svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

1 ปีนโยบายกัญชาทางการแพทย์ได้ผลดี แต่ยังผลิตไม่ทัน

07 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้ป่วยพอใจ 1 ปีนโยบายกัญชาทางการแพทย์ใช้ได้ผลดีทำให้กินอิ่ม นอนหลับ แต่น้ำมันกัญชายังผลิตไม่ทันกับความต้องการของประชาชน ในอนาคตต้องการขยายไปรักษาผู้ป่วยอาการทางประสาท

จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข มีพื้นที่นำร่อง คลินิกกัญชา เพื่อการรักษาทางการแพทย์ หรือ CBD Clinic  ให้บริการผู้ป่วยที่ต้องการเข้ารับการรักษาด้วยน้ำมันกัญชา  โดยผู้ป่วยต้องลงทะเบียน    มีแพทย์และพยาบาล ที่รับผิดชอบ ทำการตรวจคัดกรองผู้ป่วยแต่ละราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ต่างต้องการเข้ารับการรักษา เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 63 ที่คลินิกกัญชาเพื่อการรักษาทางการแพทย์  อาคารคุณากรปิยชาติ ชั้น 1 โรงพยาบาลขอนแก่น   หนึ่งในคลินิกนำร่องที่ให้บริการผู้ป่วย   นพ.วัชรพงษ์ รินทระ นายแพทย์ชำนาญการ  โรงพยาบาลขอนแก่น กล่าวว่า  รพ.ขอนแก่น เปิดให้บริการคลินิกกัญชาตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค. 62  ครอบคลุม 4 จังหวัดภาคอีสานตอนกลาง     ตลอด 1 ปีของการให้บริการ ได้เก็บสถิติข้อมูลผลการรักษา  พบว่า   มีผู้ป่วยเข้ามาคัดกรอง 121   ราย ตัดสินใจเข้ารับบริการ 90 ราย  ผู้ป่วยที่ใช้ยาครบ 6 เดือนติดตามได้ 79 ราย  และมีผู้ป่วยที่ติดตามจนครบเรื่องการใช้ยาครบ 6 เดือน 13  ราย เพราะบางส่วนเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย จึงมีทั้งผู้เสียชีวิต ขาดการติดตาม  และติดตามไม่ได้  จากการรักษาพบว่าผู้ป่วยมีผลข้างเคียง คือ มีอาการแน่นหน้าอก ประสาทหลอน ซึ่งหากพบว่าผู้ป่วย มีเคียงมากกว่า ทางแพทย์ต้องประเมินการใช้น้ำมันกัญชา หากเป็นโทษต้องให้หยุด หรือลดปริมาณลงขึ้นกับอาการของคนไข้แต่ละคน คนไข้ที่เข้ามาพบแพทย์ตั้งใจมาขอน้ำมันกัญชา แต่การจ่ายให้คนไข้ต้องคัดกรองและประเมินคนไข้ ต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป เพราะถือเป็นการประคับประคองคนไข้ไม่ให้ทรมานจากการเจ็บป่วย ซึ่งทางแพทย์ยังเป็นห่วงคนไข้ที่ได้รับน้ำมันกัญชาเกรงว่าจะหยดใช้น้ำมันกัญชาเกินปริมาณที่กำหนด


 

1 ปีนโยบายกัญชาทางการแพทย์ได้ผลดี แต่ยังผลิตไม่ทัน

1 ปีนโยบายกัญชาทางการแพทย์ได้ผลดี แต่ยังผลิตไม่ทัน


"ปัญหาที่พบตลอด 1 ปีของการรักษา จะมองตั้งแต่ต้นน้ำ คือการปลูกกัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์   กลางน้ำ คือการสกัดน้ำมัน  และปลายน้ำ  คือการรักษา พบว่าเป็นเรื่องใหม่ มีรายละเอียดทุกเรื่อง   เริ่มตั้งแต่การปลูกกัญชาทางการแพทย์เป็นเรื่องใหม่ที่พบว่ามีปัญหามาก เพราะการปลูกต้องมีหลักทางวิชาการที่มาตรฐาน ไม่ใช่การปลูกแบบหัวไร่ปลายนา หลังจากที่ปลูกแล้วเมื่อนำมาสกัดกัญชาทางการแพทย์ พบว่าจะสกัดได้สาร 2 ชนิดที่เรียกง่ายๆว่า สารเมา และสารสงบ  ซึ่งทางการแพทย์นั้น ต้องการสารสงบในกัญชามารักษามากกว่า  แต่ในการสกัดสารนั้นพบว่า โมเลกุลของทั้ง 2 ตัวนี้มีความใกล้เคียงกัน  ซึ่งสายพันธุ์กัญชาของไทยนั้น มีสารเมามากกว่าสารสงบ เมื่อนำมาใช้กับคนไข้จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น  ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่ากระบวนการสกัดทั่วไปไม่สามารถแยกสารทั้ง 2 ชนิดนี้ออกจากกันได้"นพ.วัชรพงษ์  กล่าว นอกจากนี้ องค์ความรู้เรื่องการใช้กัญชาทางการแพทย์ ถือเป็นองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งทุกคนถือเป็นผู้บุกเบิก  สิ่งที่จะสร้างองค์ความรู้เรื่องน้ำมันกัญชาได้คือการรักษาที่ทำควบคู่ไปกับการทำงานวิจัย อย่างจริงจัง ทั้งผู้ป่วยรายที่รักษาได้ผลและรักษาไม่ได้  เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนด้วย

1 ปีนโยบายกัญชาทางการแพทย์ได้ผลดี แต่ยังผลิตไม่ทัน

"เมื่อนำมารักษาโรคกับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแล้ว พบว่า สามารถลดการปวดได้    ช่วยนอนหลับ ทำให้หลับยาว หลับสบายขึ้น อยากอาหาร ลดความวิตกกังวล ซึ่งตรงกับการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระยะสุดท้าย จะได้มีแรงไปสู่กับโรคต่อ เสริมในส่วนที่ยาตัวอื่นช่วยไม่ได้  ในช่วงระยะเวลา 1 ปี จากการพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประสาทก็มีความสนใจในการนำกัญชามาทดลองใช้กับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มทางประสาทอย่างเช่น คนไข้กลุ่มลมชัก พาร์กินสัน แต่ตัวยามีไม่เพียงพอ ผลิตไม่ทันกับความต้องการ"นพ.วัชรพงษ์  กล่าวส่วนนโยบายของคลินิกกัญชาเพื่อการรักษาทางการแพทย์ในอนาคตนั้น นพ.สมศักดิ์ ประฏิภาณวัตร  รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น  กล่าวว่า   ในอนาคตนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขต้องการเพิ่มปริมาณกลุ่มผู้ใช้  แต่ก็พบว่าไม่สอดคล้องกับการผลิตซึ่งต้องนำไปพัฒนาปรับปรุงต่อ  นอกจากนี้ตลอดระยะเวลา 1 ปี มีคนไข้ที่ใช้กัญชาปริมาณมาก  ลดลงบ้างในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19  ขณะนี้คนไข้กลับมาใช้บริการตามปกติแล้ว   

1 ปีนโยบายกัญชาทางการแพทย์ได้ผลดี แต่ยังผลิตไม่ทัน

logoline