svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ศบค. เผย เหนือ-อีสาน เตียงใกล้เต็ม สัปดาห์นี้เติมวัคซีนกทม. 5 แสนโดส

14 กรกฎาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศบค. เผย เหนือ-อีสาน เตียงใกล้เต็ม สัปดาห์นี้เติมวัคซีนกทม. 5 แสนโดส ตั้งเป้า 1 ล้านโดสใน 2 สัปดาห์ พรุ่งนี้ ทีมเคลื่อนที่เร็วแบบเบ็ดเสร็จ CCRT เริ่มปฏิบัติงาน 69 ทีม ลงพื้นที่ 69 ชุมชน ระบุ ลำดับโลกติดเชื้อไทยลดลงต่อเนื่อง ส่วนยอดติดเชื้อรายใหม่ 9,317 ราย ดับเพิ่ม 87 ราย

วันนี้ (14 ก.ค.64) แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 ประจำวันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2564 ว่า ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 59 ของโลก ติดเชื้อรายใหม่ 9,317 ราย ติดเชื้อในประเทศ 9,180 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 8 รายจากเรือนจำที่ต้องขัง 129 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 334,166 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 363,029 ราย หายป่วยเพิ่ม 5,129 รายหาย ป่วยสะสม 233,158 ราย หายป่วยสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 260,548 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 87 ราย เสียชีวิตสะสม 2,840 ราย ผู้ป่วยรักษาอยู่ 99,511 ราย ในโรงพยาบาล 56,057 ราย โรงพยาบาลสนาม 43,454 ราย อาการหนัก 3,201 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 828 ราย  ขณะที่ผู้ได้รับบักซีนฉีดแล้ว 13,230,681 โดส แบ่งเป็นเข็มที่หนึ่ง เพิ่มขึ้น 289,178 ราย สะสม 9,888,124 ราย เข็มที่สอง เพิ่มขึ้น 33,313 ราย สะสม 3,342,557 ราย

ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 59 ของโลก

 

สรุปการฉีดวัคซีน โควิด-19 ผู้ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น 322,488 โดส สะสมตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2564 จำนวน 9,130,160 โดส สะสมตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 13,230,681 โดส จำแนกเป็นรายเข็ม เข็มที่หนึ่ง รายใหม่เพิ่มขึ้น 289,175 ราย สะสมตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 7,117,877 ราย สะสมตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ จำนวน 9,888,124 ราย ขณะที่เข็มที่สองเพิ่มขึ้น 33,313 ราย สะสมตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน จำนวน 2,012,283 ราย สะสมตั้งแต่ 28 กุมภาพันธ์ จำนวน 3,342,557 ราย 

 

สำหรับจำนวนผู้ได้รับวัคซีนสะสมในพื้นที่กรุงเทพมหานครหน่วยฉีดทุกสังกัด ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 กลุ่มเป้าหมายผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,699,072 ราย ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น 15,785 ราย สะสม 518,259 ราย คิดเป็นร้อยละ 30.05 ได้รับวัคซีนเข็มที่สองเพิ่มขึ้น 247 ราย สะสม 33,104 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.95 ส่วนกลุ่มบุคคลที่มี 7 โรคประจำตัวเป้าหมาย 771,439 ราย ได้รับวัคซีนเข็มที่หนึ่งเพิ่มขึ้น 10,532 ราย สะสม 340,995 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.20 ได้รับวัคซีนเข็มที่สองเพิ่มขึ้น 187 ราย สะสม 50,553 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.55 ทั้งนี้ประชากรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้รับวัคซีนเข็มที่หนึ่งคิดเป็น 43.61% ขณะที่เข็มที่สองคิดเป็น 11.92% อย่างไรก็ตามวันนี้กรมควบคุมโรค จะกระจายวัคซีนในพื้นที่กรุงเทพมหานครในสัปดาห์นี้ ประมาณ 5 แสนโดส และ จะเพิ่มให้ได้ 1 ล้านโดส ภายใน 2 สัปดาห์นี้

สถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 ประจำวันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2564

ส่วนผู้ป่วยติดเชื้อในประเทศรายใหม่วันนี้ 9,317 ราย ต่างประเทศ 8 ราย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 4,862 ราย 4 จังหวัดภาคใต้ 651 ราย จังหวัดอื่น ( 67 จังหวัด) 3,667 ราย เรือนจำและที่ต้องขัง 129 ราย

ขณะที่ผู้ป่วย โควิด-19 เสียชีวิตจำนวน 87 ราย แบ่งเป็น เพศชาย 44 ราย เพศหญิง 43 ราย ค่ากลางอายุ 71 ปี อายุมากที่สุด 104 ปี อายุน้อยที่สุด 24 ปี ทั้งนี้ 70% ของกลุ่มผู้เสียชีวิตยังเป็นผู้มีอายุเกิน 60 ปี ส่วนกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว ค่ากลางระยะเวลาวันที่ทราบผลติดเชื้อเสียชีวิต 7 วัน นานสุด 55 วัน ทั้งนี้ชาวไทย 83 ราย เมียนมา 2 ราย สปป.ลาว 1 ราย จีน 1 ราย จังหวัดยะลา เสียชีวิตที่บ้าน 2 ราย (ตรวจพบเชื้อแต่ยังไม่ได้เข้าโรงพยาบาล) จังหวัดนราธิวาส พบเชื้อหลังเสียชีวิต 1 ราย และเสียชีวิตที่ ER จังหวัดสงขลา โดยแบ่งเป็นกรุงเทพมหานคร 55 ราย ปทุมธานี 6 ราย สมุทรปราการ 1 ราย ยะลา 5 ราย นราธิวาส 4 รายปัตตานี  3 ราย เชียงใหม่เชียงราย กำแพงเพชร จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตากนครพนม ระยอง สงขลา สุโขทัย สุพรรณบุรี และอุดรธานี จังหวัดละ1 ราย

ผู้ป่วย โควิด-19 เสียชีวิตจำนวน 87 ราย วันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2564

ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่วันนี้ จำนวน 10 ลำดับแรก กรุงเทพมหานคร 2,332 รวมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึง 14 กรกฎาคม 103,907 ราย สมุทรปราการ 1,006 ราย สะสม 24,314 ราย สมุทรสาคร 577 ราย สะสม 14,347 ราย ชลบุรี 513 ราย สะสม 13,001 ปทุมธานี 398 ราย สะสม 13,378 ราย นนทบุรี 347 ราย สะสม 15,371 ราย ฉะเชิงเทรา 339 รายสะสม 4,219 ราย นครปฐม 202 ราย สะสม 6,944 ราย ปัตตานี 195 ราย สะสม 4,816 รายและนราธิวาส 191 ราย สะสม 3,383 ราย ขณะนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อกระจายครบ 77 จังหวัด ขณะที่จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อ 1-10 รายมีจำนวน 10 จังหวัด มีรายงานผู้ติดเชื้อ 11- 50 ราย มีจำนวน 30 จังหวัด  ที่มีผู้ติดเชื้อ 51 -100 ราย จำนวน 21 จังหวัด และมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 100 ราย มีจำนวน 16 จังหวัด ที่เพิ่มขึ้น 6 จังหวัด คือ ชลบุรี นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา มหาสารคาม ศรีสะเกษ และราชบุรี

 

จากการสอบสวนโรคพบว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการจัดเลี้ยงรวมกลุ่ม งานวันเกิด จากแคมป์คนงาน โรงงานและตลาด ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อในชุมชนและครอบครัว หลังจากที่มีการเดินทางข้ามพื้นที่และมีการแพร่กระจายไปครบทุกจังหวัด ซึ่งจังหวัดที่มีการรายงานรับคนกลับบ้านเพื่อรักษาตัว เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด จัดรถบัสรับคนไปรักษา คันหนึ่งกว่า 30 ราย โดยขณะนี้ในพื้นที่ต่างจังหวัดเริ่มจะเต็มศักยภาพ อาจจะไม่สามารถรองรับการเดินทางจากพื้นที่จากกรุงเทพมหานครและปริมณฑลหรือพื้นที่สีแดงเข้ม เพื่อกลับต่างจังหวัดในภาคอีสานหรือภาคเหนือ ดังนั้นหากมีความตั้งใจจะเดินทางกลับบ้านเพื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือพื้นที่ใกล้เคียง จะต้องตรวจสอบกับจังหวัดปลายทาง เพราะหลายจังหวัด ไม่สามารถรับผู้ป่วยกลับได้แล้ว

 

กรุงเทพมหานคร มีการรายงานคลัสเตอร์ที่ต้องเฝ้าระวัง 130 คลัสเตอร์  โดยมีการกล่าวถึงทีมเคลื่อนที่เร็วแบบเบ็ดเสร็จ CCRT วันพรุ่งนี้ (15 ก.ค.) จะมี 69 ทีม 69 ชุมชน ลงพื้นที่เป็นครั้งแรก เพื่อร่วมการดูแลผู้ป่วย โควิด-19 เป้าหมายจะมีการทบทวนการรายงานในช่วงวันที่ 15 ถึง 17 กรกฎาคม โดยหลักการจะเร่งระดมตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชนและนำสู่กระบวนการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการแยกกักที่บ้าน ในสถานแยกกักชุมชน และจะใช้การตรวจโดย  Antigen Test Kit  หากพบผลบวกจะนำเข้าสู่ระบบการรักษาอย่างรวดเร็วเพื่อให้ประชาชนปลอดภัย แยกผู้ป่วยออกจากชุมชน เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ของเชื้อ และหากมีผลตรวจเป็นลบขออย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ Antigen Test Kit อาจจะไม่มีความแม่นยำเพียงพอโดยเฉพาะในกรณีที่เพิ่งได้รับเชื้อใน 1-2 วันแรก ดังนั้น ควรตรวจซ้ำใน 3-5 วัน

เมื่อถามว่า คลินิกเสริมความงาม ร้านตัดผม ร้านทำเล็บ ร้านสัก พื้นที่ที่มีการล็อกดาวน์ สามารถเปิดได้หรือไม่ แพทย์หญิงอภิสมัย  กล่าวว่า ตามการประกาศ ฉบับที่ (27 ) เน้นย้ำใน 6 จังหวัด กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรสาคร และสมุทรปราการ  ในส่วนของพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 4 จังหวัดภาคใต้ไม่ได้อยู่ในหลักการเดียวกันนี้ ในส่วนกิจการไหนปิดส่วนไหนเปิดได้ข้อสรุปเป็นกิจการที่อยู่ในห้างสรรพสินค้ากับนอกห้างสรรพสินค้า โดยกิจการที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายกันจะไม่สามารถเปิดได้ 

1. ร้าน/แผนก หนังสือ แว่นตา เสื้อผ้า รองเท้าเครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์สำนักงาน เครื่องเขียน เครื่องครัว อุปกรณ์กีฬา เครื่องสำอาง อาหารเสริม ร้านอาบน้ำตัดขนสัตว์ คลินิกรักษาสัตว์

2. สถานเสริมความงาม ร้านตัดผม ร้านเสริมสวย ร้านสัก เจาะผิวหนัง ร้านทำเล็บ ร้านให้บริการล้างรถ และ ซักรีด ทั้งนี้ในห้างสรรพสินค้า จะเปิดได้เฉพาะซุปเปอร์มาร์เก็ตที่จำหน่ายอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค ยารักษาโรค หรืออุปกรณ์สื่อสารเพื่อความจำเป็นฉุกเฉิน

 

นอกจากนี้หากเป็นคลินิกทันตกรรม คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม หากเป็นในห้างฯ ต้องปิด แต่หากอยู่นอกห้างฯ ขอให้เป็นอำนาจการตัดสินใจของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อแต่ละจังหวัด หากจังหวัดใดสามารถพิจารณาเปิดดำเนินการได้ ก็ขอให้ฟังประกาศในจังหวัด

 

อย่างไรก็ตามหากมีการดำเนินการได้และมีรายงานผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น มีความเป็นไปได้ที่จังหวัดนั้นๆ จะพิจารณาสั่งปิดในโอกาสต่อไป อย่างไรก็ตามเจ้าของกิจการในหลายจังหวัดปิดดำเนินการชั่วคราวในช่วงนี้ เพื่อเป็นการช่วยกันซึ่งต้องขอขอบคุณที่มีความเป็นห่วงร่วมด้วยช่วยกัน อาจจะต้องเดือดร้อนสูญเสียรายได้ ถือว่าท่านให้ความสำคัญเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมการแพร่ระบาด

logoline