svasdssvasds
เนชั่นทีวี

คลิปเด็ด

สืบสวนความจริง : คดีเด่นป.ป.ช. ชี้มูลส.ว.ทุจริตจัดซื้อ GT200

13 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กว่า 10 ปีที่ “กองทัพ” ถูกข้อครหาว่าเป็นหน่วยงานที่ “ผลาญงบ” หลังเกิดปัญหาเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด GT200 เป็นเครื่องลวงโลก หรือไม้ล้างป่าช้า เพราะใช้งานไม่ได้จริงอย่างที่อวดอ้างสรรพคุณ

กว่า 10 ปีที่ “กองทัพ” ถูกข้อครหาว่าเป็นหน่วยงานที่ “ผลาญงบ” หลังเกิดปัญหาเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด GT200 เป็นเครื่องลวงโลก หรือไม้ล้างป่าช้า เพราะใช้งานไม่ได้จริงอย่างที่อวดอ้างสรรพคุณ

 

เรื่องมาแดงช่วงปลายปี 2552 ในยุครัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้บัญชาการทหารบก เครื่อง “GT200” ทำงานผิดพลาด นำมาสู่เกิดเหตุระเบิดข้างโรงแรมเมอร์ลิน จ.นราธิวาส เมื่อ 6 ต.ค. 2552 และเหตุระเบิดที่ตลาดสด จ.ยะลา 19 ต.ค.2552

 

สืบสวนความจริง : คดีเด่นป.ป.ช. ชี้มูลส.ว.ทุจริตจัดซื้อ GT200

 

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 4 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ 2 มิ.ย.2565 เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2566

 

ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ อภิปรายความไม่เหมาะสม การใช้งบประมาณกระทรวงกลาโหม ที่ไม่ปรากฏในเอกสารงบประมาณ โดย กองทัพบก ทำสัญญาจ้าง สวทช. ตรวจสอบเครื่อง GT200 จำนวน 757 เครื่อง เครื่องละ 10,000 บาท รวม 7,570,000 บาท

 

สืบสวนความจริง : คดีเด่นป.ป.ช. ชี้มูลส.ว.ทุจริตจัดซื้อ GT200

จิรัฏฐ์ อภิปรายเพื่อโยงว่า กระทรวงกลาโหม เอาเงินภาษีไปช่วยนายพลไม่กี่คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ GT200 เมื่อ 14 ปีที่แล้วให้รอดพ้นคดีหรือไม่

 

ข้อมูลที่ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า ป.ป.ช.มีมติว่าไม่สามารถชี้มูลความผิดกรณีทุจริตจัดซื้อ GT200 ได้ แต่ข้อเท็จจริง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดกรณีทุจริตจัดซื้อ GT200 ไปแล้ว 20 สำนวน ในจำนวนที่ตั้งไต่สวน 25 สำนวน

 

สืบสวนความจริง : คดีเด่นป.ป.ช. ชี้มูลส.ว.ทุจริตจัดซื้อ GT200

สืบสวนความจริง ตรวจสอบพบว่า มี.ค.2564  คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ที่มี กรรมการ ป.ป.ช. สุชาติ ตระกูลเกษมสุข รับผิดชอบ แจ้งข้อกล่าวหา ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อ GT200 กว่า 200 ราย

 

ต่อมาวันที่ 19 ก.ค. 2564 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดคดีเกี่ยวกับการจัดซื้อ GT200 และ Alpha6 รวม 20 สำนวน มีผู้ถูกกล่าวหากว่า 100 ราย โดยถูกชี้มูลความผิดทั้งทางอาญา และทางวินัย ส่วนใหญ่ผู้ถูกชี้มูลเป็นคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างฯ และคณะกรรมการตรวจรับงานจ้างฯ ของหน่วยงานนั้น ๆ

 

สืบสวนความจริง : คดีเด่นป.ป.ช. ชี้มูลส.ว.ทุจริตจัดซื้อ GT200

 

โดยใน 20 สำนวน มีผู้ถูกชี้มูลเป็นบุคคลมีชื่อเสียง เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ เทียบเท่าอธิบดี เคยเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 

 

ส่วนอีก 5 สำนวนที่เหลือ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ไต่สวนใหม่ ภายหลัง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ ป.ป.ช. มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 โดยทั้ง 5 สำนวนอยู่ระหว่างเสนอกรรมการป.ป.ช.ลงมติ

GT200 เป็นเครื่องตรวจจับสสารระยะไกล  ผลิตโดยบริษัท โกลบอล เทคนิคอล จำกัด สหราชอาณาจักร บริษัทผู้ผลิตอ้างว่า GT 200 สามารถตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยได้ทั้งระเบิด และยาเสพติด สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ของประเทศไทย ตรวจพบว่า GT200 ไม่ได้มีคุณสมบัติการใช้งานตามที่บริษัทผู้ผลิตกล่าวอ้าง

 

สำหรับประเทศไทย มี บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่าย และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้รับสอบสวนเป็นคดีพิเศษ  เนื่องจากมีผู้ร้องว่า ผู้ขาย GT200 พฤติการณ์ฉ้อโกง หรือหลอกลวงขายเครื่องตรวจวัตถุระเบิด ที่ไม่มีคุณภาพตามที่กล่าวอ้าง

 

สืบสวนความจริง : คดีเด่นป.ป.ช. ชี้มูลส.ว.ทุจริตจัดซื้อ GT200

 

18 กันยายน 2561 ศาลแขวงดอนเมือง ได้อ่านคำพิพากษา สำนวนการสอบสวนคดีพิเศษที่ 218/2555 คดีระหว่าง กรมสรรพาวุธทหารบก กองทัพบก กับ บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด กับพวก

 

ศาลเห็นว่า จำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงตามที่อัยการโจทก์ฟ้อง พิพากษาจำคุก สุทธิวัฒน์ วัฒนกิจ กรรมการบริษัท ในฐานะส่วนตัว กรรมละ 3 ปี รวม 12 กรรม รวมจำคุก 36 ปี แต่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (1) กำหนดให้จำคุกได้ไม่เกิน 10 ปี ส่วนโทษปรับ ให้ปรับบริษัท เอวิเอฯ กรรมละ 6,000 บาท รวม 12 กรรม รวมปรับ 72,000 บาท ส่วนจำเลยอื่น ให้ยกฟ้อง

 

สืบสวนความจริง : คดีเด่นป.ป.ช. ชี้มูลส.ว.ทุจริตจัดซื้อ GT200

 

ส่วนการทดสอบคุณสมบัติเครื่อง GT200 เมื่อปี 2553 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค นำ GT200 มาทดสอบ โดยเครื่องตรวจพบวัตถุระเบิดเพียง 4 ครั้ง จากการทดสอบ 20 ครั้ง ซึ่งไม่มากไปกว่าการตรวจหาโดยการสุ่ม

 

ผลการทดสอบ ทำให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สั่งยกเลิกการจัดซื้อเครื่อง GT200 เพิ่มเติม และให้หน่วยงานที่ใช้อยู่ทบทวนเรื่องการใช้งาน

 

สืบสวนความจริง : คดีเด่นป.ป.ช. ชี้มูลส.ว.ทุจริตจัดซื้อ GT200

 

อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ กล่าวในรายการ “ค้นแบบวิทย์ คิดแบบอาจารย์เจษ” ยืนยันว่า สวทช.เคยทดสอบ GT200 ตั้งแต่ 14 ปีก่อน ให้เจ้าหน้าที่ EOD 3 เหล่าทัพใช้เครื่องตามหาระเบิดในห้องที่วางแบบสุ่มไว้ สุดท้ายพิสูจน์ได้ว่าเครื่องมันหาไม่เจอ 

 

หน่วยงานจัดซื้อGT200

  1. กรมศุลกากร 6 เครื่อง 2.5 ล้านบาท 
  2. กรมราชองครักษ์ 8 เครื่อง 9 ล้านบาท
  3. กองทัพบก 757 เครื่อง 682 ล้านบาท
  4. กองทัพเรือ 38 เครื่อง 39 ล้านบาท
  5. กองทัพอากาศ 26 เครื่อง 20.8 ล้านบาท
  6. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ 6 เครื่อง 6.8 ล้านบาท 
  7. สภ.ชัยนาท 1 เครื่อง 5.5 แสนบาท
  8. สตช. 1,230 ล้านบาท 
  9. อบจ.สระแก้ว 2 เครื่อง 2.3 ล้านบาท 
  10. อบจ.สมุทรปราการ 3 เครื่อง 1.8 ล้านบาท

 

logoline