svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

"ตำรวจ คราบผู้ร้าย" สถานการณ์ทั่วโลกยังน่าห่วง

25 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชิบ จิตนิยม เปรียบเทียบการใช้ความรุนแรงของ ผกก.โจ้ ทำร้ายผู้ต้องหาจนตาย กับสถานการณ์ต่างประเทศมีเหตุการณ์แบบนี้มากน้อยเพียงไร โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ที่คนยังจดจำเหตุการณ์ ทรมานชาวผิวดำจนเสียชีวิตเมื่อปีที่แล้วได้ดี

25 สิงหาคม 2564 คดีที่ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือผกก.โจ้ ใช้ถุงดำคลุมหังผู้ต้องหาคดียาเสพติดจนเสียชีวิต กำลังเป็นข่าวคึกโครมในบ้านเรา แต่ถ้าย้อนไแเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563 จอร์จ ฟลอยด์ ชาวผิวสีวัย 46 ปีในรัฐมินนิโซต้า สหรัฐ ถูกตำรวจจับกุมหลังจากถูกกล่าวหาว่าเขาใช้ธนบัตรปลอมซื้อของในร้านแห่งหนึ่ง แต่ข้อหาไม่ได้หนักหนาสาหัสเท่ากับพฤติกรรมของตำรวจ อย่าง ดีเร็ก เชาวิน ที่ใช้เข่ากดคอผู้ต้องหานานถึง 9 นาที 29 วินาทีท่ามกลางเสียงร้องขอของฟรอยด์ ว่า เขาหายใจไม่ออก และสุดท้ายเสียชีวิต  

 

"เชาวิน" ถูกตัดสินจำคุก 22 ปี 6 เดือน เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เกิดกระแสเรียกร้องไปทั่วโลกให้ปฏิรูปการทำงานของตำรวจและระบบยุติธรรม

 

แต่ 1 ปี 3 เดือนผ่านไป อัตราการเสียชีวิตจากการทำทารุณของตำรวจในสหรัฐ แทบไม่เปลี่ยนแปลง  
\"ตำรวจ คราบผู้ร้าย\" สถานการณ์ทั่วโลกยังน่าห่วง

ข้อมูลจาก Mapping Police Violence ชี้ว่าจากวันนั้นจนถึงวันนี้มีผู้เสียชีวิตไปอีกอย่างน้อย 1,099 คน หรือเฉลี่ย 3 คนต่อวัน ตลอดเกือบ 9 ปีที่ผ่านมาเสียชีวิตไปกว่า 9 พันคนแล้วหรือเฉลี่ยปีละอย่างน้อย 1 พันคน

 

และแน่นอนคนผิวสียังตกเป็นเหยื่อของตำรวจมากกว่าชาวผิวขาวเกือบ 3 เท่า และ 35 เปอร์เซ็นต์ของชาวผิวสีที่ถูกตำรวจเล่นงาน ไม่ได้มีอาวุธ และจากกว่า 9 พันเหตุการณ์ มีตำรวจที่ถูกตั้งข้อหาไม่ถึง 2 เปอร์เซ็นต์

\"ตำรวจ คราบผู้ร้าย\" สถานการณ์ทั่วโลกยังน่าห่วง

\"ตำรวจ คราบผู้ร้าย\" สถานการณ์ทั่วโลกยังน่าห่วง

ช้อมูลจาก Politico ระบุว่าตลอด 4 เดือนแรกของปีนี้ มีเพียง 6 วันเท่านั้นที่ตำรวจอเมริกันไม่ได้ฆ่าใคร  

 

จัสติน นิกซ์ นักอาชญวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเนบราสก้า โอมาฮ่ากล่าวว่าคนตายด้วยฝีมือตำรวจเฉลี่ยปีละพัน ไม่ใช่เรื่องปกติ นักวิทยาศาสตร์เองก็พยายามระบุตัวแปรที่ทำให้ตำรวจใช้ความรุนแรงเช่นอาจมาจากอคติด้านเชื้อชาติ อารมณ์ร้อน ต้องการโชว์อำนาจ หรือการฝึกฝน  การคัดกรองก่อนรับเป็นตำรวจจึงสำคัญมากแม้หลายแห่งจะเข้มงวดคุณสมบัติแล้วก็ตาม
 
ข้อมูลจากตำรวจนิวยอร์คซิตี้ ชี้ว่าตำรวจที่ทำผิดซ้ำซากมักชอบใช้อาวุธปืนมากกว่าตำรวจทั่วไป 3 เท่า และในบางรัฐอย่างเช่นในโอไฮโอพบว่ายังรับตำรวจที่ถูกไล่ออกไปแล้วกลับมาทำงานในสถานีตำรวจแห่งใหม่โดยไม่มีการสืบประวัติด้วย

 

ที่ฟลอริด้า พบว่า ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของตำรวจของรัฐมีประวัติโดนไล่ออก ปลดออกหรือลาออกมาแล้วและมักได้ทำงานในชุมชนที่มีชาวผิวสีเป็นประชากรส่วนใหญ่ด้วย ตำรวจเหล่านี้จึงมีแนวโน้มที่จะทำผิดซ้ำอีก

แนวทางแก้ปัญหาที่นักเคลื่อนไหวรวมถึงนักการเมืองพยายามนำเสนอก็คือตำรวจต้องติดกล้องขณะปฏิบัติหน้าที่  ฝึกฝนให้อดทนอดกลั้นและเลิกอคติ ซึ่งผลการวิจัยระหว่างปี 2558-2559 พบว่าด้วยวิธีการเหล่านี้ทำให้การใช้ความรุนแรงของตำรวจโดยเฉพาะการใช้ปืนลดลง 21 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีหลายเมืองที่ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจน

 

ข้อมูลจาก Prison Policy Initiative เปรียบเทียบจำนวนคนที่เสียชีวิตจากการกระทำของตำรวจในประเทศพัฒนาแล้ว 10 ประเทศในปีนี้ว่าพบว่าสหรัฐมาเป็นที่หนึ่งด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตเกือบ 1,099คน  ตามมาด้วยแคนาดา 36 คน  ออสเตรเลีย 21  เยอรมนี 11   เนเธอร์แลนด์ 4 คน อังกฤษ 3 คน ญี่ปุ่น 2 และนิวซีแลนด์แค่ 1คนเท่านั้น  ไอซ์แลนด์และนอร์เว ไม่มีเลย

 

ข้อมูลจาก World Population Review ชี้ว่าถ้าเทียบกันทั้งโลกตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีคนตายเพราะตำรวจในบราซิลมากที่สุดคือกว่า 6 พันต้นๆ ตามมาด้วยเวเนซูเอล่า 5 พันสอง ฟิลิปปินส์ 3 พัน 4 อินเดีย พัน 7 ร้อย ซีเรียเกือบพัน 5 ร้อย  สหรัฐอยู่ในอันดับที่ 6 คือเกือบ 1,100 คน

1. Brazil – 6,160
2. Venezuela – 5,287
3. Philippines – 3,451
4. India - 1,731
5. Syria – 1,497
6. United States – 1,099
7. Nigeria – 841
8. El Salvador - 609
9. Afghanistan – 606
10. Pakistan – 495

 

 หลังการตายของจอร์จ ฟลอยด์ หลายคนถึงกับเรียกร้องให้ยุบกรมตำรวจหรือยุติการให้งบประมาณเพื่อนำเงินไปใช้กับโครงการอื่น แต่นักวิเคราะห์มองว่าเป็นข้อเรียกร้องที่มากเกินไปและอาจนำไปสู่หายนะได้ ควรหาทางปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่มีความหมายและคุณค่าและให้ตำรวจต้องรับผิดชอบสิ่งที่ทำ ดูสาเหตุและผลลัพธ์เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุดจะดีกว่า
 
ชิบ จิตนิยม รายงาน

logoline