svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปิดเพิ่ม 11 โครงการกองทัพเรือ โยงเรือดำน้ำ 8.7 พันล้าน

23 กรกฎาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กองทัพเรือ ที่ย้ำว่าถอนเรือดำน้ำลำที่ 2-3 ออตากงบประมาณ 2565 แล้ว แต่โครงการอื่นยังจำเป็น พบยังมีงบที่เกี่ยวข้องอีก 11 รายการ รวมงบประมาณอีกเกือบๆ หมื่นล้านบาทที่ยังคงอยู่

ตามที่นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการคณะครุภัณฑ์และไอซีที ใน กมธ.งบประมาณปี 65 เปิดเผยหลังจากพิจารณางบประมาณของกองทัพบกนานเกือบ 7 ชั่วโมงว่า มีการพิจารณาตัดลดงบประมาณไปประมาณ 1,100 ล้านบาท จากที่ขอรับงบภาพรวม 99,376 ล้านบาท ซึ่งเป็นการปรับลดงบประมาณในรายการที่ไม่จำเป็น รวมถึงรายการงบประมาณผูกพันที่เบิกจ่ายไม่ทัน กรรมาธิการได้มีการปรับลดทั้งหมด ซึ่งการปรับลดเราใช้ความรอบคอบและพิจารณาในมิติสภาพสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังยากลำบาก ให้ปรับลด เลื่อนใช้งบประมาณออกไปเพื่อนำไปของบประมาณในปีถัดไป

 

ก่อนหน้านี้ “เนชั่นทีวี” รายงานข้อมูล การพิจารณางบประมาณของกองทัพเรือ โดยเฉพาะโครงการจัดหา “เรือดำน้ำ” ลำที่ 2 และ 3 เพราะแม้ “ลูกประดู่” จะถอนโครงการออกจากแผนงบประมาณปี 65 ไปแล้ว แต่ปรากฏว่ายังมีงบที่เกี่ยวข้องอีก 11 รายการ รวมงบประมาณอีกเกือบๆ หมื่นล้านบาทที่ยังคงอยู่ 


เปิดเพิ่ม 11 โครงการกองทัพเรือ โยงเรือดำน้ำ 8.7 พันล้าน

เปิดเพิ่ม 11 โครงการกองทัพเรือ โยงเรือดำน้ำ 8.7 พันล้าน

 

11 โครงการ นี้เป็นโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดซื้อเรือดำน้ำ แม้กองทัพเรือจะถอนโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2 และ 3 ไปแล้ว  แต่ต้องไม่ลืมว่าเราซื้อเรือดำน้ำลำแรกมาเรียบร้อย จ่ายเงินไปน่าจะครบแล้ว ประมาณ 1 หมื่น 3 พันกว่าล้านบาท จะได้เรือในปี 67 จึงต้องเตรียมก่อสร้างและจัดซื้อระบบต่างๆ ไว้รองรับ และนั่นก็คือที่มาของทั้ง 11 โครงการที่เรานำมาแจกแจงให้เห็นกันชัดๆ 

 

1 และ 2 ท่าจอดเรือดำน้ำและอาคารสนับสนุน ที่ท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ ระยะที่ 1 กับอีกโครงการเป็นระยะที่ 2 งบ 900 ล้านบาท กับ 950 ล้านบาท 

3.โรงซ่อมบำรุงเรือดำน้ำ 995 ล้านบาท

4.คลังเก็บตอร์ปิโด และทุ่มระเบิดสนับสนุน (เพราะเรือดำน้ำ มีอาวุธที่เป็นเขี้ยวเล็บของเรือ คือ อาวุธปล่อยนำวิถี และตอร์ปิโด) งบประมาณ 130 ล้านบาท 

5.อาคารทดสอบและคลังอาวุธปล่อยนำวิถี งบประมาณ 138 ล้านบาท 

6 และ 7 โครงการผลิตแผนที่เรือดำน้ำและระบบแสดงข้อมูลข่าวสารกรองทางอุทกศาสตร์ (เป็นโครงการเกี่ยวกับกระแสน้ำ น้ำขึ้นน้ำลง และอื่นๆ) งบ 66.12 ล้าน และ 199 ล้านบาท 

8.เรีอลากจูงขนาดกลาง 366.50 ล้านบาท 

9.อาคารพักข้าราชการ กองเรือดำน้ำ 294 ล้านบาท 

10.เรือเอนกประสงค์ยกพลขึ้นบก สนับสนุนเรือดำน้ำ 4,385 ล้านบาท

และ 11.ระบบสื่อสารควบคุมบังคับบัญชาเรือดำน้ำ 300 ล้านบาท 

รวมทั้งหมด 11 รายการ 8,723.62 ล้านบาท 

เปิดเพิ่ม 11 โครงการกองทัพเรือ โยงเรือดำน้ำ 8.7 พันล้าน

 

นี่คือโครงการที่ต้องมี เพราะเราซื้อเรือดำน้ำมาแล้ว 1 ลำ ส่วนอีก 2 ลำแม้จะถูกถอนไป หรือเลื่อนออกไปก่อนเพราะโควิด แต่ก็ต้องเดินหน้าทั้ง 11 โครงการต่อไป 

ที่สำคัญ งบก้อนนี้ไม่ได้รวมกับงบตัวเรือดำน้ำ ลำแรกที่จ่ายไปแล้ว 12,424 ล้านบาท (ยังไม่รู้ว่าครบหรือยัง เพราะตอนที่มีการประกาศราคากลาง อยู่ที่ 13,500 ล้านบาท) และอีก 2 ลำที่เหลือ งบประมาณ 34,924 ล้านบาท 

รวมทั้งหมด ทั้งโครงการ เรือดำน้ำ 3 ลำ และโครงการก่อสร้าง จัดซื้อระบบเพื่อรองรับเรือดำน้ำ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 43,647.62 ล้านบาท  

ต้องไม่ลืมว่า  โครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือ เป็นการจัดซื้อจากจีน เป็นเรือดำน้ำ “หยวนคลาส” รหัส S26 T โดย T คือไทยแลนด์ ที่กองทัพเรือบอกว่า จีนออกแบบให้เป็นพิเศษ 

โครงการนี้ถูกตั้งคำถามมาตั้งแต่แรก เพราะเอกสารโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือ ต้องการจัดหา 2 ลำเท่านั้น ในกรอบงบประมาณ 36,000 ล้านบาท ซึ่งก็มี 6 ประเทศเสนอโครงการเข้ามา โดยมีหลายประเทศน่าสนใจ และน่าจะเป็นเรือดำน้ำคุณภาพจากชาติที่เป็นเจ้าแห่งเรือดำน้ำ เช่น สวีเดน เยอรมนี เป็นต้น 

แต่สุดท้ายกองทัพเรือไทยเลือก เรือดำน้ำจีน หยวนคลาส S26 T โดยข้อเสนอที่คลุมเครือในลักษณะ ซื้อ 2 แถม 1 เพราะได้ถึง 3 ลำ ภายใต้กรอบงบประมาณเดิม จุดนี้เองที่ทำให้เกิดคำถามว่า เอกสารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ ระบุชัดเจนว่าต้องการ 2 ลำ ไม่ใช่ “อย่างน้อย 2 ลำ” การเสนอเหมา 3 ลำ แบบซื้อ 2 แถม 1 ถือว่าเป็นธรรมกับผู้เสนอราคารายอื่นหรือไม่ และมีความโปร่งใสแค่ไหน 

 

ข่าว โต๊ะการเมืองเนชั่นทีวี

logoline