svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ชาวสวนใต้พลิกวิกฤติแปรรูป มังคุดกวน ราคาพุ่ง 600 บ./กก.

06 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชาวสวนสุราษฎร์ฯพลิกวิกฤติมังคุดราคาตก หันแปรรูปทำมังคุดกวนเพิ่มมูลค่า ขายออนไลน์ ราคาพุ่งกิโลกรัมละ 600 บาท

นอกจากเงาะโรงเรียนซึ่งเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ยังมีมังคุดหรือราชินีแห่งผลไม้ที่ชาวสวนนิยมปลูกไว้คู่กับทุเรียน ส่วนใหญ่เงาะ มังคุด และทุเรียนจะมีผลผลิตออกมาในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ขณะนี้เกษตรกรชาวสวนผลไม้จึงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากพิษโควิด ทั้งด้านแรงงาน พ่อค้าคนกลาง และไม่มีตลาดรองรับ โดยเฉพาะมังคุด ราคาตกเหลือเพียงกิโลกรัมละ 7 บาท ขณะที่ค่าแรงงานเก็บผลมังคุดกิโลกรัมละ 5 บาท บางสวนต้องปล่อยทิ้งให้เน่าเป็นปุ๋ยอยู่โคนต้น บางสวนต้องทำข้อตกลงกับคนเก็บขอแบ่งคนละครึ่ง ชาวสวนใต้พลิกวิกฤติแปรรูป มังคุดกวน ราคาพุ่ง 600 บ./กก.
 

ผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวีลงพื้นที่สวนลุงยิ้ม ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นสวนผลไม้ผสมผสานของครอบครัวผู้อำนวยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดสุราษฎร์ธานี นันทวัน ศิริโภคพัฒน์

นันทวัน บอกว่า ชาวสวนต้องจ่ายค่าเก็บผลมังคุดจากต้นกิโลกรัมละ 5 บาท แต่ราคาขายส่งมังคุดรวมจากสวน กิโลกรัมละ 7 บาท ทำให้ขาดทุนหนักต้องทำข้อตกลงกับคนเก็บขอแบ่งคนละครึ่ง

ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ตนเองและครอบครัวหันมาพลิกวิกฤตเป็นโอกาส โดยนำองค์ความรู้ที่เป็นผู้นำส่งเสริมการท่องเที่ยวมาต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ของฝากระดับพรีเมี่ยม เช่น ผลผลิตมังคุดสดจะคัดใส่กล่องสวยงามน่ารับประทาน เหมาะเป็นของฝาก โดยจำหน่ายกล่องละ 300 บาทน้ำหนัก5 กิโลกรัม 

ชาวสวนใต้พลิกวิกฤติแปรรูป มังคุดกวน ราคาพุ่ง 600 บ./กก.
 

นอกจากนี้ยังนำมังคุดมาแปรรูปเป็นมังคุดกวนเพื่อเพิ่มมูลค่า ล่าสุดสามารถจำหน่ายได้กิโลกรัมละ 600 บาท พร้อมกันนี้มีเป้าหมายสำคัญคือการขายตลาดออนไลน์ ซึ่งได้สร้างเพจขึ้นมา ชื่อ ยัยนัน..ดี๊ดี ซึ่งได้รับการตอบรับค่อนข้างดีทำให้มีกำลังใจในการแปรรูปผลผลิตมากขึ้น

สำหรับมังคุดเป็นผลไม้ที่ให้ธาตุหรือยาเย็น มีประโยชน์มากมาย เช่น แก้โรคเหงือก ช่วยป้องกันวัณโรค รักษาความดันโลหิต ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน บำรุงหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันการเกิดสิว เหมาะสำหรับการลดน้ำหนัก ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดง อุดมไปด้วยวิตามินซี และมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง

ชาวสวนใต้พลิกวิกฤติแปรรูป มังคุดกวน ราคาพุ่ง 600 บ./กก.

logoline