svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

จี้รัฐแก้สภาพถนนลดอุบัติเหตุ

18 พฤศจิกายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการขับขี่ และสาเหตุสำคัญคือประการคือ โครงสร้างทางถนน สภาพแวดล้อมริมทางที่ทำให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน อาจยืนยันได้จากฉายาของถนนหลายสาย เช่น โค้ง 100 ศพ แยกมรณะ แต่ถึงแม้ความสูญเสียจะเกิดขึ้น ที่ผ่านมาก็ไม่ได้รับการแก้ปัญหาแต่อย่างจริงจัง จึงมีประชาชนถึงร้อยละถึง 97 ต้องการให้รัฐบาลลงทุนในจุดที่เกิดอุบัติเหตุซ้ำซาก ติดตามได้จากรายงานคุณขวัญเรียม แก้วสุวรรณ

กรมป้องกันและบรรเทาสาธาณภัย ได้เปิดเผยข้อมูลใบมรณบัตร ปี 2559 พบมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนจำนวน 15,400 คน มีผู้พิการรายใหม่ที่เป็นเหยื่อจากอุบัติเหตุทางถนนอีกกว่า 5,000 คน หรือทุกๆ วันจะมี 42 ครอบครัวต้องสูญเสียสมาชิก และอีก 15 ครอบครัวต้องแบกรับภาระเลี้ยงดูคนพิการ
สาเหตุหลักครองแชมป์มาตลอดคือเมาแล้วขับ รองลงมาคือขับรถเร็วเกินกำหนด แต่อีกสาเหตุสำคัญคือ โครงสร้างถนนและสภาพแวดล้อมริมทาง
โครงสร้างถนนที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า อีกทั้งฉายาของถนนหลายสาย เช่น โค้ง 100 ศพ แยกมรณะ แยกวัดใจ และยืนยันด้วยร่องรอยการเกิดอุบัติเหตุ อย่างราวกันอันตรายมีร่องรอยการชนนับครั้งไม่ถ้วน ถนนกว้างรถวิ่งเร็วได้ แต่มีไฟแดงซ่อนอยู่ในหลุม ทำให้มองไม่เห็น แยกวัดใจ ไม่มีไฟแดง ไม่ทราบว่าทางไหนคือทางเอก ทางโทร จุดกลับรถบนถนนกว้างที่รถทำความเร็ว รวมถึงโค้งหักศอก
สาเหตุทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ความปลอดภัยทางถนนที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนได้ทำการสำรวจประชาชน 1,200 คนว่าต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาจุดที่เกิดอุบัติเหตุซ้ำซากหรือไม่ ปรากฎว่าร้อยละ 97 เห็นว่ารัฐบาลควรลงทุนแก้ปัญหานี้
ประชาชนอยากให้รัฐลงทุนแก้จุดเกิดอุบัติเหตุซ้ำซากด้านอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ชยพล ธิติศักดิ์ หัวเรือใหญ่ในการแก้ไขปัญหา บอกว่า รัฐบาลเห็นความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นอย่างดี จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติตั้งแต่ปี 2554 มีการกำหนดให้จัดทำแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนนทุก 3 ปี ซึ่งปีนี้ได้บูรณาการการทำงาน 5 เสาหลัก คือ 1.การสร้างกลไกการบริหารจัดการด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ 2.การสร้างความปลอดภัยด้านโครงสร้างถนนและสภาพแวดล้อมริมทาง 3.การส่งเสริมการใช้ยานพาหนะที่ปลอดภัย 4.การสร้างวินัยจราจรให้กับผู้ใช้ถนน และ5.การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน
การสร้างความปลอดภัยทางถนนจะมีประสิทธิภาพสูงสุด มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนได้เสนอให้รัฐบาลลงทุนกับสถาบันด้านวิทยาสาสตร์เพื่อค้นหา สืบสวน สอบสวนถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซาก เพราะหลายเหตุการณ์อาจจะถูกเหมารวมเมาแล้วขับหรือขับรถเร็ว ทั้งที่ความจริงทางวิทยาศาสตร์อาจเป็นเพราะโครงสร้างถนน

logoline