svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ชวน" ไม่ห่วงร่างพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ-เชื่อมือฝ่ายกฏหมาย

11 พฤศจิกายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ประธานรัฐสภาเผย ร่าง พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ ที่ถูกทักท้วงว่า ไม่สามารถใช้การประชุมร่วมรัฐสภาได้ เรื่องนี้ทางฝ่ายรัฐบาล มีผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมาย ที่ติดตามเรื่องนี้อยู่แล้วว่า จะเข้าเงื่อนไขหรือไม่ ระบุเมื่อรัฐบาลเสนอ ให้มีการประชุมร่วมรัฐสภา ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย

"ชวน" ไม่ห่วงร่างพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ-เชื่อมือฝ่ายกฏหมาย





11 พฤศจิกายน 2563 นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ร่าง พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ ที่มีบางฝ่ายออกมาระบุว่า ไม่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ ไม่สามารถใช้การประชุมร่วมรัฐสภาได้ โดยความเป็นจริงแล้วรัฐบาลมีฝ่ายกฎหมายที่รู้ว่า กฎหมายฉบับใดที่เข้าสภาในเงื่อนไขใด ดังนั้นเป็นไปตามขั้นตอน แต่ที่มีข้อกังวลว่า ไม่ได้ทำประชาพิจารณ์นั้น ในรายงานพบว่า ได้มีการระบุไว้ว่า ได้จัดทำไปแล้ว และเรื่องนี้เมื่อรัฐบาลเสนอมา ให้มีการประชุมร่วมรัฐสภา ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย เพราะการประชุมร่วมรัฐสภา มีการกำหนดไว้ว่าสามารถทำได้ในกรณีใดบ้าง โดยเรื่องนี้จะมีการนำเข้าหารือในที่ประชุมร่วม3ฝ่าย วันนี้ ส่วนกรณีที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน จะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย การยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสามารถทำได้ 2 กรณี โดยบางเรื่องสมาชิกสามารถเข้าชื่อยื่นได้เลย แต่บางเรื่องต้องต้องมีการเข้าชื่อเสนอผ่านทางประธานสภาฯ





สำหรับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับประชาชน(iLaw) ที่มีการตีตกรายชื่อผู้ร่วมเสนอไป จะกระทบต่อการเสนอกฎหมายหรือไม่ นั้น ในวันพรุ่งนี้ (12)จะเป็นวันสุดท้ายที่ประชาชนที่มีชื่อในการเสนอ จะยื่นคัดค้านการลงชื่อ ซึ่งเมื่อครบกำหนดจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งว่า มีผู้คัดค้านเท่าไหร่ แต่เบื้องต้นที่สอบถามไปมีประมาณ 400 คน ที่แจ้งว่าไม่ได้ร่วมลงชื่อในร่างกฎหมายดังกล่าว แต่เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้มีประชาชนเข้าชื่อแสนกว่าคน ก็ไม่ทำให้กฎหมายต้องเสียไป






"ชวน" ไม่ห่วงร่างพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ-เชื่อมือฝ่ายกฏหมาย







นายชวน กล่าวด้วยว่า คณะกรรมการสมานฉันท์ ไม่สามารถรอการติดต่อประสานงานให้ครบถ้วนได้ ซึ่งสถาบันพระปกเกล้าได้มีการเสนอโครงสร้างมาเมื่อวานนี้(10 พ.ย.) โดยเป็น 2 รูปแบบ กล่าวคือ แบบแรกจะให้ฝ่ายการเมือง 7 กลุ่ม แต่คงเป็นไปไม่ได้ ที่จะหาทั้ง 7 กลุ่ม ในเวลานี้ ซึ่งเดิมทีจะรอเพื่อเจรจา แต่คิดว่าจะยิ่งทำให้เสียเวลา จึงตกลงว่าได้กี่กลุ่มก็ขอให้ดำเนินการไปก่อน โดยกรณีนี้ฝ่ายเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนอีกกลุ่มตามที่ นพ.ประเวศ วะสี เสนอ ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ ซึ่งบุคคลที่เสนอชื่อมาก็เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการประนีประนอม และเป็นชื่อที่สถาบันพระปกเกล้าเสนอมาเช่นเดียวกัน ซึ่งในส่วนนี้ ยังมีเวลาที่จะได้มีการพูดคุยกับผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำมาก่อนแล้ว

ส่วนกรณีที่มีข้อเสนอว่า ควรให้พูดคุยกับนายทักษิณ ชินวัตร และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ด้วยนั้นขณะนี้ตนได้มีการพูดคุยกับอดีตนายกรัฐมนตรีทุกคน ที่อยู่ในประเทศหมดแล้ว ยกเว้น พล.อ.สุจินดา คราประยูร และในช่วงเวลาในวันหยุดก็ได้มีการพูดคุยกับบุคคลที่ทำงานในด้านนี้มา ซึ่งคิดว่าเฉพาะหน้าเป็นเรื่องหนึ่งที่จะต้องแก้ไป ก็ให้ฝ่ายการเมืองทำไป




"ความขัดแย้งความเห็นทางการเมือง ต้องมีตลอดไป ไม่ได้แปลกอะไร แต่ประชาชนขัดแย้งกันเองเป็นสิ่งที่ต้องย้อนหลังไปดูบางเหตุการณ์ เกิดจากการกระทำ ส่วนใหญ่ก็ฝ่ายการเมืองเอง เป็นผู้กระทำให้เกิดความขัดแย้งแตกแยก ชนิดว่าคนนึงเข้าจังหวัดนี้ไม่ได้ อันนี้เป็นอดีตที่ต้องศึกษาว่า จะป้องกันอย่างไร เพราะฉะนั้นเรื่องในอดีตบางเรื่อง สามารถนำมาศึกษาและป้องกันไม่ให้เกิดต่อไปในอนาคตได้" นายชวน กล่าว








"ชวน" ไม่ห่วงร่างพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ-เชื่อมือฝ่ายกฏหมาย







อนึ่ง ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. .... มีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประชาชนสามารถแสดงเจตจำนงผ่านการออกเสียงประชามติ ทั้งกรณีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี เพื่อหาข้อยุติในประเด็นปัญหาที่มีความสำคัญ

logoline