svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

นักวิชาการมองเรียนออนไลน์ดีแต่สร้างภาระให้คนระดับล่าง

17 พฤษภาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองเรียนออนไลน์ดีแต่สร้างภาระให้คนระดับล่าง ยกกรณีคุณยายนำเงิน 2,000 บาท ไปซื้อมือถือให้กับหลานเพื่อใช้เรียนออนไลน์

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า นโยบายการเรียนออนไลน์ถือว่ามีปัญหา เนื่องจากสภาพสังคมไทย โดยเฉพาะเรื่องการศึกษามีความเหลื่อมล้ำสูงมากถึง 25 เท่า ขณะที่โรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และที่มีความพร้อม มีจำนวน 400 กว่าโรง สามารถดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล แต่อีกครึ่งหนึ่งไม่สามารถทำได้ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านการเรียนออนไลน์ รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนให้ในระดับหนึ่ง อย่างแท็บเล็ต ไวไฟ แต่กระทรวงศึกษาธิการฯยุคนี้ กลับไม่ลงทุนใช้ของเดิมที่มีอยู่ ดังนั้น ภาระจึงตกไปอยู่กับคนระดับล่าง อย่างกรณีคุณยายนำเงิน 2,000 บาท ไปซื้อมือถือให้กับหลานเพื่อใช้เรียนออนไลน์ ซึ่งคนกลุ่มนี้เห็นความสำคัญทางการศึกษา แต่ต้องเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่างจากคนมีฐานะปานกลางไปจนถึงสูง

นักวิชาการด้านการศึกษา มองว่า เรื่องนี้กระทรวงศึกษาฯ ควรกระจายอำนาจ ให้กับผู้บริหารโรงเรียน ครู และผู้ปกครอง ในแต่ละพื้นที่ สะท้อนถึงความต้องการ แทนการสั่งการตรงจากส่วนกลางลงไป เพราะอย่าลืมว่า การเรียนการสอนแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน เช่น บางพื้นที่ไม่มีผู้ติดโควิด-19 เลย และมีเด็กในโรงเรียนน้อย ซึ่งควรเปิดให้มีการเรียนการสอนตามปกติ แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุข หรือให้ อสม. เข้ามาร่วมตรวจสอบ เป็นต้น"ผมมองว่ากระทรวงศึกษาฯ ควรให้อำนาจแต่ละพื้นที่ตัดสินใจ แทนสั่งการตรง ซึ่งไม่สอดรับกับพื้นที่ในช่วงโควิด-19 และไม่ใช่มองเพียงแค่การศึกษาเท่านั้น แต่ต้องร่วมกับสาธารณสุข เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้ และที่กระทรวงศึกษาฯต้องหันมาทำนอกจากเรื่องการเรียน คือ แจกแมสผ้าสำหรับเด็ก คนละ 3 ชิ้น เฟสชิว และรูปแบบการสอน เช่น เน้นไปที่เรื่องสุขอนามัยให้ตรงกับสถานการณ์ มากกว่าเปิดให้เรียนออนไลน์เพียงอย่างเดียว" ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

logoline