svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เพื่อไทย จ่อยื่น ป.ป.ช.เอาผิด "บิ๊กตู่" กรณีออกข้อกำหนดปิดปากสื่อ-ปชช.

08 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เพื่อไทย จ่อยื่น ป.ป.ช. สอบ “บิ๊กตู่” ออกข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 29 ไม่ชอบ สัปดาห์หน้า ชี้ ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนกฎหมาย ตั้งแท่นซักฟอก “บิ๊กตู่-เสี่ยหนู”

วันนี้ (8 ส.ค.64) นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เปิดเผย กรณีศาลแพ่งสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้าม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม บังคับใช้ ข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 29 โดยระบุว่า ข้อกำหนดที่ออกมาไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า ระบบของรัฐธรรมนูญปี 60 ที่วางไว้ หากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องพิจารณาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยต้องยื่นเรื่องผ่าน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หากป.ป.ช.ไต่ส่วนมีมูลเข้าข่ายความผิดทางอาญาก็จะส่งให้อัยการยื่นเรื่องต่อศาลฎีกานักการเมือง

ถ้ามีมูลเป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรงเรื่องก็จะไปถึงศาลฎีกา โดยประเด็นนี้พรรคเพื่อไทยอยู่ระหว่างการร่างคำร้องเพื่อยื่นต่อป.ป.ช.ให้ไต่สวน พล.อ.ประยุทธ์ ดำเนินการโดยฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ เป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบ เพราะคำสั่งศาลแพ่งระบุไว้ชัดว่าไว้ชัดเจนว่าการออกข้อกำหนดดังกล่าวไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนกฎหมาย เข้าข่ายฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม เมื่อร่างคำร้องเสร็จแล้วก็จะให้ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้านร่วมกันลงชื่อเพื่อยื่นต่อป.ป.ช.ต่อไป คาดว่าจะยื่นได้ช่วงสัปดาห์หน้า

 

เมื่อถามถึงความคืบหน้าการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายชูศักดิ์ ชี้แจงว่าว่า เบื้องต้นพรรคเพื่อไทยชัดเจนแล้วว่าจะยื่นอภิปราย พล.อ.ประยุทธ์ และ นายอนุทิน ชาญวีระกูล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข เป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีประเด็นเกี่ยวกับรัฐมนตรีคนอื่นด้วย แต่จะนำไปหารือกับพรรคร่วมฝ่ายค้านวันที่ 11 ส.ค. เพื่อสรุปรายชื่อรัฐมนตรีที่จะถูกอภิปรายกันอีกครั้ง

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 2 ส.ค.64 สื่อมวลชนและประชาชนนำโดย The Reporters, Voice, THE STANDARD, The Momentum, THE MATTER, ประชาไท, Dem All, The People, way magazine, echo, PLUS SEVEN และประชาชนเบียร์ พร้อมทีมทนายความจากภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน รวมตัวยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ต่อศาลแพ่ง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 29) ลงวันที่ 29  กรกฎาคม 2564

ศาลแพ่งในคดีหมายเลขดำที่ พ 3618/2564  ได้ออกนั่งพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐานแล้วมีคำสั่งอันสรุปใจความได้ว่า “ข้อกำหนดฯ ข้อ 1 ที่ห้ามเผยแพร่ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว มิได้จำกัดเฉพาะข้อความอันเป็นเท็จดังเหตุผลและความจำเป็นตามที่ระบุไว้ในการออกข้อกำหนดดังกล่าว ย่อมเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของโจทก์ทั้งสิบสองและประชาชนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติคุ้มครองไว้

 

ข้อกำหนดฯ ข้อ 2 ที่ให้อำนาจระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่เลขที่อยู่ไอพี (IP address) ที่มีการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารในอินเทอร์เน็ตที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดฯ ไม่ปรากฏว่ามาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548  ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดให้ดำเนินการระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ต จึงเป็นข้อกำหนดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease : COVID-19) และรัฐสั่งปิดพื้นที่หรือล็อกดาวน์จำกัดการเดินทางหรือการพบปะระหว่างบุคคล

อ่านรายละเอียดคดีได้ที่นี่

logoline