svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

‘ดีป้า’จับมือ ‘สวทช.’ หนุนเทคโนโลยีไทยเทียบสากล

12 พฤศจิกายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดีป้า จับมือ PTEC สวทช. ยกระดับผู้ประกอบการ หนุนออกแบบพัฒนาเทคโนโลยีสัญชาติไทยเทียบมาตรฐานสากล นำร่องอุปกรณ์ไอโอที-โดรน หวังแชร์ส่วนแบ่งตลาด พร้อมดัน dSURE เสริมความมั่นใจผู้บริโภค ซื้ออุปกรณ์ไอทีตรงปก ไม่โดนหลอก

12 พฤศจิกายน 2563, ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี - สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมลงนามความร่วมมือในโครงการส่งเสริมความร่วมมือการกำหนดวิธีการ มาตรฐานการทดสอบ และการถ่ายทอดความรู้เพื่อการรับรองผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัล หวังยกระดับผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลไทยให้ได้มาตรฐานระดับสากล นำร่องการดำเนินโครงการระยะแรกด้วยการปูพื้น สร้างความเข้าใจด้านมาตรฐานและการทดสอบตามหลักสากล เริ่มต้นใน 2 เทคโนโลยี คือ เทคโนโลยีไอโอที (Internet of Things) และ อากาศยานไร้คนขับ (Drone) UAV สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะของไทย ให้สามารถออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไทยได้ตามมาตรฐานสากล พร้อมเตรียมเปิดฉาก dSURE (ดีชัวร์) เครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี เพิ่มความมั่นใจผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีทั้งของไทยและนำเข้าจากต่างประเทศ


นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ได้เข้ามาปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต และการทำธุรกิจในทุกภาคเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทุกภาคส่วนจึงต้องปรับตัวรับกับความท้าทายและฉวยโอกาสใช้ความเปลี่ยนแปลงให้เกิดประโยชน์สูงสุด อุปกรณ์ IoT และ Drone เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบและพัฒนาอย่างรวดเร็วตามกระแสความนิยม แต่เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานอย่างชัดเจน การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยคำนึงถึงการใช้งานแต่ไม่ได้คำนึงถึงมาตรฐานอาจทำให้ผู้ใช้งานเกิดความเสี่ยง เช่น ผลิตภัณฑ์เสื่อมสภาพเร็ว ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือ ไม่สามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ดีป้าจึงได้ร่วมกับ สวทช. จัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ด้านมาตรฐาน และการทดสอบอากาศยานไร้คนขับ และ IoT ประกอบด้วยการถ่ายทอดความรู้ทั้งทางทฤษฎี และปฏิบัติ เพื่อยกระดับทักษะและเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน

‘ดีป้า’จับมือ ‘สวทช.’ หนุนเทคโนโลยีไทยเทียบสากล

‘ดีป้า’จับมือ ‘สวทช.’ หนุนเทคโนโลยีไทยเทียบสากล

"ดีป้าเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวและตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการส่งเสริมอุตสาหกรรมและธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เป็นสตาร์ทอัปและธุรกิจเอสเอ็มอีที่พัฒนาเทคโนโลยีInternet of Things (IoT)รวมถึงอุปกรณ์อัจฉริยะดีป้าจึงได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จัดทำมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์IoTที่ผลิตโดยนักพัฒนาและผู้ประกอบการในประเทศเช่นกล้องวงจรปิดอากาศยานไร้คนขับโดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตอุปกรณ์สามารถยกระดับการพัฒนาและการผลิตให้สามารถนำออกให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมั่นใจตามหลักมาตรฐานสากลและยังสามารถต่อยอดสู่การขอรับเครื่องหมายdSure (ดีชัวร์)เพื่อผลักดันสู่ตลาดในประเทศต่อไป"นายณัฐพลกล่าว

ด้านนายณรงค์ศิริเลิศวรกุลผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช. )กล่าวว่าสวทช.เชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่จะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศโดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศและSMEsให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งจึงวางนโยบายโดยใช้ยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสากลเป็นแนวคิดหลักและนำเอาความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม(Value added)ให้แก่ผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพน่าเชื่อถือมีความปลอดภัยต่อการใช้งานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งนี้ในช่วงเศรษฐกิจปัจจุบันการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสากลเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากสำหรับภาคอุตสาหกรรมขนาดกลาง,เล็ก(SME)และstartupเพราะนั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วยยิ่งหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐฯการอยู่รอดของภาคอุตสาหกรรมในสภาวะเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบันยิ่งเป็นเรื่องที่ยากขึ้นไปอีกสวทช.จึงวางบทบาทการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นเพื่อให้ไทยยังคงเป็นฐานการผลิตใหญ่สำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆในภูมิภาคอาเซียนต่อไป"เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมในประเทศมากยิ่งขึ้นสวทช.มีการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ(National Quality Infrastructure: NQI)เพื่อให้ภาคเอกชนมีต้นทุนต่ำลงแต่มีมาตรฐานสูงขึ้นโดยนำองค์ความรู้นักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญและห้องปฏิบัติการทดสอบที่มีอยู่มาใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อก่อให้เกิดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มมูลค่าสินค้าและลดต้นทุนรวมถึงพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็งและแข่งขันได้ในเวทีโลกได้เพื่อรองรับDisruptive technologyไม่ว่าจะเป็นInternet of Thing Smart Productsและโดรนเป็นต้น"นายณรงค์กล่าว

‘ดีป้า’จับมือ ‘สวทช.’ หนุนเทคโนโลยีไทยเทียบสากล

‘ดีป้า’จับมือ ‘สวทช.’ หนุนเทคโนโลยีไทยเทียบสากล

นอกจากนี้ผู้ที่ผ่านการอบรมสามารถนำผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบไปขึ้นทะเบียนในบัญชีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัล(Digital Provider)ของดีป้าเมื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้วเสร็จสามารถส่งห้องปฏิบัติการทดสอบเช่นPTECหรือNECTECเมื่อผ่านการทดสอบยังสามารถต่อยอดขอรับเครื่องหมายdSUREเพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์นั้นๆว่าปลอดภัยได้มาตรฐานเป็นการสร้างความมั่นใจในภาคผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีต่อไป

‘ดีป้า’จับมือ ‘สวทช.’ หนุนเทคโนโลยีไทยเทียบสากล

สำหรับการบูรณาการการทำงานระหว่างดีป้าและสวทช.ในครั้งนี้เกิดจากความเชื่อมั่นในความสามารถของคนไทยและหวังว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ในการบ่มเพาะผู้มีความสามารถให้มีความรู้และมีโอกาสเติบโตเพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนนายณัฐพลกล่าวทิ้งท้าย

‘ดีป้า’จับมือ ‘สวทช.’ หนุนเทคโนโลยีไทยเทียบสากล

logoline