svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาหาร

"ขนมเตอปงตาลัม" จากข้าวพื้นเมือง สู่เส้นทางเรียงร้อยเล่าขานตำนานบ้านควน

24 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ฟื้นครกบดแป้ง เครื่องมือโบราณอายุกว่า 100 ปี ผ่าน “ขนมหน้ากะทิ” หรือภาษาถิ่น จ.สตูล เรียก "ขนมเตอปงตาลัม" จากข้าวพื้นเมืองสู่ "เส้นทางเรียงร้อยเล่าขานตำนานบ้านควน"

24 พฤษภาคม 2566 “ขนมหน้ากะทิ” หรือภาษาถิ่นจังหวัดสตูลเรียก "เตอปงตาลัม" ด้วยรสชาติละมุนลิ้นเนื้อแป้งเนียนละเอียดดูหน้าตาอาจจะเหมือนหรือคล้ายขนมพื้นเมืองทั่วไป แต่ใครจะรู้ว่าขนมชนิดนี้ทำด้วยแป้งสด หรือแป้งข้าวจ้าวจากข้าวพันธุ์พื้นเมืองอัลฮัมดุลิลละห์ที่ผ่านครกบดแป้ง (ลือซงกีซอ) เครื่องมือโบราณอายุกว่า 100 ปีที่มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 18 กิโลกรัม ทำมาจากหินแกรนิตที่กำลังจะสูญหายไป 
"ขนมเตอปงตาลัม" จากข้าวพื้นเมือง สู่เส้นทางเรียงร้อยเล่าขานตำนานบ้านควน
โดยทางนายกูมุนตาหา บิสนุม ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม นางสาวยูวีตา โสะประจิน หัวหน้าฝ่ายบริหารการศึกษา และ นางสาวอาลิสา สะอะ (ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์) อบต.บ้านควน จังหวัดสตูล ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อบรรจุเครื่องมือโบราณและขนมชนิดนี้ใส่ใน “เส้นทางเรียงร้อยเล่าขานตำนานบ้านควน” ที่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านสุไหงมาตี ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล

"ขนมเตอปงตาลัม" จากข้าวพื้นเมือง สู่เส้นทางเรียงร้อยเล่าขานตำนานบ้านควน
นางฮอลีย๊ะ สังยาหยา อายุ 60 ปี สาธิตการใช้ครกบดแป้งโบราณ (ภาษามลายูเรียก ลือซงกีซอ) โดยนำข้าวพันธุ์พื้นเมืองอัลฮัมดุลิลละห์ค้างปีมาแช่น้ำหนึ่งคืน ก่อนนำมาตักใส่ครกบดแป้งโบราณ โดยตักใส่ครั้งละช้อนโต๊ะที่มีน้ำผสมเพื่อให้การบดแป้งได้ง่ายยิ่งขึ้น ใช้เวลาไม่นานสำหรับการทำขนมหนึ่งถาด ซึ่งแป้งข้าวจ้าวสด จากข้าวพื้นเมืองที่มีเนื้อข้นละเอียดเพื่อนำไปทำขนมได้ต่อไป 
"ขนมเตอปงตาลัม" จากข้าวพื้นเมือง สู่เส้นทางเรียงร้อยเล่าขานตำนานบ้านควน

หลังได้แป้งข้าวจ้าวสดๆ วันนี้ได้มีการสาธิตการทำ “ขนมหน้ากะทิ” หรือภาษาถิ่นจังหวัดสตูลเรียก “เตอปงตาลัม” ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำตาลทรายแดง/น้ำตาลอ้อย/แป้งข้าวเจ้าสด จากนั้นนำนึ่ง และมาน้ำกะทิเพื่อทำหน้าขนม โดยมีส่วนผสมของ เกลือ/กะทิและแป้งข้าวจ้าวสด(ที่แบ่งไว้) มาราดหน้าขนมเพิ่มความหวานมัน โดยทำขายถาดละ 70 บาท

"ขนมเตอปงตาลัม" จากข้าวพื้นเมือง สู่เส้นทางเรียงร้อยเล่าขานตำนานบ้านควน
นางสาวยูวีตา โสะประจิน หัวหน้าฝ่ายบริหารการศึกษา อบต.บ้านควน กล่าวว่า นี่เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ทางอบต.บ้านควน นำโดยนายกกูดานัน หลังจิ ที่จะผลักดันให้เป็นเส้นทางเรียงร้อยเล่าขานตำนานบ้านควน ที่ยังมีการอนุรักษ์การใช้เครื่องมือโบราณในการทำขนมพื้นเมืองเพื่ออนุรักษ์ให้ลูกหลานได้เห็นคุณค่าวัฒนธรรมการทำขนมพื้นเมือง ที่ทรงคุณค่าตามวิถีมุสลิมที่น่าจดจำและเล่าขาน และด้วยกรรมวิธีการทำขนมด้วยแป้งข้าวจ้าวสดนี้ ทำให้ทุกคนที่ได้ทานแล้วจะรู้สึกได้ว่าได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษ ทำใหม่สด กับรสชาติเนื้อแป้งที่ละเอียดละมุนอร่อยตามแบบฉบับขนมโบราณที่คู่ควรกับตำบลบ้านควน 
"ขนมเตอปงตาลัม" จากข้าวพื้นเมือง สู่เส้นทางเรียงร้อยเล่าขานตำนานบ้านควน

นางฮอลีย๊ะ สังยาหยา อายุ 60 ปี เล่าว่า ได้รับการสืบทอดการใช้เครื่องมือโบราณ และการทำขนมมาจากโต๊ะปาซ๊ะ โซ๊ะปะจิน อายุ 86 ปี และส่งต่อให้เด็ก ๆ ลูกหลานได้อนุรักษ์ซึ่งน้อยคนนักที่จะอนุรักษ์วิธีนี้ โดยเฉพาะอายุครกบดโบราณมีอายุไม่น้อยกว่า 100 ปี โดยแป้งข้าวจ้าวสดต้องใช้ข้าวพื้นเมืองอัลฮัมดุลิลละห์ เท่านั้นเพราะข้าวชนิดอื่นจะไม่ได้ความเข้มข้นและรสชาติที่อร่อยแบบนี้ โดยสามารถทำขนมได้หลากหลายชนิด อาทิ ขนมสอดไส้ ขนมถ้วย ขนมเปียกปูน
"ขนมเตอปงตาลัม" จากข้าวพื้นเมือง สู่เส้นทางเรียงร้อยเล่าขานตำนานบ้านควน
สำหรับท่านใดที่อยากจะทดลองทาน หรืออุดหนุนการใช้เครื่องมือโบราณเพื่อให้สืบทอดการทำขนมโบราณนี้ให้สืบไป สามารถสั่งจองได้ นางฮอลีย๊ะ บอกว่าจะทำตามออเดอร์เท่านั้น เพราะปกติจะทำทานกันเองในครอบครัวและเทศกาลสำคัญ ๆ อย่างฮารีรายอ และรอมฎอน รวมทั้งงานนูหรีเท่านั้น 
"ขนมเตอปงตาลัม" จากข้าวพื้นเมือง สู่เส้นทางเรียงร้อยเล่าขานตำนานบ้านควน

logoline