svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมอุทยานฯ ยันไม่ปลดนกปรอดหัวโขน ออกจากสัตว์ป่าคุ้มครอง

27 สิงหาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมอุทยานแห่งชาติ ยันไม่มีนโยบายปลดนกกรงปรอดหัวโขนพ้นบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง แม้จะมีกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงเรียกร้องก็ตาม เพราะในธรรมชาติมีนกชนิดจำนวนน้อยลง

ปัญหาการเลี้ยงนกปรอดหัวโขน หรือนกกรงหัวจุก ซึ่งถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง  ที่อนุญาตให้เพาะเลี้ยงเชิงพานิชย์ได้ แต่ยังคงมีข้อถกเถียงทั้งจากนักอนุรักษ์ เนื่องจากกลุ่มผู้เพาะเลี้ยง พยายามเรียกร้องให้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช ปลดนกกรงหัวจุก ออกจากรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามบัญชีแนบท้ายพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  จึงได้เป็นตัวกลางจัดสัมมนาทางวิชาการ ทิศทางการเลี้ยงนกกรงหัวจุกของประเทศไทย เพื่อนำเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปในการแก้ปัญหาต่อไป
นายปิติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ บอกว่า ในสังคมยังมีการถกเถียงระหว่างผู้รักษากฎหมาย และผู้เพาะเลี้ยงนกกรงหัวจุก ซึ่งต้องยอมรับว่าสร้างรายได้เข้าประเทศ จากการพัฒนาสายพันธุ์นกเพื่อการแข่งขัน และธุรกิจต่อเนื่อง ทำให้สำนักงานฯส่งเสริมการเพาะเลี้ยงนกเชิงพานิชย์ขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา 
แต่ยังคงยึดหลักการเดียวกันคือการเพาะเลี้ยงที่ถูกวิธีจะไม่ทำให้นำสัตว์ป่าในธรรมชาติมาเพาะเลี้ยงจนสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งในเรื่องของทิศทางการเลี้ยงนกกรงหัวจุก จึงน่าจะรักษานกในธรรมชาติและคงความเป็นนกเพาะเลี้ยงที่สร้างรายได้เอาไว้ มากกว่าการปลดออกจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง
ด้านนายสุรเทพ บุญญวัฒนวณิชย์ นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงนกกรงหัวจุกแห่งประเทศไทย บอกว่า ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ผลจากนโยบายปราบปรามผู้กระทำความผิดทางด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างเข้มข้น ส่งผลให้เกิดการตรวจจับ และตรวจยึกนกหลายชนิด รวมทั้งนกกรงหัวจุก จากผู้ที่ได้รับอนุญาตเพาะเลี้ยงอย่างถูกต้อง ได้รับผลกระทบด้วย จึงอยากเรียกร้องให้ภาครัฐทำความเข้าใจ และตรวจสอบข้อมูลการเพาะเลี้ยงด้วย 
  อย่างไรก็ตาม ข้อถกเถียงในเรื่องนี้กรมอุทยานแห่งชาติยืนยันว่าขณะที่ยังไม่มีนโยบายที่จะไม่ปลดนกกรงหัวจุกออกจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง และที่ผ่านมามีการอนุญาตให้แจ้งการครอบครองแล้ว 2 ครั้งคือปี 2535 และปี 2546 รวมผู้เพาะเลี้ยง 49,592 ราย และนกที่เลี้ยง 452,082 ตัว

logoline