svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

คอนเนคชั่น วปอ. รุ่น61 กับการประมูล ATK

14 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"วิษณุ"เพื่อน"อนุทิน" คอนเนคชั่นวปอ.รุ่น61 กับการประมูล ATK มี่ อภ.ประกาศเดินหน้าจัดซื้อท่ามกลางเสียงคัดค้านของหมอชนบท

เฟซบุ๊ก Chatechenko Yingkiattikun ระบุถึงที่มาของการที่องค์การเภสัชกรรม เตรียมเดินหน้าจัดซื้อชุด ATK โดยไม่สนเสียงคัดค้านจากกลุ่มหมอชนบท ว่า 

 

"วิษณุ เทพเจริญ ผู้บริหารเครือณุศาศิริ ที่ชนะการประมูลชุด ATK ขององค์การเภสัชกรรม เปิดประมูลยี่ห้อ Lepu ที่อย. สหรัฐฯไม่ให้ผ่านคุณภาพ นั้น เขาย้ำว่าที่ทำราคาถูกเพื่อคนไทย 

 

"วิษณุ" เขาคือใคร? ย้อนไป 9 ส.ค. 64 ก่อนหน้าประมูลไม่กี่วัน เป็นหนึ่งในตัวแทนของ หลักสูตร วปอ.รุ่น61 ในการมอบชุดตรวจยี่ห้อดังกล่าวมูลค่ารวม 1.2 ล้านบาท ให้อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและรมว.สาธารณสุข 'ด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธา' (วิษณุ คือคนขวาในรูป)

 

และ"อนุทิน" กับ "วิษณุ" เป็นเพื่อนร่วมรุ่นวปอ. รุ่น61 ด้วยกัน ทุกๆ เรื่องเป็นเรื่องบังเอิญที่ไม่กี่วันถัดมาบริษัท ออสแลนด์ แคปปิตัล ที่จับมือกับณุศาศิริ ชนะประมูล

 

วันนี้ หลังจากชี้แจงจากทางณุศาศิริ องค์การเภสัชฯ ก็ยังยืนยันที่จะจัดซื้อไม่ฟังเสียงค้านของแพทย์ชนบท ประเทศนี้มีแต่เรื่องบังเอิญครับ ทัายที่สุดต้องดูว่าทำอย่างไรให้ประชาชนได้ประโยชน์มากที่สุด
 

ด้านนายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ในฐานะประธานคณะกรรมการต่อรองราคา สปสช. เปิดเผย การจัดซื้อ สปสช.เป็นเจ้าของเงินในการจัดซื้อจัดหา แต่ในอดีตสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เคยตีความว่าการจัดซื้อจัดหาในอดีตน่าจะไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของ สปสช.ในฐานะเจ้าของเงิน จึงมีมติคณะรัฐมนตรีออกมาในอดีตว่า ต่อไปนี้ หากทาง สปสช.จะจัดซื้อวัสดุหรือครุภัณฑ์การแพทย์ใดก็ตาม สปสช.ต้องไม่จัดซื้อเองโดยให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นผู้ดำเนินการ โดยที่ผ่านมาในก่อนเดือน เม.ย. สปสช.ได้ตั้งคณะทำงานคณะกรรมการต่อรองราคา ซึ่งมีตนเป็นประธานในการจัดซื้อวัสดุหรือครุภัณฑ์การแพทย์ต่างๆ จนมาถึงการได้เป็นคณะทำงานในการจัดซื้อชุดตรวจเร็ว Antigen Test Kit หรือ ATK ซึ่ง เลขา สปสช.ได้มองไว้ล่วงหน้าคงหลีกไม่พ้นในระยะยาวในการหาชุด ATK ให้บริการกับคนไทยให้กว้างขวางมากขึ้น

นายแพทย์เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า เราไม่ทราบกระบวนใดๆ เลยในการต่อรองราคา ตนจึงแจ้งให้คณะกรรมการต่อรองราคาทั้งหมดไปร่วมรับรู้การประมูลตรงนี้ด้วย โดยในวันที่จะยื่นซองประมูลบริษัทที่เราเคยต่อรองคืบหน้ามาสองเจ้าไม่มีสิทธิที่จะยื่นทั้งคู่เลย ซึ่งเขาอ้างว่าประสานงานไม่ได้ และเราก็เป็นแค่ผู้สังเกตการณ์ จึงมีการล้มการเปิดซองในวันนั้น

 

แล้วแจ้งกับเราว่าเขามี พ.ร.บ.ของเขาอยู่ไม่ใช่ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แต่เขาบอกว่าถ้าจะเจาะจงก็เจาะจงได้ ถ้าลูกค้าต้องการต้องทำหนังสือเป็นทางการมา ตนจึงเรียกประชุมคณะกรรมการต่อรองราคาทันที แล้วเราก็ยืนยันกลับไปด้วยหลักการณ์ เหตุผลและข้อกฎหมายต่างๆ โดยมั่นใจว่าสามารถทำเฉพาะเจาะจงได้ โดยหนังสือที่ทำกลับไปมีทีโออาร์ไปทำไปให้ด้วยเลย เพราะได้ตรวจสอบราคามาก่อนแล้วกับสองบริษัทฯ ที่องค์การอนามัยโลกรับรอง
 
"แต่ปรากฏว่าองค์การเภสัชกรรม กลับไม่ทำอย่างนั้น แล้วก็มาบอกว่าถ้าจะให้ทำอย่างนั้นจะต้องให้เราทำหนังสือไป เราก็ทำหนังสือไปวันที่ 29 ก.ค. ให้รพ.ราชวิถีเพราะเราไม่มีหน้าที่โดยตรงแล้วก็ ซีซี ส่งไปที่เค้า แล้วเขาก็มาล็อบบี้ขอกับเจ้าหน้าที่เราเป็นการภายในว่าเรื่องเร่งด่วนเค้าขอใช้วิธีจัดซื้อแบบของเค้าได้ไหม และขอให้เราตัดคำว่า WHO ออก ตัดคำว่าการตีพิมพ์ออกได้ไหม แล้วก็บอกว่าจะสามารถจัดซื้อได้ภายใน 7 วันส่งของ ซึ่งก็ตรงกับวันที่ 10 สิงหาคม เราก็เลยยอมตรงข้อนี้ไปให้ ไม่ใช่ว่าเราปรับเปลี่ยนไปปรับเปลี่ยนมา จากนั้นมาขอให้ผมปรับสเป็คอีก แต่ผมไม่ยอมแล้วเพราะจะถูกนำมาเป็นข้ออ้างอีกแน่นอนว่าเราปรับเปลี่ยนสเป็ค

 

เราทำงานอย่างละเอียดรอบคอบมาแล้ว วันสุดท้ายวันที่ 5 ที่ 6 ขอปรับสเปคเราอีก แต่เราไม่ยอม ผมไม่ยอมเพราะคุณจะต้องเอามาเป็นข้ออ้างแน่นอนว่าเราปรับเปลี่ยนสเปค ทั้งที่เรายืนยันตั้งแต่ 9 ก.ค.แล้วว่าให้เจาะจง เราไม่กลัว เพราะเรามีหลังอิงอยู่แล้ว มีหลักการและเหตุผลอยู่แล้ว สตง.เองก็บอกว่าไม่จำเป็น คณะกรรมการที่ประชุมด้านกฎหมายก็ยืนยันว่าจริงๆไม่ต้องมีทีโออาร์ก็ได้ ส่งของก่อนก็ยังได้"
นายแพทย์เกรียงศักดิ์ ระบุ
 

logoline