svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจปรับป่าชุมชนเป็นโรงพยาบาลสนามรับผู้ป่วยโควิด

14 กรกฎาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชาวบ้านร่วมใจ ปรับศูนย์เรียนรู้ป่าชุมชนโนนใหญ่ ตำบลเสียว ตำบลอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นโรงพยาบาลสนาม พักฟื้นผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 ที่รักษาตัวพ้นขีดอันตรายแต่ต้องกักตัวต่อ 14 วัน

วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 ที่ ศูนย์เรียนรู้ป่าชุมชนโนนใหญ่ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการตำบลเสียว และตำบลอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ใช้ในการเรียนรู้ระบบนิเวศน์ของป่า เพื่อการรักษาป่าชุมชนให้คงอยู่คู่ลูกหลาน แต่เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ได้แพร่ระบาดมาเป็นระยะเวลา 2 ปีกว่าแล้ว ทำให้ไม่ได้มีกิจกรรมในการเรียนรู้และอบรมในศูนย์ ประกอบกับในสถานการณ์เช่นนี้ ที่พี่น้องประชาชนได้ติดเชื้อกลายเป็นผู้ป่วย ไม่มีที่พักรักษาตัว คณะกรรมการทั้ง 2 ตำบล จึงได้ประชุมลงมติให้ทำการปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ ป่าชุมชนโนนใหญ่ ให้เป็นโรงพยาบาลสนามของอำเภอ ด้วยการร่วมกันบริจาคทรัพย์ วัสดุต่าง ๆ ที่จะมาใช้ในการปรับปรุงให้ศูนย์เรียนรู้ป่าโนนใหญ่ ให้เป็นที่พักพิงของผู้ที่ป่วย ได้รับการรักษาอาการทุเลาลงแล้ว ได้มาพักพิง รอพักฟื้นอย่างน้อย 14 วัน ก่อนเดินทางกลับบ้าน  

ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจปรับป่าชุมชนเป็นโรงพยาบาลสนามรับผู้ป่วยโควิด

ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจปรับป่าชุมชนเป็นโรงพยาบาลสนามรับผู้ป่วยโควิด


    

นายบุญเส็ง ชนะงาม อายุ 56 ปี ผู้ใหญ่บ้านหนองโน ในนามของประธานคณะกรรมการป่าชุมชนโนนใหญ่ เล่าว่า สถานที่ตรงนี้แต่ก่อนเป็นศูนย์นิเวศ คือ ศูนย์เรียนรู้ของชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ของหลาย ๆ หน่วยงาน เรียกว่าศูนย์นิเวศชุมชนป่าโนนใหญ่  ซึ่งตอนนี้ได้ปรับมาเป็นโรงพยาบาลสนาม พักฟื้นผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 ที่รักษาตัวพ้นขีดอันตรายแต่ต้องกักตัวต่อ 14 วัน รองรับได้ 40  เตียง ได้รับงบประมาณสนับสนุน จากหลายภาคส่วน จากผู้นำท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล ฝ่ายปกครองอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ สถานีตำรวจ สาธารณสุขอำเภอ และพระสงฆ์ ได้ช่วยเหลือพี่น้องที่กำลังลำบากอยู่ในขณะนี้
ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจปรับป่าชุมชนเป็นโรงพยาบาลสนามรับผู้ป่วยโควิด

ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจปรับป่าชุมชนเป็นโรงพยาบาลสนามรับผู้ป่วยโควิด

 

ขณะเดียวกัน ข้อมูลการติดเชื้อโรคโควิด-19 ของจังหวัดศรีสะเกษ ในวันนี้ มีผู้ที่ติดเชื้อสูงสุดเท่าที่เคยมีมา คือ จำนวน 107 ราย เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากที่อื่น เป็นผู้ติดเชื้อจากที่จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข็มงวด สมัครใจเดินทางกลับมารักษาตัวที่บ้านเกิด คิดเป็น 94.4 % หรือ จำนวน 101 คน และเป็นผู้ที่ติดเชื้อต่อเนื่องกันในจังหวัด คิดเป็น 5.6 % หรือ จำนวน 6 คน ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษ ยังคงเปิดรับพี่น้องประชาชนที่รู้ว่าตนเองติดเชื้อ แต่หาเตียงรักษาตนไม่ได้ ต้องการเดินทางกลับบ้านที่จังหวัดได้อีกต่อไป ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนาม จำนวน 693 ราย นอกนั้นพักรักษาตัวที่เถียงนาที่ห่างไกลชุมชน และหมู่บ้านตนเองเพื่อให้ครบกักตัว 14 วัน
ข่าว/ภาพ พงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์

 

logoline