svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

"พณ." เตรียมพลิกโฉมงานคราฟต์ไทย ดัน "sacit" พัฒนาศิลปหัตถกรรมไทยทุกมิติ

14 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ แนะส่งออกหัตถศิลป์ไทยตีตลาดนอก ชูนวัตกรรมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ปั้นงานศิลปหัตถกรรมไทยใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ติดอาวุธทางการค้าสร้างมาตรฐานการันตีคุณภาพจาก “sacit” พร้อม เชื่อมต่องานศิลปหัตถกรรมไทยไปยังคนทั่วโลก

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมไทยในทุกมิติอย่างยั่งยืน โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้เข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจและอำนาจหน้าที่ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม  เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ให้เป็นที่ยอมรับและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

 

"พณ." เตรียมพลิกโฉมงานคราฟต์ไทย ดัน "sacit" พัฒนาศิลปหัตถกรรมไทยทุกมิติ

 

โดยใช้แนวคิด “ตลาดนำการผลิต”  คือพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่มีรูปแบบที่ร่วมสมัย สามารถใช้งานในชีวิตประจำวัน และยังคงคุณค่าอัตลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมไทยไว้ โดยมีฐานการผลิตที่ได้มาตรฐาน มีจำนวนการผลิต ที่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในราคาที่แข่งขันได้ เพื่อสามารถขยายกลุ่มผู้บริโภคไปยังวงกว้างมากขึ้น 

 

สศท.เองทำหน้าที่ในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้ตรงใจตลาด มีราคาที่เหมาะสม สร้างให้สินค้ามีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในคุณภาพ ส่วนที่เหลือกระทรวงพาณิชย์จะเข้ามาดูแลรับไม้ต่อ ในการหาตลาด ขยายช่องทางการค้าสู่ช่องทางใหม่ๆ ผ่านพาณิชย์จังหวัดและทูตพาณิชย์ที่จะเป็นกำลังสำคัญที่เป็นสื่อกลางที่จะนำผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมไทย

 

ภายใต้การดำเนินงานของ สศท. ให้มีโอกาสพบกับโอกาสทางการตลาด โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพด้านการส่งออกงานหัตถศิลป์ไทย ซึ่งนับว่ายังสามารถเปิดตลาดทั้งในสหรัฐอเมริกา และยุโรป ที่มีความต้องการสินค้าประเภทศิลปหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์และสามารถใช้งานในชีวิตประจำวัน

 

โดยทูตพาณิชย์จะเป็นกลไกสำคัญในการช่วยเหลือสนับสนุน สรรหาความร่วมมือกับเครือข่ายภายนอกประเทศ เป็นพี่เลี้ยงให้ สศท. บริหารจัดการในรายละเอียดเรื่องการส่งออก การเจรจาธุรกิจและอื่นๆ เพื่อขยายตลาดงานศิลปหัตถกรรมให้แพร่หลายและตรงกับรสนิยมการบริโภคในแต่ละภูมิภาคของโลก เพื่อยกระดับรายได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ”

 

"พณ." เตรียมพลิกโฉมงานคราฟต์ไทย ดัน "sacit" พัฒนาศิลปหัตถกรรมไทยทุกมิติ

 

นายสินิตย์ กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดให้กับภาคการผลิตฐานรากก็เป็นสิ่งที่ สศท. ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้เกิดการประกอบอาชีพและทำมาค้าขายในงานศิลปหัตถกรรมไทย ทั้งในกลุ่มชาวบ้านผู้ผลิตศิลปหัตถกรรมในชุมชน และคนรุ่นใหม่ โดยจะต้องพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการ  ที่มีศักยภาพในกลุ่ม Micro SME , SME พัฒนาไปสู่กลุ่ม Startup ทางด้านศิลปหัตถกรรมโดยเฉพาะภายใต้ชื่อ “Smart Craft CEO” 

 

นอกจากนี้ ยังต้องเชื่อมโยงงานศิลปหัตถกรรมไปยังผู้คนทั่วโลกมากขึ้น ส่งเสริมการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ ได้มอบแนวทางให้ สศท. พัฒนาแพลตฟอร์มการค้าสำหรับงานศิลปหัตถกรรมโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการเชื่อมต่องานศิลปหัตถกรรมไทยสู่ตลาดโลก ผ่านแพลตฟอร์ม “Thai Crafts Online : ไทยคราฟต์ออนไลน์” รองรับ E-Commerce แห่งชาติในอนาคต รวมทั้งการขยายช่องทางกับแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ หรือการจัดงานแสดงสินค้าแบบออนไลน์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายอย่างแพร่หลาย

 

"พณ." เตรียมพลิกโฉมงานคราฟต์ไทย ดัน "sacit" พัฒนาศิลปหัตถกรรมไทยทุกมิติ

 

ทำให้เกิดการตลาดบูรณาการงานศิลปหัตถกรรมไทย ไม่ว่าจะเป็น E-commerce หรือ VR-shop ซึ่งเป็นการพลิกโฉมหน้าการทำการตลาดรูปแบบใหม่ออกจากกรอบดั้งเดิมที่ดำเนินการอยู่ได้ รวมทั้งการทำการตลาดเชิงรุกกับพันธมิตรต่างประเทศ ในลักษณะการจับคู่ธุรกิจออนไลน์ (Online Business Matching : OBM) ขณะเดียวกันการปั้น Gen Z เป็น CEO เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นแม่ทัพทางธุรกิจในตลาดโลก นำรายได้จากการส่งออกกลับเข้าสู่ประเทศไทยได้ พร้อมจุดประกายความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่และประชาชนคนไทย ทำให้เกิดการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งยังกลายเป็นอาชีพสร้างรายได้ที่มั่นคง เป็นการทำให้งานศิลปหัตถกรรมไทยอยู่คู่สังคมไทยตลอดไปอย่างแท้จริง

 

 

ด้าน นายพรพล เอกอรรถพร รักษาการผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย คาดว่า ในต้นปี 2565 จะสามารถปรับเปลี่ยนตัวองค์กรให้เป็นไปตาม พรฎ.กำหนดได้แล้วเสร็จ โดยในระหว่างนี้สถาบันก็เร่งขับเคลื่อนนโยบาย   ที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพาณิชย์ เพื่อวางรากฐานและเตรียมความพร้อมก่อนจะดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบต่อไป

 

"พณ." เตรียมพลิกโฉมงานคราฟต์ไทย ดัน "sacit" พัฒนาศิลปหัตถกรรมไทยทุกมิติ

 

“สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit (อ่านว่าศักดิ์สิทธิ์) จึงจะเป็นองค์กรเพื่อศิลปหัตถกรรมไทยของประเทศอย่างแท้จริง ให้ผู้ประกอบการงานหัตถกรรมเกิดความเข้มแข็งในเวทีระดับสากล เกิดการสืบสานและต่อยอดงานศิลปหัตถกรรมไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้กลับมาสร้างรอยยิ้มและความกินดีอยู่ดี ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยภูมิปัญญาอันมีค่าที่น่าภาคภูมิใจและจะอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป” รักษาการ ผอ.กล่าวทิ้งท้าย

 

นายพรพล เอกอรรถพร รักษาการผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย

logoline