svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

Stephen Roach เตือนความเสี่ยงครั้งใหญ่! ที่จะเกิดวิดฤติการเงินโลกอีกครั้ง

28 กันยายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

Stephen Roach อดีตประธานและหัวหน้านักวิเคราะห์เศรษฐกิจของมอร์แกน แสตนเลย์ เตือนความเสี่ยงครั้งใหญ่ที่จะเกิดวิดฤติการเงินโลกอีกครั้งนั้นมาจากการดำเนินนโยบายการเงินของบรรดานายธนาคาร ที่ทำให้เกิดการบิดเบือนในตลาดการเงินนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินสหรัฐปี 2008-2009 จนส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลกขณะนี้ เนื่องจากมีการอัดฉีดเม็ดเงินจพนวนมหาศาลที่ทะลักเข้าตลาดการเงินเพิ่มขึ้นถึง 8,3 ล้านล้านดอลลาร์

ถึงแม้ว่าในขณะนี้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะพยายามกลับมาใช้นโยบายการเงินที่เป็นปกติ หรือ Normalizatiion ด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ยปีละ 2-3 ครั้ง และการลดงบดุล ซึ่งในที่สุดเป็นแนวโน้มที่ทำให้ทั้งธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ต้องดำเนินการต่อไปในทิศทางเดียวกับเฟดก็จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะสกัดกั้นเงินเฟ้อไม่ให้เกิดเป็นปัญหาในอนาคต แต่สถานการณ์อาจจะล่าช้าและทำให้ผลที่จะได้รับน้อยเกินไป

รัฐบาบสวีเดนกำลังเตรียมแผนเปลี่ยนสังคมการเงินที่เลิกใช้เงินสด เข้าสู่ยุคการเงินในระบบดิจิตัลที่มีการใช้ Cryptocurrency แทนโดยที่มีธนาคารกลางสวึเดน หรือ Riksbank จะเข้ามาหนุนหลังสกุลเงิน Krona ซึ่งเป็นสกุลเงินประจำชาติของสวีเดนให้มาเป็นการใช้เงินดิจิตัลในระบบ Blockchain ที่เรียกว่า e-krona ในอนาคต หลังจากที่พบว่า นโยบายนำร่องงดใช้เงินสดในประเทศได้ประสบความสำเร็จโดยที่สัดส่วนการใช้เงินสดของชาวสวีเดนได้ลดลงเหลือเพียง 15% ในปัจจุบัน จากในปี 2010 ที่มีการใช้เงินสดในสัดส่วนสูงถึง 40%


1.Stephen Roach นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสชาวอเมริกันวัย 72 ปี ร่วมงานกับมอร์แกน แสตนเลย์ มานานกว่า 30 ปี และยังเป็นอดีตประธานและหัวหน้านักวิเคราะห์เศรษฐกิจของมอร์แกน แสตนเลย์มาก่อน เตือนว่าความเสี่ยงครั้งใหญ่ที่จะเกิดวิดฤติการเงินโลกอีกครั้งนั้นมาจากการดำเนินนโยบายการเงินของบรรดานายธนาคาร ที่ทำให้เกิดการบิดเบือนในตลาดการเงินนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินสหรัฐปี 2008-2009 จนส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลก
ถึงแม้ว่าในขณะนี้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะพยายามกลับมาใช้นโยบายการเงินที่เป็นปกติ หรือ Normalizatiion ด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ยปีละ 2-3 ครั้ง และการลดงบดุล ซึ่งในที่สุดเป็นแนวโน้มที่ทำให้ทั้งธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะต้องดำเนินการต่อไปในทิศทางเดียวกับเฟดก็จะเกิดขึ้นในระยะต่อไป เพื่อที่จะสกัดกั้นเงินเฟ้อไม่ให้เกิดเป็นปัญหาในอนาคต แต่สถานการณ์ต่างๆ อาจจะล่าช้าและทำให้ผลที่จะได้รับน้อยเกินไป หลังจากที่ธนาคารกลางต่างๆ ได้อัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบการเงินโลก


2.โดยเฉพาะจากรายงานของ BIS หรือ Bank For International Settlement ที่ชี้ว่าการอัดฉีดเงินเพื่อเข้าถือครองสินทรัพย์ทางการเงินประเภทต่างๆ ในตลาดการเงินซึ่งเป็นเม็ดเงิน QE หรือ Quantitative Easing จากการอัดฉีดของเฟด ECB และ BOJ มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นถึง 8.3 ล้านล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ปี 2008 ที่มีจำนวน 4.6 ล้านล้านดอลลาร์ กลายมาเป็นจำนวน 12.9 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงต้นปี 2017

แต่ภาวะเศรษฐกิจโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ G7 ที่ประกอบด้วย สหรัฐ อังกฤษ ญี่ปุ่น เยอรทัน แคนาดา ฝรั่งเศส และอัตาลี ยังคงเติบโดตในระดับเฉลี่ย 1.8% ต่อปี ในช้วง 8 ปีนับตั้งแต่ปี 2010-2017 เทียบกับในทิศวรรษก่อนหน้านี้ที่กลุ่มประเทศดหล่านี้มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ระดับ 3.2% ต่อปี



3.แม้ว่าเฟดได้ยุติการอัดฉีดเงินไปแล้ว แต่นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสรายนี้ ยังมองว่า ECB และ BOJ มีการอัดฉีดเงินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกถึง 2.1 ล้านล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ต้นปีนี้ ได้ส่งผลที่ทำให้เกิดการสร้างสภาพคล่องส่วนเกินเพิ่มขึ้นถึง 6.2 ล้านล้านดอลลาร์ ยังคงสร้างปัญหาเกิดปัญหากับตลาดการเงินโลกที่ยังคงมีการบิดเบือนทั้งราคาสินทรัพย์ทางการเงินที่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางจนต้องรับกับความเสี่ยงที่มองเห็นได้ชัดเจนมากขี้น

ในขณะที่เฟดส่งสัญญาณการดูดซับสภาพคล่องที่จะเริ่มในเดือนตุลาคมนี้ โดยจะทยอยลดงบดุลที่มาจากการถือครองสินทรัพย์ลงราว 1 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน และจะมีการปรับเพิ่มการลดขนาดสินทรัพย์เป็น 5 หมื่นล้านดอลลาร์หลังเดือนตุลาคม 2018 โดยมีการคาดการณ์ว่าเฟดอ่จจะใช้เวลา 78 เดือนหรือ 6 ปีครึ่งเพื่อลดภาระ QE ในงบดุลจาก 4.5 ล้านล้านดอลลาร์มาอยู่ที่ 9 แสนล้านดอลลาร์ซึ่งเป็นภาระในงบดุลช่วงก่อนเกิดวิกฤติการเงินสหรัฐปี 2008

ทั้งนี้ บางกระแสกลับมองว่าเฟดอาจจะไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนงาน และอาจจะต้องใช้เวลา 13-33 ปีสำหรับการลดภาระในงบดุลเดือนละ 1-3 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อดึงเม็ดเงินให้กลับเข้ามาในภาวะที่เป็นปกติตามเป้าหมาย


4.Stephen Roach ชี้ถึงปัญหาใหญ่ของตลาดการเงินในสหรัฐที่ยังมีสภาพคล่องส่วนเกินถึง 6 ล้านล้านดอลลาร์ที่เกิดจากการบริหารนโยบายการเงินนับจากสมัยอลัน กรีนสแปน ต่อมาเป็นเบน เบอร์นันเก้ มาถึงเจเน็ต เยลเลน ที่หันมาเน้นในการคุมเข้มทางการเงินมากขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาเงินเฟ้อในอนาตจะไม่เหมือนกับช่วงที่พอล โวล์คเกอร์ ใช้นโยบายการเงินที่คุมเข้มต่อสู้กับเงินเฟ้อในยุค 1980

ก็เพราะตลาดการเงินที่ถูดบิดเบีอนจากการใช้นโยบายดงอนผ่อนคลายแบบสุดโต่งช่วงเกิดวิกฤติการเงินสหรัฐ กลับกลายเป็นปัญหาของตลาดการเงินที่ยังคงต้องได้รับการดูแลและประคับประคองให้เกิดการปรับตัวอย่างราบรื่น เพราะผลของสภาพคล่องส่วนเกินที่ส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ทางการเงินที่พุ่งอย่างรุนแรงตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมานั่นเอง


5.รัฐบาบสวีเดนกำลังเตรียมแผนเปลี่ยนสังคมการเงินที่เลิกใช้เงินสด เข้าสู่ยุคการเงินในระบบดิจิตัลที่มีการใช้ Cryptocurrency แทนโดยที่มีธนาคารกลางสวึเดน หรือ Riksbank จะเข้ามาหนุนหลังสกุลเงิน Krona ซึ่งเป็นสกุลเงินประจำชาติของสวีเดนให้มาเป็นการใช้เงินดิจิตัลในระบบ Blockchain ที่เรียกว่า e-krona ในอนาคต

หลังจากที่พบว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสวีเดนได้นำร่องงดใช้เงินสดในประเทศได้ประสบความสำเร็จจากนโยบายดังกล่าว โดยที่สัดส่วนการใช้เงินสดของชาวสวีเดนได้ลดลงเหลือเพียง 15% ในปัจจุบัน จากในปี 2010 ที่มีการใช้เงินสดในสัดส่วนสูงถึง 40%

ล่าสุด Riksbank กำลังมองหาหนทางที่จะสนับสนุนให้เกิด e-krona เป็นที่ยอมรับในตลาดการเงินโดยให้เป็นสกุลเงินที่เป็น Cryptocurrencies ซึ่งมี Government-Backed Money

logoline