svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

ตร.แฉขบวนการรับจ้างรับผิดโยง DSI

28 พฤศจิกายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ตำรวจชุดคลี่คลายคดี สืบสวนเชิงลึก และผลจากการสอบปากคำผู้เกี่ยวข้องที่ถูกนำตัวมาสอบปากคำก่อนหน้านี้ ทำให้พบข้อพิรุธว่า มีเจ้าหน้าที่รัฐรู้เห็นกับขบวนการรับจ้างติดคุกแทน ในคดีครูจอมทรัพย์


ขบวนการนี้ เริ่มตั้งแต่ วันที่ 10 มิ.ย.2557 นายสุริยาหรือครูอ๋อง นำเงิน 170,000 บาท ให้นายสับ นำไปจ่ายให้ญาติของนายเหลือ ผู้เสียชีวิต โดยวางเงินที่ศาลต่อหน้าครูจอมทรัพย์และต่อหน้าญาติผู้เสียชีวิตในฐานะเป็นผู้ขับขี่รถชนนายเหลือ เสียชีวิต โดยให้นายสับ แถลงต่อศาลว่าเป็นผู้ก่อเหตุไม่ใช่ครูจอมทรัพย์ จึงนำเงินมาชดเชยค่าเสียหาย

จากนั้นมีการนำหลักฐานที่นายสับ จ่ายเงินชดเชยตามคำสั่งศาลไปยื่นต่อกระทรวงยุติธรรม เพื่อขอความช่วยเหลือในการรื้อฟื้นคดีใหม่ มีเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม มาสอบปากคำเพิ่มและชี้ที่เกิดเหตุ โดยนายสุริยา ได้พานายสับไปที่เกิดเหตุ เพื่อซักซ้อมการชี้จุดเกิดเหตุก่อนประมาณ 4 ครั้ง

23 ก.ย.2558 นายสับ เข้าเบิกความต่อศาลจังหวัดนครพนม ในชั้นไต่สวนการรื้อฟื้นคดีใหม่ของครูจอมทรัพย์ เบิกความว่าเป็นผู้ขับรถชนในเหลือถึงแก่ความตาย มีผู้เบิกความเป็นพยานคือนางทัศนีย์ หาญพยัคฆ์ นางทองเรศ วงศ์ศรีชา นางจันทร์ วาปี ซึ่งยืนยันว่านายสับ คือคนขับรถชนตัวจริง โดยมีครูจอมทรัพย์ นำเอกสารเท็จไปยื่นต่อศาล

ต่อมา เจ้าหน้าที่กระทรวง นำตัวนายสุริยา นายสับ และทนายความไปเก็บตัวที่โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองคายเป็นเวลา 1 คืนและขึ้นเครื่องบินไปที่กรุงเทพฯ และอยู่ที่กรุงเทพฯ เกือบ 4 สัปดาห์ ระหว่างขึ้นเครื่อง นายสับได้รับสารภาพต่อเจ้าหน้าที่ DSI อักษรย่อ "อ." ว่าถูกจ้างมาให้เป็นแพะรับผิดแทนครูจอมทรัพย์ เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ จึงบอกกับนายสับ ว่าไม่เป็นไรจะช่วยให้ไม่ต้องติดคุก

3 ก.ย.2560 เจ้าหน้าที่กระทรวง นำนางจอมทรัพย์ เข้าเครื่องจับเท็จ แต่ไม่สามารถประมวลผลได้ ถัดมา 1 วัน นำตัวนายสับ เข้าเครื่องจับเท็จ ประมวลผลว่าพูดเท็จ ก่อนรับสารภาพต่อหน้าเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมเครื่องจับเท็จว่า ถูกจ้างให้มารับผิดแทน โดยได้ค่าจ้าง 400,000 บาท เป็นการรับสารภาพต่อหน้าเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นครั้งที่ 2 และยังบอกด้วยว่า จะพูดความจริงในการเบิกความชั้นศาล

ต่อมา 5 ก.พ.2560 นำตัวนายสุริยา เข้าเครื่องจับเท็จ ผลพบว่า พูดเท็จ และช่วงเวลา 19.00 น.ของวันเดียวกัน ขณะที่นายสับ พักอยู่ในห้องภายในรีสอร์ท พร้อมกับนายสุริยาที่กรุงเทพฯ ได้พบกับ นางจอมทรัพย์ ซึ่งนายสุริยาได้บอกว่าจะรับผิดชอบเองผู้เดียว

ต่อมาเจ้าหน้าที่ DSI ได้นำรถยนต์ทะเบียน บค 56 สกลนคร ที่เคยอยู่ในการครอบครองของนางจอมทรัพย์ไปตรวจพิสูจน์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ผลตรวจยืนยันรถไม่เคยถูกเฉี่ยวชนมาก่อน เช่นเดียวกับ เจ้าหน้าที่บริษัทโตโยต้ายืนยันว่ารถไม่เคยผ่านการทำสีใหม่มาก่อน และสำนักงานขนส่งยืนยันว่าแผ่นป้ายทะเบียนเป็นของจริง
เจ้าหน้าที่ดีเอสไอจึงสรุปว่ารถคันนี้ไม่เคยเฉี่ยวชนมาก่อนและได้นำเอกสารผลการตรวจพิสูจน์ เสนอต่อศาล

8 ก.พ.2560 นางจอมทรัพย์แสดงเอกสารเท็จต่อศาล ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญ DSI พานายสับมาศาล แต่ไม่ได้ให้ขึ้นเบิกความโดยแจ้งว่าเป็นพยานปากเปล่าไม่ต้องขึ้นเบิกความก็ได้ จะ ให้ พยานผู้เชี่ยวชาญ และพยานหลักฐาน ทางนิติวิทยาศาสตร์ ขึ้นเบิกความแทน

โดยนำรถยนต์ ทะเบียนบค 56 สกลนครไปที่ศาลและยื่นคำร้องให้ศาลเผชิญสืบตรวจสอบดูรถ แต่นายสับ ไม่ได้ขึ้นเบิกความต่อศาล และได้ค่าจ้างเพียง 3,000 บาท จากที่ตกลงกันไว้ 4 แสนบาท

logoline