svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สถิติและความสูญเสีย จากการสูบบุหรี่ในประเทศไทย

31 พฤษภาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถิติและความสูญเสีย จากการสูบบุหรี่ในประเทศไทย โดยศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

การสูบบุหรี่ทาให้เกิดการเจ็บป่วย และทาอันตรายต่อเกือบทุกอวัยวะของร่างกาย

  • มีคนไทย 1 ล้านคนที่มีชีวิตอยู่ แต่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่เกิดจากการสูบบุหรี่
  • ในคนไทยทุกคนที่เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ จะมีคนที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังจากการสูบบุหรี่ที่ยังมีชีวิตอยู่อย่างน้อย 20 คน
  • การสูบบุหรี่ทาให้เกิดโรคมะเร็ง 12 ชนิด โรคหัวใจ เส้นเลือดสมอง โรคถุงลมปอดพอง เบาหวาน
  • การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นวัณโรค ตาบอด ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง และทุกอวัยวะแก่ก่อนวัย
  • การสูบบุหรี่ทาให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อม

  • การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตก่อนเวลาที่ป้องกันได้
  • การสูบบุหรี่ทาให้คนไทยเสียชีวิตปีละ 50,710 คน ซึ่งยังไม่ได้รวมคนที่เสียชีวิตจากากรได้รับควันบุหรี่มือสอง
  • การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 1 ใน 6 ของชายไทย และ 1 ใน 30 ของหญิงไทย
  • การสูบบุหรี่ทาให้คนไทยเสียชีวิตวันละ 140 คน
  • ผู้ที่เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่อายุสั้นลง 12 ปี และป่วยหนักโดยเฉลี่ย 2.5 ปีก่อนตาย

  • การสูบบุหรี่ทาให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจหลายหมื่นล้านบาทต่อปี
  • มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาจากการสูบบุหรี่ = 74,884 ล้านบาท คิดเป็น 0.78% ของ GDP ในปี พ.ศ. 2552 (กนิษฐา บุญธรรมเจริญ IHPP)

  • การสูบบุหรี่ในประเทศไทย (พ.ศ.2557)
  • ผู้สูบบุหรี่ 11.4 ล้านคน ลดลงจาก 12.3 ล้านคน (พ.ศ.2534)
  • อัตราการสูบบุหรี่ 20.7% ลดลงจาก 32% (พ.ศ.2534)
  • ขณะที่ประชากรอายุมากกว่า 15 ปี เพิ่มขึ้น 17.1 ล้านคน ระหว่าง พ.ศ.2534-2557จึงประมาณการได้ว่าการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ที่ผ่านมา ป้องกันคนไทยจากการติดบุหรี่ได้ 6 ล้านคน
  • ผู้ที่เคยสูบ แต่เลิกสูบ 3.7 ล้านคน
  • ผู้สูบบุหรี่อายุ 15-18 ปี = 353,898 คน /อายุ 19-24 ปี = 1,059,839 คน
  • ประชากรไทยได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านทุกวัน = 15.2 ล้านคน

  • การสูบบุหรี่ของหญิงไทย (พ.ศ.2557)
  • จานวนหญิงไทยที่สูบบุหรี่ 616,622 คน
  • 8 ใน 10 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ากว่า
  • 1 ใน 2 เป็นผู้มีฐานะยากจนถึงยากจนที่สุด

  • การติดบุหรี่ของเยาวชน
  • มีเยาวชน 200,000 เป็นนักสูบหน้าใหม่ (พ.ศ.2557)
  • นั่นคือมีนักสูบหน้าใหม่ 547 คนต่อวัน

  • เยาวชนไทยที่ติดบุหรี่ มีพฤติกรรมเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าเยาวชนที่ไม่สูบบุหรี่
  • ดื่มสุรา 3.5 เท่า
  • ใช้ยาเสพติด 17.0 เท่า
  • เที่ยวกลางคืน 3.2 เท่า
  • มีเพศสัมพันธ์ 3.7 เท่า
  • เล่นการพนัน 3.3 เท่า

  • ระดับการศึกษาของผู้สูบบุหรี่ไทย (พ.ศ.2557)
  • ร้อยละ 59.7 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ากว่า
  • ร้อยละ 18.2 จบการศึกษาระดับมัธยมต้น
  • นั่นคือ เกือบร้อยละ 78 หรือ 4 ใน 5 ของผู้สูบบุหรี่ไทย จบการศึกษาระดับมัธยมต้นหรือต่ากว่า

    ฐานะทางเศรษฐกิจของผู้สูบบุหรี่
  • เป็นผู้ที่มีฐานะยากจนที่สุด 1,336,073 คนรายได้เฉลี่ย = 1,982 บาทต่อเดือน
  • เป็นผู้ที่มีฐานะยากจน 1,851,191 คนรายได้เฉลี่ย = 6,097 บาทต่อเดือน
  • ผู้สูบบุหรี่ที่ยากจนสองกลุ่มนี้ เสียเงินค่าซื้อบุหรี่ 7,674 ล้านบาทต่อปี หรือ 2,407 บาทต่อคนต่อปี

  • ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ต้องการที่จะเลิกสูบ (พ.ศ.2554)
  • ต้องการที่จะเลิก ร้อยละ 54
  • พยายามเลิกสูบบุหรี่ร้อยละ 36.7
  • ร้อยละ 90.7 ใช้วิธีพยายามเลิกด้วยตนเอง

  • ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจเลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่พฤษภาคม 2560

    logoline