอง ด้วยแอนติเจน เทสต์ คิท”
ซึ่งเราก็มีร้านยากระจายอยู่ที่ครอบคลุมพื้นที่ชุมชนทั้ง 3 อำเภอของจังหวัดภูเก็ต ด้วยการนำATKมาช่วยคัดรองให้กับกับประชาชนในพื้นที่ชุมชนที่มีน้องเภสัชกรร้านยาตั้งอยู่
“เป็นการอุดช่องว่าง สำหรับประชาชนกลุ่มที่ไม่สามารถรับการคัดกรองจากทางจังหวัดผ่านทางโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน และองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตซึ่งเขาดำเนินการอยู่แล้วได้”
โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิใดๆ เช่น แรงงานระดับล่าง หรือแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งถ้ากลุ่มนี้ติดเชื้อแล้วแสดงอาการ เขาไปไหนโดยที่เขาไม่รู้ตัวก็จะแพร่เชื้อได้เป็นอันตรายต่อชุมชน
“ก็จะให้กลุ่มคนกลุ่มนี้เข้ามาที่ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการกว่า 30 ร้าน เพื่อมารับการตรวจคัดกรองโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด แต่มีเงื่อนไขว่า จะต้องเป็นผู้มีรายได้น้อย ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิใดๆได้ และเป็นกลุ่มเสี่ยง”
สำหรับงบประมาณในการจัดหา ATK มาให้บริการนั้น ได้มาจากการบริจาคของพี่ๆน้องๆเภสัชกรร่วมกันบริจาค รวมถึงนักธุรกิจที่เห็นว่าชมรมฯมีศักยภาพในการช่วยจังหวัดและรัฐก็มร่วมบริจาค
หรือแม้กระทั่งคุณพ่อคุณแม่จากชมรมผู้ปกครอง ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่อยากมีส่วนร่วมในการดำเนินการ จึงอยากฝากว่าถ้าใครเห็นว่าเรามีคุณค่า มีประโยชน์
“เป็นการอุดช่องว่างของภาครัฐและเป็นการเสริมการทำงาน ก็สามารถร่วมกันบริจาคกับทางชมรมฯได้ เราจะทำงานคู่ขนานกับจังหวัด”
ส่วนระยะเวลาโครงการนั้น ประธานชมรมเภสัชกรชุมชนจังหวัดภูเก็ต กล่าวและว่า จะดำเนินการคู่ขนานกับการทำงานของจังหวัดและภาครัฐไปเลย ก็คือถ้าภาครัฐยังทำอยู่เราก็ทำคู่ขนานกันไปและขึ้นอยู่กับงบประมาณที่ได้รับบริจาคด้วย
นอกจากยังกลุ่มเภสัชกรที่ไม่มีร้านยา ก็มาช่วยทางด้านวิชาการ ด้วยการให้คำปรึกษา เทเลฟาร์มาซี กับกลุ่มที่เป็นผู้ป่วยแล้ว เข้าสู่ระบบโรงพยาบาลแล้ว ไม่มีเตียง
พอไม่มีเตียงทางคุณหมอจะส่งข้อมูลมาให้ทางเภสัชกร เพื่อให้เภสัชกรกลุ่มนี้เข้าไปให้ข้อมูลในการรับประทานยาให้กับคนไข้ที่ได้รับยามาจากคุณหมอที่ส่งไปให้ที่บ้านผู้ป่วย
“เภสัชกรกลุ่มนี้ก็จะให้ความรู้ คำแนะนำให้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะจัดแบ่งทีมออกเป็น 3 ช่วงๆละ 8 ชั่วโมงรวม 24 ชั่วโมง ซึ่งเมื่อวานนี้ได้ประชุมร่วมกับทางทีมแพทย์ของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตว่าใครจะทำอะไร”
ประธานชมรมเภสัชกรชุมชนจังหวัดภูเก็ต ยังกล่าวถึงการให้บริการคัดกรองของร้านยาในวันนี้จากการคัดกรองพบว่าเจอผลบวกไปหลายคน ซึ่งได้ส่งต่อไปให้ทางคลินิกอุ่นใจของทางจังหวัดภูเก็ต
ภาพ/ข่าว โดย:
สมชาย สามารถ เนชั่นทีวี