svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

เตือน 3 ช่องทาง แฮ็กเกอร์ล้วงตับออนไลน์

05 มิถุนายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นักวิชาการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ "ปริญญา หอมเอนก" แนะประชาชน ตระหนัก ห่วงแหน และหยุดใช้ "เบอร์โทร" "วันเกิด" ตั้งรหัสผ่านตัวตนออนไลน์ ชี้เป็นภัยร้ายแรง เปิดช่องแฮกเกอร์ล้วงตับ สวมรอยตัวตนแล้วนำไปก่อเหตุสร้างความเดือดร้อน

หลังจากที่อาชญากรรมออนไลน์มีการก่อคดีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมา ประชาชนจำเป็นต้องดำเนินชีวิตผ่านเครือข่ายไซเบอร์มากขึ้น ตามวิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal ที่กำลังเปลี่ยนแปลงสังคมโลกไปในทิศทางใหม่
นายปริญญา หอมเอนก นักวิชาการด้านสารสนเทศทางเทคโนโลยี กล่าวถึงการสวมรอยของมิจฉาชีพ หรือเหล่าแฮ็กเกอร์ที่สามารถเจาะเข้าถึงบัญชีรายชื่อผู้ใช้ในแอพลิเคชั่น ไลน์ หรือ เฟซบุ๊ค ได้นั้น เกิดจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจการควบคุมการเข้าถึงจากบัญชีแอพลิเคชั่นนั้นๆ ทำให้มีผู้ไม่หวังดีสามารถเข้าสวมรอยและนำบัญชีชื่อนั้นๆ ไปก่อเหตุสร้างความเดือดร้อนแก่คนใกล้ตัวและสังคม
ยกตัวอย่าง แอพลิเคชั่น Line ที่การเข้าถึงระบบเพื่อเข้าควบคุมบัญชีชื่อ(Account Name) หรือการเข้ารีเซ็ตรหัส(Password) มี 3 ช่องทางด้วยกัน คือ 1.บัญชีชื่อในเฟซบุ๊ค 2. หมายเลขโทรศัพท์มือถือของเรา และ3.ที่อยู่อีเมล หรือ email address ซึ่งทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว แต่อาจยังไม่ตระหนักว่า การเข้าถึงนี้สามารถหาข้อมูลได้โดยง่าย
นี่คือเหตุผลว่า ทำไมคุณต้องสร้างความปลอดภัยให้กับตัวตนของคุณในโลกออนไลน์ ดังเช่นที่ ตำรวจ และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ พยายามเตือนประชาชนว่า อย่าใช้วันเดือนปีเกิดในการตั้งรหัสบัญชีชื่อในแอพลิเคชั่นออนไลน์ต่างๆ เพราะเมื่อคนร้ายสามารถแฮ็คบัญชีอีเมล หรือ บัญชีเฟซบุ๊คแล้ว พวกเขาก็สามารถเข้าไปรีเซ็ตรหัสผ่านในบัญชี Line ของคุณผ่านบัญชีเฟซบุ๊คนายปริญญา แนะนำว่า การมีตัวตนในโลกออนไลน์ ควรใช้งานบนระบบตรวจสอบแบบ 2 ปัจจัย (two factors authentication/two steps verification) เพราะเพียงใช้ชื่อและรหัสผ่าน อาจไม่เพียงพออีกต่อไป เนื่องจากข้อมูลทั้งชื่อ เบอร์โทร วันเดือน ปีเกิด ถึงจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล แต่ปัจจุบันถูกเผยแพร่กันอย่างกว้างขวางและสืบค้นกันได้โดยง่ายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

logoline