svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

รู้หรือยัง.! ทั่วโลกออกกฏหมายคุ้มครอง "สถาบันกษัตริย์"

27 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

โลกโซเชียล ได้มีการเผยแพร่ภาพ และข้อความ เกี่ยวกับสถาบันสูงสุดฯ และองค์พระประมุขของประเทศต่างๆ โดยมีการระบุว่า ปัจจุบันทุกประเทศทั่วโลกได้มีกฏหมายคุ้มครองสถาบันกษัตริย์ หรือองค์พระประมุข โดยจะมีการละเมิดมิได้ อย่างไรก็ตาม ภาพและข้อความถูกนำมาตีแผ่ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นกฏหมายคุ้มครองสถาบันหลักอันชอบธรรม และองค์พระประมุขในแต่ละประเทศทั่วโลก ก็ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมือง แต่จะมุ่งเน้นในการช่วยเหลือประชาชนในแต่ละประเทศเท่านั้น

ลองมาดูประเทศอังกฤษ หรือ "สหราชอาณาจักร" ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นแบบของการปกครองที่มี "พระมหากษัตริย์" เป็นองค์พระประมุข โดยในปี 1947 มีการแก้ไข รธน. และเกิด พรบ. ด้วยวิธีปฏิบัติต่อ พระมหากษัตริย์ หรือสมเด็จพระราชินี ซึ่งแก้ไขว่า "ให้สามารถฟ้องร้อง พระมหากษัตริย์ หรือสมเด็จพระราชินี ได้ในคดีที่เกี่ยวกับคดีแพ่งเท่านั้น (แต่ขั้นตอนซับซ้อนพอประมาณ) หรือพลเมืองคนใดคนหนึ่งจะร้องเรียนด้วยถวายฎีกาขอที่ดินคืนได้) แต่ พรบ. ฉบับนี้ยังรักษาสิทธิสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ คือ ไม่มีอำนาจใดจะจับกุมสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ หรือจะจับคุมใครในเขตพระราชฐาน กระทำไม่ได้ หรือจะปรับไหมหรือยึดทรัพย์ส่วนพระองค์ ก็กระทำมิได้หรือจะนำทรัพย์สินส่วนพระองค์ขายทอดตลาดก็ไม่ได้ (สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2)

รู้หรือยัง.! ทั่วโลกออกกฏหมายคุ้มครอง "สถาบันกษัตริย์"


ขณะที่ "ประเทศนอร์เวย์ ราชอาณาจักรนอร์เวย์" รธน.มาตรา 5 กำหนดไว้ว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ จะถูกกล่าวหาฟ้องร้องมิได้ เว้นแต่คดีทางแพ่ง (สมเด็จพระราชาริบตีฮารัลต์ที่ 5)

รู้หรือยัง.! ทั่วโลกออกกฏหมายคุ้มครอง "สถาบันกษัตริย์"



ส่วน "ราชอาณาจักรสเปน" รธน. มาตรา 2 หมวด 56 (Title ll Section 56) กำหนดไว้ว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพ จะละเมิดมิได้ และไม่ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์บ้านเมือง เพราะรัฐบาลต้องรับผิดชอบ ตามกฎหมาย (สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน)

รู้หรือยัง.! ทั่วโลกออกกฏหมายคุ้มครอง "สถาบันกษัตริย์"

ทางด้าน "ราชอาณาจักรสวีเดน" ตาม รธน.บทที่ 5 มาตรา 8 กำหนดเอาไว้ว่า "พระมหากษัตริย์ หรือ พระราชินี" ทรงเป็นประมุขของประทศ และเป็นที่เคารพสักการะ จะกล่าวหาฟ้องร้องมิได้ รวมทั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (สมเด็จพระราชธิบดีคาร์ลที่16 กุสตาฟ พระประมุขแห่งราชอาณาจักรสวีเดน)

สำหรับ "ประเทศญี่ปุ่น" ซึ่งประชาชนทั่วประเทศให้ความเคารพองค์พระประมุขอยู่เหนือสิ่งอื่นใด โดยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 1989 ศาลสูงสุดได้วินิจฉัยว่า "ศาลใดๆ ไม่มีอำนาจทางกฎหมายเหนือ "สมเด็จพระจักรพรรดิ" เพราะว่าพระองค์เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน (สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ)

รู้หรือยัง.! ทั่วโลกออกกฏหมายคุ้มครอง "สถาบันกษัตริย์"



ขณะที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย ก็มีกฏหมายคุ้มครอง ตามอำนาจศาลพิเศษ โดยมีคำวินิจฉัยว่า "สมเด็จพระราชาธิบดี" จะได้รับการปกป้อง ใครจะละเมิดมิได้ และไม่มีอำนาจใดสามารถ เอาผิดทางกฎหมายได้ (สุลต่านอัลดุลเลาะห์แห่งรัฐปะหัง ผู้สืบทอดสมเด็พระราชาธิบดีที่ 16 แห่งมาเลเซีย)

รู้หรือยัง.! ทั่วโลกออกกฏหมายคุ้มครอง "สถาบันกษัตริย์"



มาต่อกันที่ "ราชอาณาจักรภูฎาน" ซึ่งถือว่าเป็นความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับประเทศไทย อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ตามกฏหมายของ "ราชอาณาจักรภูฎาน" รธน. กล่าวไว้ว่า "พระมหากษัตริย์ จะถูกกล่าวหา ฟ้องร้องมิได้" (สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังซุก)

รู้หรือยัง.! ทั่วโลกออกกฏหมายคุ้มครอง "สถาบันกษัตริย์"



ประเทศสุดท้าย คือ "ราชอาณาจักรเดนมาร์ก" รธน ฉบับแก้ไข ปี 1953 กำหนดไว้ว่า พระมหากษัตริย์ จะถูกละเมิดและกล่าวหาฟ้องร้องไม่ได้ (Sacrosanct) และต้องเป็นที่เคารพสักการะ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบแทนพระองค์ตามกฎหมาย (สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 )

logoline