svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รับมือภัยพิบัติให้มีคุณภาพด้วยหลัก 2P2R

17 มีนาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลายปีที่ผ่านมาประเทศไทย เผชิญเหตุการณ์ภัยพิบัติรุนแรงในหลายพื้นที่ สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล ส่วนที่เป็นความหวังในการดูแลสุขภาพประชาชนคือสถานพยาบาลที่แม้จะได้รับผลกระทบแต่ก็ไม่สามารถละทิ้งหน้าที่ในการรักษาอาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยของประชาชนได้ แต่ปัญหาที่ไม่เคยได้รับการพูดถึงคือจะรักษาคุณภาพไว้อย่างไรในสถานการณ์ภัยพิบัติ เพื่อให้มีการเตรียมความพร้อมที่รับรับมือทุกสถานการ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพื่อพัฒนาศักยภาพการให้บริการกับประชาชนในทุกๆ ด้าน

 
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นจึงนำมาเป็นประเด็นการเสวนาในงานประชุมวิชาการประจำปี (HA Nationnal Forum) ครั้งที่ 18 ณ ศูนย์การประชุม IMPACR FORUM เมืองทองธานี จัดโดยสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ถึงการขับเคลื่อนมาตราฐานของโรงพยาบาล เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ         
นพ.ทรงเกียรติ เล็กตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เมื่อต้นปีนี้ภาคใต้เกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่สร้างความเสียหายในหลายพื้นที่ โรงพยาบาลหมาราช ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ได้รับความเสียหาย  สิ่งที่แพทย์และเจ้าหน้าที่ทุกคนตระหนักในเวลานั้นคือ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเราจะอยู่เคียงข้างและเป็นที่พึ่งให้กับประชาชนจนวินาทีสุดท้าย และเราก็สามารถรับมือกับสถานการณ์วิกฤตนั้นได้เพราะมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอ โดยใช้หลักการ 2 P 2 R          
Pตัวแรก คือ  Prevention หมายความว่า การป้องกัน ซึ่งต้องพิจจารณาตั้งแต่ทำเลที่จะก่อสร้างโรงพยาบาล  ไปจนถึงการวางแผนเพื่อป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต  ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชจึงมีการเทพื้นยกระดับให้สูงขึ้นจากพื้นถนนเพื่อรองรับสถานการณ์น้ำท่วมที่มักเกิดขึ้นทุกปี         
ส่วน P ที่สอง คือ  Preparation มีการเตรียมความพร้อมกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ด้วยการสำรองทรัพยากรทั้งพาหนะใช้เคลื่อนย้าย-รับ-ส่ง ผู้ป่วย, ยาและเวชภัณฑ์, อาหาร, เครื่องดื่ม และศึกษาเส้นทางทางเข้า-ออก ทำป้ายบอกทางที่สะดวกและรวดเร็วในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และประชาชนทั่วไปเมื่อเกิดเหตภัยพิบัติแบบกระทันหัน            
สำหรับ R แรก คือ Response  การจำแนกผู้ป่วยที่ต้องให้ความช่วยเหลือกรณีพิเศษ เพื่อลำดับการช่วยเหลือก่อน-หลัง รวมถึงกรณีการเตรียมแพทย์เข้าไปยังจุดเกิดภัยพิบัติเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยลักษณะพิเศษ เช่น ผู้ป่วยติดเตียง  และR ที่2 คือ  Recovery คือ การฟื้นฟูหลังเหตภัยพิบัติ ได้แก่ การส่งมอบยา, อาหาร, น้ำดื่ม ให้กำลังใจแก่ผู้ประสบภัย ซ่อมแซมอาคารให้กลับมาให้งานได้เร็วที่สุด โดยกระบวนการทั้งหมดนี้ต้องทำควบคู่กันไปจึงจะประสบผลสำเร็จ ที่สำคัญโรงพยาบาลต้องทำหน้าที่รายงานสถานการณ์จริงในพื้นที่ผ่านสื่อหลายๆรูปแบบ เพื่อคนภาพนอกหรือคนภายในจะได้การช่วยเหลือสิ่งที่ขาดแคลน หรือ เข้ามาช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีซึ่งดีต่อชีวิตของทุกคน           
ด้านนายแพทย์ ภูมินทร์ ศิลาพันธ์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่า นอกจากกระบวนการ 2 P 2 R แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการกำหนดบทบาทหน้าที่ เพราะในสถาณการณ์จริงการแบ่งหน้าที่กันทำงาน ว่าใครจะเป็นผู้นำทางด้านใด เมื่อเกิดปัญหาใครคือผู้ต้องตัดสินใจ วิธีการนี้จะช่วยให้ทุกคนที่อยู่ในเหตุการมีสติ และลดความชลมุนจนสามารถผ่านวิกฤตไปได้อย่างราบรื่น          
ขณะเดียวกัน ขวัญและกำลังใจก็เป็นสิ่งสำคัญต่อทีมแพทย์และบุคลากรในโรงพยาบาล เพราะต้องมาคอยดูแลคนไข้จำนวนมากในสภาวะที่สิ่งแวดล้อมรอบข้างไม่เอื้ออำนวย ทั้งความเครียด การพักผ่อนที่น้อย และภาระครอบครัว กำลังใจจึงเป็นสิ่งเดียวที่จะเยียวยาให้ทุกคนปฎิบัติหน้าที่จนเสร็จสิ้นภารกิจ เพราะ ไม่ว่าสถานที่ใดจะพัง จะหยุดให้บริการ โรงพยาบาลต้องเป็นที่สุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ เพราะมีมูลค่าสูงมาก มูลค่าที่ว่านั้นก็คือชีวิตของทุกคน

logoline