svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

อ่านก่อนเจอบึ้ม!! คู่มือระวังป้องกัน วัตถุต้องสงสัยสำหรับประชาชน

30 พฤษภาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คู่มือการป้องกันวัตถุต้องสงสัย สำหรับประชาชน ทางหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิดอโณทัย กรมสรรพาวุธทหารบก ได้จัดทำขึ้นสำหรับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้


ซึ่งตกอยู่ในสถานการณ์การก่อเหตุระเบิดอยู่บ่อยครั้ง เพื่อให้ได้รู้เท่า และรู้ทัน ทราบถึงวิธีการสังเกตุ การป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากเหตุการระเบิด รวมถึงแจ้งข่าวสารให้กับหน่วยงานราชการ
"เนชั่นทีวี" เห็นว่าคู่มือเล่มนี้ เนี้อหามีประโยชน์เป็นอย่างมาก และใช้ได้ในทุกพื้นที่ที่สุ่มเสี่ยง หรือในพื้นที่ กทม. ที่มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จึงขอนำเนื้อหา (บางส่วน) จากคู่มือเล่มดังกล่าว มานำเสนอดังนี้

วัตถุต้องสงสัย หรือ ระเบิดแสวงเครื่องคำสองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร เนื่องจากระเบิดแสวงเครื่อง ที่พบในพื้นที่ จะมีสภาพหีบห่อภายนอกเหมือนกับสิ่งของที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถที่จะพิจารณาและตัดสินใจได้ว่าจะมีวัตถุระเบิดซุกซ่อนอยู่ภายในหรือไม่ จึงมีข้อแนะนำเพื่อช่วยในการตัดสินใจดังต่อไปนี้
สิ่งของที่พบเห็นนั้น ต้องเป็นสิ่งของที่
- ไม่เคยเห็น?-ไม่เป็นของใคร?-ไม่ใช่ที่อยู่?-ดูไม่เรียบร้อย?
-ไม่เคยเห็น หมายถึง เป็นสิ่งของที่ไม่เคยพบเห็นในบริเวณนั้นมาก่อนรวมถึงสิ่งที่เคยอยู่ ณ ที่นั้น ซึ่งได้หายไป แล้วกลับมาวางอยู่ ณ ที่นั้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
-ไม่เป็นของใคร หมายถึง เป็นสิ่งของที่ทิ้งไว้ไม่มีเจ้าของ ประกาศหาเจ้าของแล้วไม่มีผู้มาแสดงตัว หรือไม่สามารถระบุตัวเป็นเจ้าของได้ -ไม่ใช่ที่อยู่ หมายถึง สถานที่ๆพบสิ่งของกับเป็นสิ่งของที่พบไม่มีความสัมพันธ์กัน หรือสิ่งของสิ่งนั้นควรจะอยู่ในสถานที่อื่นมากกว่าที่จะมาอยู่บริเวณนั้น -ดูไม่เรียบร้อย หมายถึง เป็นสิ่งของที่มีลักษณะภายนอกผิดปกติ หรือมีรูปร่างผิดไปจากเดิม เช่น กล่องมีรอยเปื้อน มีการปิดผนึกไม่เรียบร้อย อาจมีรอยปิดผนึกใหม่ มีรอยยับต่างๆมีสี่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม มีรอยเชื่อมใหม่ มีการผูกมัดรัดตรึงที่แน่นหนาผิดปกติ มีสายไฟ หรือมีชิ้นส่วนต่างๆโผล่พ้นออกมาผิดปกติ เป็นต้น
จากข้อพิจารณาข้างต้น ไม่จำเป็นต้องเข้าหลักเกณฑ์ครบทั้งหมดทุกข้อเพียงเข้าหลักเกณฑ์ อย่างน้อย 2 ข้อ ก็เพียงพอสำหรับการสันนิฐานและตัดสินใจ ได้แล้วว่าเป็น วัตถุต้องสงสัย
ระเบิดแสวงเครื่อง หมายถึง วัตถุต้องสังสัย ซึ่งภายในมีการบรรจุวัตถุระเบิด (วัตถุระเบิดมาตรฐาน/หรือสารเคมีต่างๆ) และอุปกรณ์ต่างๆที่สามารถทำให้เกิดการระเบิดได้ ด้วยระบบการจุดระเบิดด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง
การระวังป้องกัน ความเสียหายที่เกิดจากการระเบิด จะเกิดมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ สถานที่ ปริมาณวัตถุระเบิดและการระวังป้องกัน หากมีการ ระวังป้องกันที่ดีก็จะเป็นการลดความเสี่ยง ต่อการถูกลอบวางระเบิดหรือลดเหตุระเบิดหลีกเลี่ยงความเสี่ยงหาย ที่เกิดจากการระเบิด รู้จักป้องกันเมื่อพบสิ่งของต้องสงสัย
ปราศจากเหตุร้ายในพื้นที่ เมื่อมีการระวังป้องกันที่ดีการลอบวางระเบิด ก็จะกระทำได้ยาก ทำให้พื้นที่นั้นปลอดภัยต่อเหตุระเบิดเพื่อความปลอดภัยมีข้อแนะนำดังนี้
- หมั่นติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำที่เกี่ยวข้อง- หลีกเลี่ยงไปในพื้นที่ที่เสี่ยงต่ออันตราย-หมั่นตรวจดูสิ่งผิดสังเกตรอบๆ ตัวเอง
การป้องกันเป็นหน้าที่ใคร? การระเบิดทำให้เกิดความเสียหายต่อสถานีต่างๆและผู้ที่อยู่ในบริเวณที่เกิดการระเบิด ฉะนั้นการป้องกันจึงเป็นหน้าที่ของทุกคน
จะป้องกันอย่างไร?
การป้องกันตัวเองที่ดีที่สุด คือ การไม่เข้าไปในที่ที่มีการวางระเบิด หรือ อยู่ห่างให้มากที่สุด แต่ไม่มีใครรู้ล่างหน้าก่อนว่าจะมีการวางระเบิดที่ใด เมื่อใด
อาคาร บ้านเรือน ห้างร้าน สถานที่ของท่านอาจเป็นเป้าหมายของการลอบวางระเบิดได้เท่าๆกัน การตรวจหรือมองหา สิ่งของที่ผิดสังเกต บริเวณโดยรอบบ้านพักอาศัย ตามสถานที่ต่างๆเป็นการระวังป้องกันเพื่อความปลอดภัยต่อสถานที่
สิ่งที่จะต้องตรวจได้แก่ สิ่งของที่ผู้เข้ามาในบริเวณสถานที่ นำมาติดตัวมา เช่น กระเป๋า กล่องบรรจุสิ่งของ ถุงต่างๆ ฯลฯ เพราะหลายเหตุการณ์ที่เกิดการระเบิด เนื่องจากมีผู้นำสิ่งของวางไว้ บริเวณ ที่ลับตา สังเกตเห็นได้ยาก หรือ มองเห็นแต่อาจไม่สนใจเนื่องจากอาจเป็นสิ่งของที่คล้ายกับสิ่งของที่อยู่ในบริเวณนั้น...

บริเวณที่พบวัตถุต้องสงสัยส่วนมากจะพบ ตามสถานที่เหล่านี้ ถนน หรือ เส้นทางสาธารณะต่างๆ บริเวณถังขยะ ถุงขยะ กำแพง รั้ว ท่อระบายน้ำ แนวต้นไม้ กระถางต้นไม้ ตู้รับจดหมาย ที่รับหนังสือพิมพ์ ฯลฯ การทำให้หน้าบ้านพักอาศัย สถานที่ต่างๆ สะอาดเรียบร้อย หมั่นตรวจดูรอบสถานที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ.. การตรวจ หรือ มองหา สิ่งผิดปกติ ที่อาจวาง ทิ้งไว้ หรือ รถที่จอดทิ้งไว้เป็นเวลานาน

พบแล้วจะทำอย่างไร?เมื่อพบสิ่งของที่เข้าหลักเกณฑ์ เป็น วัตถุต้องสงสัย เพื่อความปลอดภัย สำหรับประชาชนทั่วไป ควรปฏิบิติตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้
- ห้าม- ถาม- จดจำ- นำแจ้งความ- กำหนดเขตปลอดภัย- ให้คนออก
-ห้าม หมายถึง การ แตะ จับ ขยับ เคลื่อนย้าย หรือ การกระทำใดๆกับวัตถุต้องสงสัย เพราะการกระทำใดๆ กับวัตถุต้องสงสัย อาจทำให้เกิดการระเบิดได้-ถาม หมายถึง เมื่อพบวัตถุต้องสงสัย ให้ถามหาเจ้าของก่อน ว่ามีหรือไม่ เพราะหากมีเจ้าของสิ่งที่พบก็ไม่ใช่ วัตถุต้องสงสัย-จดจำ หมายถึง ผู้ที่พบเห็นสิ่งของนั้น อย่าตกใจ ควรสังเกตุ ดูสิ่งต้องสงสัยโดยรอบและควรจดจำลักษณะวัตถุต้องสงสัยนั้นให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะ จะเป็นประโยขน์ในการให้รายละเอียดแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อไป-นำแจ้งความ หมายถึง เมื่อพบวัตถุต้องสงสัยแบะจดจำรายละเอียดลักษณะรูปร่างแล้ว ให้ผู้ที่พบเห็นแจ้งสิ่งที่พบกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่ที่ใกล้ที่สุด อาจเป็นตำรวจ หรือ ทหารในพื้นที่โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น โทรศัพท์ เข้าแจ้งความโดยตรง
-กำหนดเขตปลอดภัย หมายถึง การประเมินระยะอันตรายที่เกิดจากการระเบิด ระยะอันตรายขึ้นอยู่กับ ลักษณะของหีบห่อ จำนวนดินระเบิดที่บรรจุโดยมีหลักเกณฑ์สำหรับระยะปลอดภัยดังนี้
หีบห่อขนาดเล็ก ระยะปลอดภัย ๑๐๐ เมตร ได้แก่ สิ่งของที่บรรจุวัตถุระเบิดได้ไม่เกิน ๕ ปอนด์ หรือประมาณ ๒ กิโลกรัม เช่น ท่อน้ำพลาสติก กล่องพลาสติก ฯลฯ
หีบห่อขนาดกลาง ระยะปลอดภัย ๒๐๐ เมตร ได้แก่ สิ่งของที่บรรจุ วัตถุระเบิดได้ไม่เกิน ๑๐ ปอนด์ หรือ ประมาณ ๔.๕ กิโลกรัม เช่น รถมอเตอร์ไซด์ หม้อแกง หรือ หม้อข้าว ถังดับเพลิง ฯลฯ
หีบห่อขนาดใหญ่ ระยะปลอดภัย ๔๐๐ เมตร ได้แก่ สิ่งของที่บรรจุ วัตถุระเบิดประมาณ ๕๐ ปอนด์ หรือ ประมาณ ๒๒ กิโลกรัม หรือมากกว่า เช่น ถังแก๊ส หม้อขนาดใหญ่ ฯลฯ ให้คนนอก หมายถึง ผู้พบเห็นควรแจ้งให้ทุกคนที่อยู่ในระยะอันตรายออกนอกเขตอันตรายให้หมดและควรอยู่ในที่กำบังที่แข็งแรง เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากแรงระเบิดและสะเก็ดระเบิด
ข้อคิดคติเตือนใจวัตถุประเบิด ไม่เคยปราณีใครวัตถุประเบิด ไม่เคยให้โอกาสใครแก้ตัววัตถุประเบิด ไม่เคยมีคำตอบที่ถูกต้องให้ใครวัตถุประเบิด ไม่เคยจำว่าใครเป็นเจ้าของวัตถุประเบิด คือ ดาบสองคม

ล่าสุดทางกระทรวงกลาโหม ได้ขอความร่วมมือประชาชน หากมีข่าวสาร หรือพบสิ่งผิดปกติ และวัตถุต้องสงสัย หรือบุคคลแปลกถิ่น ที่มีพฤติกรรมปกปิดอำพรางตนเอง พกพาและวางทิ้งสิ่งของต้องสงสัยทิ้งไว้ ขอให้ร่วมกันบันทึกภาพด้วยโทรศัพท์ และโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ หมายเลข 1374 และ191 ทันที
ขอบคุณข้อมูล หน่วยทำลายล้างวุตถุระเบิดอโณทัย กรมสรรพาวุธทหารบก

logoline