svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

คำสั่ง"ศาลแพ่ง"กับอนาคตการเมืองของ "นายกฯประยุทธ์" 

07 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลแพ่ง ต้องบอกว่าถึงยังไม่ใช่คำพิพากษา แต่ก็ไม่ใช่เรื่องธรรมดา หากลองมาถอดคำสั่งของศาล สามารถบอกอะไรได้บ้าง 

เมื่อย่อยคำสั่งของศาลแพ่ง เพื่อดูเหตุผลกรณีสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามใช้ข้อกำหนด ฉบับที่ 29 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จนกว่าศาลจะมีพิพากษา

 

เหตุผลของศาล คือ

 

1.การห้ามเผยแพร่ข้อความที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว 
***ไม่ได้จำกัดเฉพาะข้อความอันเป็นเท็จ ตามเหตุผลของการออกข้อกำหนดฯ

 

2.เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญบัญญัติคุ้มครองไว้ (ม.26) 

 

3.จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ 

 

4.เนื้อหาในข้อกำหนดฯ มีลักษณะไม่แน่ชัด และขอบเขตกว้าง 

 

5.ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่

 

6.การให้อำนาจระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตต่อผู้เผยแพร่ ไม่มีบัญญัติไว้ใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

 

7.จากข้อ 6 ข้อกำหนดนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

 

8.อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ในช่วงล็อกดาวน์โควิดระบาด

 

9.การระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตตามข้อกำหนดฯ ไม่ได้จำกัดเฉพาะการกระทำที่เป็นเหตุ แต่ระงับในอนาคตด้วย 

 

10.ส่งผลปิดกั้นสุจริตชนผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสาร 

 

คำสั่ง\"ศาลแพ่ง\"กับอนาคตการเมืองของ \"นายกฯประยุทธ์\" 

 

หากมาเน้นดูที่ข้อ 6 กับ 7 การให้อำนาจระงับการใช้บริการอินเทอร์เน็ตต่อผู้เผยแพร่ข้อความตามที่ข้อกำหนดฯนี้ห้ามเอาไว้ ศาลมองว่าอำนาจนี้ไม่มีบัญญัติอยู่ใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉะนั้นข้อกำหนดฯนี้จึง "ไม่ชอบด้วยกฎหมาย"

 

 

คำสั่ง\"ศาลแพ่ง\"กับอนาคตการเมืองของ \"นายกฯประยุทธ์\"   

หากจำวลีนี้ไว้ให้ดีๆ เพราะฝ่ายค้านกำลังจ้องตาเขม็ง รอว่าเมื่อไหร่ศาลจะมีคำพิพากษา หากพิพากษาในแนวทางเดียวกับคำสั่งนี้ ย่อมเท่ากับว่า นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ลงนามในข้อกำหนด ฉบับที่ 29 จงใจใช้อำนาจขัอต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายหรือไม่ 

 

เพราะ รัฐธรรมนูญ มาตรา 234 (1) คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวนกรณีมีการกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า "จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง" 

 

คำสั่ง\"ศาลแพ่ง\"กับอนาคตการเมืองของ \"นายกฯประยุทธ์\" 

หากมีผู้พบว่านายกฯใช้อำนาจในลักษณะที่ว่านี้ ใครจะเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. ต้องไปดูรัฐธรรมนูญมาตรา 236 กับ มาตรา 235 ระบุว่า ส.ส. ส.ว. หรือสมาชิกของทั้งสองสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า 2 หมื่นคน มีสิทธิ์เข้าชื่อกันให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไต่สวนนายกฯได้

 

คำสั่ง\"ศาลแพ่ง\"กับอนาคตการเมืองของ \"นายกฯประยุทธ์\" 

 

เมื่อรับเรื่องแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็จะไต่สวนข้อเท็จจริง และหากมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เห็นว่านายกฯ มีพฤติการณ์หรือกระทำความผิดตามที่ไต่สวน ให้ดำเนินการดัง ต่อไปนี้

 

1.ถ้าเป็นกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้เสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย  

 

2.กรณีอื่นๆ รวมถึงจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ให้ส่งสำนวนการไต่สวนไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 

เมื่อศาลประทับรับฟ้อง ให้ผู้ถูกกล่าวหา "หยุดปฏิบัติหน้าที่" เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น จากนั้นก็รอการพิจารณาพิพากษาต่อไป ถ้าผิดจริง ก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง 

 

คำสั่ง\"ศาลแพ่ง\"กับอนาคตการเมืองของ \"นายกฯประยุทธ์\" 

นี่คือสิ่งที่ฝ่ายค้านกำลังจับจ้องอยู่ และเตรียมดำเนินการทันที หากศาลแพ่งมีคำพิพากษาออกมาในแนวเดียวกับที่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว

 

แต่ทางออกของ นายกรัฐมนตรี ก็ใช่ว่าจะไม่มี เพราะถ้านายกฯเห็นท่าไม่ดี ก็ชิงยกเลิกข้อกำหนดฉบับที่ 29 ก่อนศาลแพ่งจะมีคำพิพากษา ทุกอย่างก็อาจจะจบ ยกเว้นจะมีใครไปยื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช.ว่า ข้อกำหนดฉบับที่ 29 ที่ประกาศมา เป็นความผิดสำเร็จแล้ว เมื่อเป็นแบบนั้นก็ต้องเดินเข้าสู่กระบวนการตามที่เล่ามาทั้งหมด

 

คำสั่ง\"ศาลแพ่ง\"กับอนาคตการเมืองของ \"นายกฯประยุทธ์\" 

logoline