svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ใครเป็นใคร! โฉมหน้ามือดีแก้ศก.ยุคโควิดระบาด

04 พฤษภาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญต้องได้รับการแก้ไขแบบคู่ขนานไปพร้อมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็คือเรื่องของเศรษฐกิจ ที่ทุกชนชั้นต่างได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่าน เว็บไซด์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 21/2563 เรื่องแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
โดยเมื่อดูรายชื่อพบว่าบุคคลที่ถูกแต่งตั้งทั้ง 13 คน ล้วนเป็นมืออรหันต์แทบทั้งสิ้นในแต่ละด้าน เริ่มจากคนแรกนับว่ามีชื่อคุ้นหูในแวดวงวิชาการ รวมถึงมีผลงานวิชาการมากมาย ซึ่งได้รับหน้าที่เป็นประธาน คือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา สำเร็จการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับ 1 และ 2 และได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์เป็นคนแรก ไปศึกษาต่อวิชาประสาทศัลยศาสตร์ที่สหรัฐอเมริกา จนได้รับปริญญา Master of Science จากมหาวิทยาลัยชิคาโก
นอกจากนี้ เคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ช่วงเข้าควบคุมการบริหารประเทศ และยังเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา รวมถึงอดีตนายกสภาและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งยังเคยได้รับรางวัลเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี 2528 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สภาวิจัยแห่งชาติ
ถัดมาในตำแหน่งรองประธาน คือ ศ.กิตติคุณ เทียนฉาย กีระนันทน์ สำเร็จการศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อปี 2533 อีกทั้ง เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2539 - 2543 โดยเมื่อปี 2557 ถูกคัดเลือกให้เป็นประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จนหมดวาระ
ด้าน ศ.นายแพทย์ นิธิ มหานนท์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ เป็นบุตรชายของ พลตำรวจเอก ณรงค์ มหานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ เคยเป็นอดีตอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ปัจจุบันดำรงตำหน่งเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ต่อมา ศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า เคยดำรงตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 และเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. เมื่อปี 2550 รวมทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
รศ.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ สำเร็จการศึกาษาปริญญาตรี อักษรศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาตรี / โท / เอก สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาดริด ประเทศสเปน อีกทั้ง ยังเป็นนักวิชาการอิสระด้านเศรษฐกิจและการเมือง รวมถึงเป็นที่ปรึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมของ ESCAP, องค์การสหประชาชาติ , ที่ปรึกษาศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การค้าระหว่างประเทศ
รศ.วรากรณ์ สามโกเศศ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิในสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยสำเร็จปริญญาตรีจาก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาตรี ด้านเศรษฐศาสตร์จาก The University of Western Australia ประเทศออสเตรเลีย และปริญญาโทและปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคนซัส สหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นยังเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 2550 และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
พล.ต.นพ. เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ได้ลาจากราชการเมื่อปี 2550 โดยดำรงตำแหน่งสุดท้าย คือ ผู้อำนวยการกองยุทธการทหารบก และยังเป็นผู้จัดตั้งองค์กรเก็บขยะแผ่นดิน
ดร.บัณฑิต นิจถาวร เป็นประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล[1] ประธานสมาคมตราสารหนี้ไทย กรรมการผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จบปริญญาตรี (เกียรตินิยม) ด้าน Mathematical Economics จากมหาวิทยาลัย Essex ประเทศอังกฤษปริญญาโท สาขานโยบายเศรษฐกิจและการวางแผน จากมหาวิทยาลัย La Trobe ระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย La Trobe โดยได้รับทุน La Trobe University Research Scholarship ประเทศออสเตรเลีย
ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จบปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) และปริญญาเอก Doctor of Business Administration จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา และยังนักเคลื่อนไหวในฐานะนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 จอมพลถนอม กิตติขจร ให้ปล่อยตัว 13 ผู้ต้องหาเป็นผลสำเร็จ
วีระ ธีระภัทรานนท์ นักจัดรายการวิทยุ นักเขียน คอลัมนิสต์ และเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ และเคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ระหว่างปี 2531-2532 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญทางตลาดหลักทรัพย์ โดยในปี 2553 ถูกรับเลือกให้เป็น 1 หนึ่ง 9 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตามที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ

ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือ ทีดีอาร์ไอ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ และปริญญาโท: เศรษฐศาสตร์ หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยในปี 2520-2552 ดำรงตำแหน่งกรรมการธนคารออมสิน
ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ การวิเคราะห์นโยบาย และการเมืองเปรียบเทียบ จาก Northern Illinois University ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ เคยดำรงตำแหน่งกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย , กรรมการอิสระ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และกรรมการอิสระ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ส่วนรองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการ ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มอบหมาย

logoline