svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รัฐวิสาหกิจองค์กรไหน "ขาดทุน" เป็น "ภาระประชาชน" ควรถูกยุบ?

10 กรกฎาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทีดีอาร์ไอ ให้เหตุผลว่าเพราะรัฐวิสาหกิจไทยหลายแห่งประสบปัญหา "ขาดทุน" ไม่สามารถเลี้ยงตนเอง ทำให้เป็น "ภาระต่อประชาชน" ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริหารงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีคอร์รัปชันมาก ในขณะที่หลายแห่งมีกำไรจากการผูกขาด ซึ่งสร้างต้นทุนสูงให้แก่ระบบเศรษฐกิจ และหลายแห่งยังให้บริการที่รัฐไม่ควรต้องดำเนินการด้วยตนเองอีกด้วย

"ยุบเลิกรัฐวิสาหกิจในบริการ ที่รัฐไม่ควรต้องดำเนินการด้วยตนเองอีกต่อไป" เป็นหนึ่งในข้อเสนอของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือ ทีดีอาร์ไอ ในการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ คำถามคือ "ถ้าจะให้ยกตัวอย่างรัฐวิสาหกิจที่ควรถูกยุบ คุณคิดว่าควรเป็นองค์กรไหน ?"

ทีดีอาร์ไอ ให้เหตุผลว่าเพราะรัฐวิสาหกิจไทยหลายแห่งประสบปัญหา "ขาดทุน" ไม่สามารถเลี้ยงตนเอง ทำให้เป็น "ภาระต่อประชาชน" ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริหารงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีคอร์รัปชันมาก ในขณะที่หลายแห่งมีกำไรจากการผูกขาด ซึ่งสร้างต้นทุนสูงให้แก่ระบบเศรษฐกิจ และหลายแห่งยังให้บริการที่รัฐไม่ควรต้องดำเนินการด้วยตนเองอีกด้วย

รัฐวิสาหกิจ คือกิจการร่วมทุนระหว่างรัฐบาล และเอกชนโดยรัฐบาลถือหุ้นมากกว่า, องค์การของรัฐบาล หรือหน่วยงานธุรกิจซึ่งรัฐเป็นเจ้าของ หรือกิจการของรัฐ หรือบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50

และจุดมุ่งหมายของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจนั้น นอกเหนือจากผลกำไรแล้ว บางรัฐวิสาหกิจถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นระบบสาธารณูปโภคให้กับประชาชน เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน หรือบางครั้งเพราะไม่มีเอกชนที่มีความสามารถพอที่จะดำเนินกิจการประเภทนั้น ๆ

ข้อมูลปี 2561 รัฐวิสาหกิจ 6 แห่งที่อยู่ในแผนฟื้นฟูของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) คือ "กลุ่มขนส่ง" ได้แก่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), การรถไฟแห่งประเทศไทย และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ "กลุ่มสื่อสาร" ได้แก่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ "กลุ่มสถาบันการเงิน" ได้แก่ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)

การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจในเชิงโครงสร้าง ไม่เกิดขึ้นเพราะ ไม่สามารถผลักดัน ร่าง พ.ร.บ. การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ .... ซึ่งกำหนดให้จัดตั้ง "บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ" (Super-holding Company) ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับ Temasek ของสิงคโปร์ เพื่อสร้างความเป็นเจ้าของที่ชัดเจน และลดการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองในการแต่งตั้งกรรมการของรัฐวิสาหกิจ

ไม่แปลกที่ร่างกฎหมายดังกล่าวถูกต่อต้านจากทั้งหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่จะสูญเสียอำนาจ ตลอดจนจากความวิตกกังวลว่ากฎหมายดังกล่าวจะนำไปสู่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองในการคัดเลือกกรรมการของบรรฺษัทเอง ซึ่งนอกจากจะทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาการคอร์รัปชันในรัฐวิสาหกิจได้แล้ว ยังอาจทำให้เกิดการคอร์รัปชันแบบรวมศูนย์ด้วย

รัฐบาลประยุทธ์ประกาศนโยบายการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเป็นนโยบายสำคัญประการหนึ่ง โดยส่วนใหญ่ดำเนินการผ่าน คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ หรือ "ซูเปอร์บอร์ดรัฐวิสาหกิจ" ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีกรรมการที่มีชื่อเสียงจากภาคธุรกิจและภาคราชการหลายคน นอกจากนี้ รัฐบาลยังเปลี่ยนกรรมการของรัฐวิสาหกิจต่างๆ จำนวนมากเช่นเดียวกับรัฐบาลก่อนหน้า โดยหวังผลให้เกิดการฟื้นฟูกิจการและลดการรั่วไหล

ทีดีอาร์ไอ เสนอ รัฐบาลใหม่ควรดำเนินการดังต่อไปนี้

เร่งสร้างขีดความสามารถของหน่วยงานกำกับดูแลภาครัฐ เช่น ออกกฎหมายการประกอบกิจการขนส่งทางราง และพัฒนาเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยให้สามารถทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลได้อย่างเต็มรูปแบบ

กำหนดให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะในระดับเดียวกันกับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

หาพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) ให้มาร่วมทุนกับรัฐวิสาหกิจที่ประสบปัญหาขาดทุนเนื่องจากขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

ปรับปรุงกระบวนการคัดเลือกคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ และคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ให้มีความโปร่งใส และได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

ปรับปรุงข้อเสนอ "บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ" โดยลดจุดอ่อนต่างๆ ที่มีอยู่ ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาอีกครั้ง เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจในระยะยาว .

#วชิรวิทย์ #วชิรวิทย์รายวัน #Vajiravit #VajiravitDaily #Nation #NationTV

logoline