14 พฤศจิกายนของทุกปี ถือเป็น วันเบาหวานโลก (World Diabetes Day: WDD) ล่าสุด นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ออกมาเตือน เป็นห่วงคนทำงานหนักเกินไป เสี่ยงเป็น "โรคเบาหวาน" สาเหตุที่เห็นได้ชัดคือ พฤติกรรมการนิยมรับประทานอาหารของหวาน ของมัน ของทอด
โดยเฉพาะเมื่อทำงานหนัก เกิดความเครียดร่างกายต้องการของหวานเติมเต็ม เพราะว่าสามารถบรรเทาความเครียดได้ ของหวานที่มีน้ำตาลสูงจะสามารถช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะดรีนาลีน ที่จะหลั่งออกมาในเวลารู้สึกเครียด เมื่อคุณเครียดมากจึงทานมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นแถมยังทำลายสุขภาพเป็นอย่างมาก
นายแพทย์เกรียงไกร นามไธสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวว่าโรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ในกระแสเลือดมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ อันเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หากปล่อยไว้เป็นเวลานานก็จะทำให้ร่างกายเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ได้ง่าย อาทิ ตา ไต รวมไปถึงระบบประสาท โรคเบาหวานมีหลายประเภท
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ เบาหวานประเภทที่
1.เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้
2. เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวการณ์ดื้ออินซูลิน
3.เบาหวานขณะตั้งครรภ์ซึ่งเป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน
โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน สำหรับอาการของโรคเบาหวาน ได้แก่ รู้สึกหิวบ่อย กระหายน้ำ ปัสสาวะมีปริมาณมากและบ่อย เหนื่อย อ่อนเพลีย ผิวแห้งเกิดอาการคันบริเวณผิวหนัง ตาแห้ง มีอาการชาที่เท้า หรือรู้สึกเจ็บแปลบๆ ที่ปลายเท้า หรือที่เท้า ร่างกายซูบผอมลงผิดปกติ โดยไม่ทราบสาเหตุ หากมีอาการเหล่านี้ บวกกับพฤติกรรมในการทานอาหารที่ไม่ค่อยระวังเรื่องแป้ง และน้ำตาล
อาจสันนิษฐานได้ว่ากำลังมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้สูง เพราะฉะนั้นควรรีบพบแพทย์เพื่อการตรวจที่ละเอียด และทำการรักษาต่อไป การป้องกันโรคเบาหวาน สิ่งสำคัญของการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือ ต้องคอยหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่เกณฑ์ปกติ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พบแพทย์ตามนัด เพื่อให้ท่านมีสุขภาพที่ดี และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
หยิบยกบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ "โรคเบาหวาน" อ้างอิงจาก โรงพยาบาล BANGKOKO HOSPITAL เปิดสาเหตุและโอกาสที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ก็จริง แต่ผู้ที่มีญาติสายตรง เป็นเบาหวานไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเบาหวานทุกคนจะมีโอกาสเป็นสูงถ้ามีปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้
ใครควรได้รับการตรวจหาโรคเบาหวาน
1.ผู้มีอาการของโรคเบาหวาน
2.ผู้ที่ไม่มีอาการ จะตรวจเมื่อ
2.1 อายุเกิน 40 ปี
2.2 อายุไม่เกิน 40 ปี แต่อ้วน หรือมีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กก/ม2 (23 กก/ม2 ในคนเอเชีย)ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงของการเป็นเบาหวานดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 1 ข้อ
*** ในผู้ที่ไม่มีอาการ หากผลตรวจปกติ ควรมีการตรวจซ้ำทุก3 ปี หรือตามความเหมาะสม
วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานได้อย่างไร ?
คนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือด 70-99 มก./ดล. และหลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลจะไม่เกิน 140 มก./ดล.
การวินิจฉัยโรคเบาหวานอาศัยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตามเกณฑ์ ดังนี้
กรณีที่มีอาการโรคเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือด (อดอาหารหรือไม่ก็ได้) ตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป ให้การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน
กรณีที่ไม่มีอาการ แต่ระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนรับประทานอาหารเช้า ตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไปอย่างน้อย 2 ครั้งจะให้การวินิจฉัยเบาหวาน
กรณีสงสัยว่าเป็นเบาหวาน(มีอาการของเบาหวาน) แต่ระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนรับประทานอาหารเช้าไม่ถึง 126 มก./ดล. ให้ตรวจโดยดื่มสารละลายน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม โดยเจาะเลือดก่อนดื่ม และ 2 ชั่วโมงหลังดื่ม
ในกรณีที่ระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนรับประทานอาหารเช้าอยู่ระหว่า 100-125 มก./ดล. ถือว่ามีระดับน้ำตาลขณะอดอาหารผิดปกติ(Impaired Fasting Plasma Glucose หรือ IFG) ควรตรวจติดตามทุกปี
หมายเหตุ ในการเจาะเลือดตรวจระดับพลาสม่ากลูโคสให้งดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือรับประทานลูกอม (แต่สามารถดื่มน้ำเปล่าได้)
ขอขอบคุณที่มา > โรงพยาบาล BANGKOK HOSPITAL