svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เล็งประกาศพื้นที่ควบคุมโรงงานเพลิง จับตามลพิษทางอากาศรัศมี 1 กม.

06 กรกฎาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ระบุพื้นที่ใกล้โรงงานหมิงตี้ ที่เกิดเหตุไฟไหม้ พบระยะรัศมี 1 กม.คุณภาพอากาศยังแปรปรวน เตรียมเสนอผู้ว่าฯ เป็นพื้นที่ควบคุม ด้านกองจัดากรคุณภาพอากาศ เตือนหากเกิดฝนตก ควรเลี่ยงสัมผัสเม็ดฝนช่วง 1-2 วันนี้ หวั่นมีสารเคมีปนเปื้อน

ช่วงเช้าที่ผ่านมา นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดี​กรมควบคุมมลพิษ ลงพื้นที่เหตุเพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติก บริษัทหมิงตี้ เคมีคอล จำกัด ซอยกิ่งแก้ว 21 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

 

จากการตรวจสอบคุณภาพอากาศ บริเวณโดยรอบจุดเกิดเหตุ พบว่า ในรัศมี 1​ กิโลเมตร คุณภาพอากาศยังอยู่ในเกณฑ์แปรปรวน ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด​ ก่อนเสนอให้ผู้ว่าฯ​ สมุทรปราการ ประกาศ​เป็นพื้นที่ควบคุมแล้ว

เล็งประกาศพื้นที่ควบคุมโรงงานเพลิง จับตามลพิษทางอากาศรัศมี 1 กม.

ส่วนรัศมี​ระยะ 2-5​ กิโลเมตร พบว่าคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน​ หากสถานการณ์​ปกติ ไม่มีเหตุระเบิดขึ้นมาอีก คาดว่าจะอนุญาตให้ประชาชนเข้าบ้านเรือนได้เร็วๆ นี้

 

“ช่วงเที่ยงวันนี้ เจ้าหน้าที่ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์รอบพื้นที่เกิดเหตุ​ เพราะถือเป็นช่วงเวลาที่สภาพอากาศจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้สารสไตรีนที่อยู่ใต้ดินเกิดการปะทุขึ้นอีกครั้ง”

นายพันศักดิ์ ถิรมงคล ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศ และเสียงกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ได้นำเครื่องมือตัวอย่างเก็บอากาศ มาจำนวน 3 เครื่อง เพื่อตรวจวัดคุณภาพในอากาศ โดยลักษณะการทำงานของเครื่องชนิดนี้ จะดูดเอาอากาศในรัศมี 1 กิโลเมตรไปวิเคราะห์ เพื่อจำแนกว่ามีสารใดประกอบอยู่บ้างในรอบเวลา 24 ชั่วโมง และจะเป็นอันตรายต่อประชาชนหรือผู้ปฏิบัติงานระดับใด

 

ทั้งนี้ขอแนะนำประชาชนสวมใส่หน้ากากอนามัยชนิดป้องกันสารเคมี (คาร์บอน) ถ้าเป็นการสวม 2 ชั้น ประสิทธิภาพจะดียิ่งขึ้น

เล็งประกาศพื้นที่ควบคุมโรงงานเพลิง จับตามลพิษทางอากาศรัศมี 1 กม.

หากช่วงบ่ายมีฝนตกลงมา จะเกิดผลดีต่อสภาพอากาศ เพราะจะเป็นการจัดการกับมลภาวะที่ลอยอยู่ในอากาศ รวมทั้งทำให้อุณหภูมิบริเวณจุดระเบิดเย็นลง แต่จะส่งผลกระทบกับแหล่งน้ำโดยรอบ เพราะสารเคมีที่เจ้าหน้าที่ใช้ควบคุมเพลิงรวมทั้งสารเคมีในโรงงาน จะไหลลงสู่แหล่งน้ำ จึงขอเตือนประชาชนว่า ภายในระยะเวลา 1-2 วัน งดการสัมผัสฝน และน้ำจากแหล่งน้ำโดยตรง แต่ยืนยันว่าไม่ใช่ฝนกรด ที่จะก่อให้เกิดอันตราย

logoline