svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

บุคลากรแพทย์ญี่ปุ่น ถูกรังเกียจจากสถานการณ์โควิด-19!!

18 มิถุนายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในเวลาที่โรคโควิด-19 มีการะบาดในญี่ปุ่นอย่างรุนแรงช่วงเมษายนที่ผ่านมา บุคลากรทางการแพทย์ที่ญี่ปุ่นกว่า 10 % กลับเล่าว่าพวกเขาถูกประชาชนตั้งข้อเกียจแม้ว่าต้องทำงานเพื่อปกป้องประชาชน สาเหตุเกิดจากความกลัวที่มีต่อพวกเขาซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องเผชิญหน้ากับผู้ป่วยโควิด-19 โดยตรง ความหวาดกลัวการระบาดของโควิด-19 ในญี่ปุ่นกำลังก่อปัญหาเพิ่มเติมแก่บุคลากรทางการแพทย์ในช่วงวิกฤตนี้อย่างนั้นหรือ?

สำนักข่าว NHK รายงานว่าในวันนี้(18 มิ.ย. 2563 )ญี่ปุ่นมีผู้ติดโรคโรคโควิด-19 ทั่วประเทศแล้ว 17,689 ราย หายแล้ว 15,850ราย และเสียชีวิต 935 ราย โดยเมื่อวันที่ 14 มิถุนายนพบผู้ติดเชื้อซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้นจากเดิม อย่างไรก็ตามจากการสำรวจของ NHK เมื่อเดือนเมษายนพบว่ามีบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อและต้องสงสัยว่าติดเชื้อเป็นจำนวนถึง 513 คน แต่โรคโควิด -19 ไม่ใช่ภาระเดียวที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องรับมือ เพราะผู้ป่วยโรคอื่นๆ เช่น มะเร็ง ซึ่งมีผู้ขอทำการรักษาที่บ้านเนื่องจากโรงพยาบาลจำกัดจำนวนผู้เข้าเยี่ยม นั่นทำให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องออกรักษาผู้ป่วยตามบ้าน แต่ดูเหมือนว่าความเสียสละของบุคลากรทางการแพทย์อาจไม่เพียงพอที่จะทลายความคิดของชาวญี่ปุ่นบางกลุ่มที่มองว่าบุคลากรทางการแพทย์อาจเป็นตัวแพร่เชื้อโควิด-19
เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เกียวโดนิวส์ (Kyodo News)สื่อจากญี่ปุ่นได้รายงานถึงผลการสำรวจบุคลากรทางการแพทย์จากสถานพยาบาล 152 แห่งทั่วประเทศของมูลนิธิสหภาพบุคลากรทางการแพทย์แห่งญี่ปุ่น(Japan Federation of Medical Worker's Unions)ซึ่งจัดทำเมื่อเดือนเมษายน จากการสำรวจพบว่า 9.9 % ของสถานพยาบาลในงานสำรวจตอบว่าบุคลากรทางการแพทย์ถูกเลือกปฎิบัติและถูกคุกคามเนื่องจากปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19การเลือกปฎิบัติที่ว่านี้รวมถึงบุคลาการการแพทย์ถูกผู้ร่วมงานในแผนกอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโควิด-19ตั้งข้อรังเกียจ ถูกพูดถึงในแง่ร้ายเมื่อโทรศัพท์กลับบ้าน และครอบครัวไม่ให้กลับบ้าน
อย่างไรก็ตาม การศึกษายังพบอีกว่าการถูกตั้งข้อรังเกียจและการเลือกปฏิบัติไม่ได้จำกัดแค่ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคโควิด-19 เท่านั้น แต่ขยายวงออกไปถึงญาติหรือผู้ใกล้ชิดบุคลากรทางการแพทย์เหล่านั้น โดยทันทีที่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ปรากฏในโรงพยาบาล โรงพยาบาลและผู้ทำงานในโรงพยาบาลนั้นจะถูกว่าร้าย และแม้แต่ลูกของพนักงานที่ทำงานโรงพยาบาลถูกห้ามไม่ให้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของเด็กหรือถูกกดดันให้อยู่ห่างจากโรงเรียนรพ. โกเบซิตี้ เมดิคัล เซ็นเตอร์ เจเนอร์รัล( Kobe City Medical Center General)ที่จังหวัดเฮียวโงะ ซึ่งมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 96 คน และมีผู้ทำงานทางการแพทย์ติดเชื้อ 29 คน ได้ออกรายงานว่าบุคลากรทางการแพทย์โดนเพ่งเล็งและเลือกปฎิบัติ
รายงานเผยว่าสามีของพยาบาลคนหนึ่งถูกห้ามไม่ให้ไปทำงานหากภรรยายังคงทำงานอยู่ที่โรงพยาบาล และเขาถูกบังคับให้เลือกระหว่างการออกจากงานหรือการออกห่างจากภรรยา นอกจากนี้รายงานยังกล่าวด้วยว่านางพยาบาลอีกคนหนึ่งที่กำลังตั้งครรภ์ถูกแพทย์จากโรงพยาบาลอื่นปฎิเสธการตรวจขณะเดียวกันที่จังหวัดนางาโนะ โคะสุอิ ทาโงะ อายุ 27ปี นางพยาบาลในโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยโรคโควิด-19 พูดถึงประสบการณ์ที่ลูกของเพื่อนพยาบาลถูกคุกคามโดยลูกที่เรียนอยู่ในโรงเรียนอนุบาลถูกกลั่นแกล้งโดยถูกตั้งชื่อเล่นว่า "โคโรน่าจัง" นอกจากนี้นางพยาบาลอีกคนหนึ่งเลือกที่จะอยู่ห่างจากครอบครัวเพราะกลัวว่าลูกชายของตนจะถูกกลั่นแกล้ง


สำหรับในประเทศไทย แม้ไม่มีการสำรวจถึงปัญหาการเลือกปฏิบัติและการคุกคามบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องรับมือโรคโควิด-19 แต่ผู้ใกล้ชิดแพทย์และรวมถึงพยาบาลบางท่านได้เล่าประสบการณ์ไว้อย่างน่าสนใจญาติของนายแพทย์ท่านหนึ่งในกรุงเทพฯ เผยถึงประสบการณ์ในช่วงเวลาที่ไทยเริ่มพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 เป็นจำนวนมากว่าเมื่อแพทย์ท่านนี้กลับบ้านต้องถอดรองเท้าไว้ตั้งแต่รั้วบ้านแล้วเดินเท้าเปล่าเข้ามาเพราะรองเท้าอาจติดเชื้อและฉีดแอลกอฮอล์ทั่วตัว จากนั้นจึงรีบขึ้นบ้านอย่างเร็วเพื่อไปอาบน้ำ เนื่องจากที่บ้านมีผู้สูงอายุวัย 90 ปี ซึ่งคือ แม่ ของนายแพทย์ท่านนี้ โดยเขาไม่สามารถอยู่ใกล้ และเข้าสวมกอดแสดงความรักแม่ได้เหมือนอย่างเคย
ต่อมาเมื่อนายแพทย์ท่านนี้ต้องรักษาผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคปอด 2 คนโดยไม่ได้สวมชุดป้องกันเนื่องจากในเวลานั้นไทยขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้ออย่างหนักและคนไข้รายหนึ่งเสียชีวิตลง ความสงสัยว่าคนไข้โรคปอดนั้นอาจป่วยเป็นโรคโควิด-19 จึงเกิดขึ้น นายแพทย์ท่านนี้จึงจำเป็นต้องกักตัวอยู่ที่บ้านเป็นเป็นเวลา 14 วัน เรื่องนี้สร้างความวิตกแก่ญาติและผู้ใกล้ชิดเป็นอันมากเนื่องจากที่บ้านมีผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง กระทั่งญาติของเขาขอร้องว่าหากเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้อีกขอให้นายแพทย์ท่านนี้กักตัวเองที่โรงแรมซึ่งอยู่ใกล้โรงพยาบาลแทน พร้อมกับเกิดคำถามว่าเหตุใดภาครัฐจึงไม่จัดสถานที่กักตัวแก่แพทย์และพยาบาลซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้
นอกจากนี้ พยาบาลท่านหนึ่งในไทยตัดพ้อผ่านสื่อสังคมออนไลน์ว่า เมื่อสวมชุดขาวออกไปซื้อของพวกเขารู้สึกได้ถึงแรงรังเกียจของคนรอบข้างจนพวกเขาต้องนำชุดมาเปลี่ยนดูเหมือนว่าความกลัวและความหวาดระแวงนำมาสู่การเลือกปฏิบัติซึ่งในหลายกรณีค่อนข้างรุนแรงต่อความรู้สึกของบุคลากรทางการแพทย์ผุ้ทุ่มเทต่อการรักษาชีวิตผู้ป่วย เพราะความกลัวอาจทำให้คนหลงลืมไปว่าบุคลากรทางการแพทย์คือปุถุชนทั่วไป มีบ้าน มีครอบครัวรวมถึงบุคคลที่รักไม่ต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ในญี่ปุ่นเกิดแนวคิดว่าการมองบุคลากรท่างการแพทย์เป็นตัวแพร่เชื้อนั้นจะหมดไป ถ้าสื่อสารมวลชนนำเสนอพวกเขาเป็นนักรบแนวหน้าไม่ใช่ตัวกระจายเชื้อโรค ดังนั้นในญี่ปุ่นจึงเริ่มมีกระแสที่แสดงถึงความเข้าใจในภาระหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น ภาครัฐเรียกร้องให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาการเลือกปฏิบัติและการคุกคามบุคลากรทางการแพทย์ในขณะที่พวกเขาต้องเสี่ยงชีวิตปกป้องประชาชนจากโรคโควิด-19

สื่อญี่ปุ่นเกียวโดนิวส์ (Kyodo News) รายงานถึงกระแสบวกที่เกิดขึ้นในสังคมญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยบริษัทเอกชนต่างและรัฐบาลท้องถิ่นแสดงออกถึงความซาบซึ้งต่อบุคลากรทางการแพทย์ด้วยวิธีการต่างๆ
อาธิ ในอุตสาหกรรมกีฬา ช่วงต้นเมษายนที่ผ่านมาผู้เล่นฟุตบอลในญี่ปุ่นจัดตั้ง อินสตาแกรมที่ชื่อว่า "ThanksMedicalWorkers" คาซูกิ นากาซาว่า มิตฟิลด์ คนดังจากสโมสรฟุตบอล Urawa Reds ผู้ริเริ่มโครงการนี้เล่าถึงโครงการนี้ว่าเกิดขึ้นเพื่อส่งกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ "เราอยากให้ข้อความขอบคุณนี้ส่งไปแก่ผู้ทำงานทางการแพทย์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
แฮชแท็กภาษาญี่ปุ่นซึ่งหมายความว่า"ผู้ทำงานทางการแพทย์เป็นฮีโร่ของเรา" ก็เป็นเทรนด์ในสังคมออนไลน์ นักเทนนิส นักมวย และนักเบสบอล โพสต์รูปที่พวกเขาชูกำปั้นขึ้นเพื่อบอกว่าพวกเขาสนับสนุนนักรบแนวหน้า
นอกจากนี้นากาซาว่าเล่าอีกว่า ท่าโพสต์ที่แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันซึ่งมีที่มาจาก One Piece การ์ตูนเรื่องดังก็ถูกนำมาใช้ด้วย
นอกเหนือจากโลกกีฬา โกดิวา แบรนด์ช็อกโกแลตชื่อดัง ก็สร้างความสนใจแก่สังคมออนไลน์ในญี่ปุ่น หลังจากทางบริษัทบริจาคชอคโกแลตและคุกกี้เพื่อส่ง "ความหวังและความสุข" แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทั่วประเทศ Jerome Chouchan ประธานบริษัท Godiva Japan กล่าวผ่านโฆษกว่าแคมเปญนี้เริ่มตั้งแต่กลางเดือนเมษายนหลังจากที่คนทำขนมชื่อดังคนหนึ่งที่ได้รับแรงบันดาลใจจากผู้ก่อตั้งที่ส่งขนมให้แก่ประขากรในบรัสเซลช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
แรงบันดาลใจจากการเชียร์และการตบมืออย่างที่เห็นที่ยุโรปและอเมริกาทำให้เจ้าหน้าที่บางคนที่ญี่ปุ่นก็ตบมือตามเวลาที่กำหนดไว้ทุกวัน อาทิเช่น ที่ฟุกุชิม่า อาโอโมริ ฮิโรชิม่า ฟุกุโอกะ อิยารากิ โอกายาม่า และโอกินาว่า
ที่เมืองอิวากิในฟุคุชิม่า ทุกวันในช่วงเที่ยงตั้งแต่ 17 เมษายนเป็นตันมา ลูกจ้างศาลากลางจะรวมตัวกันที่ลอบบี้และตบมือเป็นเวลา30วินาที ฮิโรชิ นูมาตะ พนักงานแผนกสุขภาพและสวัสดิการประจำเมืองหวังว่าการตบมือ 30 วินาที จะทำให้คนเห็นค่า และเป็นผู้สนับสนับสนุนต่อ คอยช่วยเหลือและต่อต้านข่าวลือที่เกิดขึ้นกับนักรบแนวหน้า นูมาตะกล่าวว่า"การตบมือเป็นประจำเป็นการเตือนตัวเองไม่ให้สร้างรอยเปื้อนแก่เขาและระมัดระวังในพฤติกรรมของเราที่ชิซุโอกะซึ่งอยู่ใจกลางญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมในเมืองสุโซโนะ เจ้าของร้านค้ารวมถึงผู้มาซื้อสินค้าได้ออกมายืนหน้าร้านและร่วมกันตบมือเป็นเวลา 3นาที เพื่อขอบคุณผู้ทำงานทางการแพทย์ที่ทำหน้าที่เป็นแนวหน้ารับมือกับไวรัสโคโรน่า
ที่ท้องฟ้าของโตเกียว กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่นได้แสดงการบินผาดโผนของกองบิน Blue Impulse ประมาณ20 นาที ช่วงบ่ายวันศุกร์เพื่อแสดงออกถึงความซาบซึ้งแก่นักรบเสื้อกาวน์แนวหน้านอกจากการสนันสนุนทางด้านคุณธรรมแล้ว รัฐบาลท้องถิ่นยังช่วยด้านการเงินโดยตั้ง"การบริจาค"จากภาษี หรือระบบ "Furusato Nozei" การบริจากประเภทนี้ผู้บริจาคจะได้ของขวัญกลับหรือการยกเลิกภาษีบางอย่างจากทางรัฐ
วิกฤตโรคโควิด-19 ได้สร้างความกลัวแก่คนบางกลุ่ม ความกลัวนี้ได้นำพวกเขาสู่ความหวาดระแวงจนเกิดการตั้งข้อรังเกียจต่อผู้มีโอกาศติดเชื้อในระดับสูงอย่างบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องชีวิตประชาชน อย่างไรก็ตามหลายคนต่อหลายคนในญี่ปุ่นได้เอาชนะความหวาดกลัวและก้าวออกมาให้กำลังใจรวมถึงสนับสนุนบุคลากรแพทย์ระหว่างวิกฤตนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

logoline