svasdssvasds
เนชั่นทีวี

คลิปเด็ด

สืบสวนความจริง : สัมภาษณ์พิเศษ "สุวณา สุวรรณจูฑะ" กรรมการ ป.ป.ช.

19 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"สุวณา สุวรรณจูฑะ" คณะกรรมการ ป.ป.ช. เชิญชวนประชาชน และเจ้าหน้าที่รัฐ 8,303 หน่วยทั่วประเทศ รวมทั้งธุรการฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ร่วมสร้างคุณธรรมความโปร่งใส ให้แก่หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงาน ด้วยการกรอกแบบสอบถาม การประเมิน "ITA"

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (กรรมการ ป.ป.ช.) สุวณา สุวรรณจูฑะ ให้สำภาษณ์พิเศษ เชิญชวนให้ประชาชน ข้าราชการ ร่วมประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หรือ Integrity and Transparency Assessment (ITA)

 

โดยในปี 2565 มีหน่วยงานภาค เข้าร่วมการประเมิน ITA ทั่วประเทศ จำนวน 8,303 หน่วยงาน ครอบคลุม ส่วนราชการระดับกรมทุกกรม ทุกหน่วยงานภาครัฐ และทุกสำนักงานในฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ อาทิ ส่วนราชการระดับกรมทุกกรม ระดับจังหวัด องค์กรอิสระ หน่วยธุรการองค์กรอัยการ หน่วยธุรการองค์กรศาล หน่วยงานในสังกัดรัฐสภา รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน สถาบันการอุดมศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภท

 

สืบสวนความจริง : สัมภาษณ์พิเศษ "สุวณา สุวรรณจูฑะ" กรรมการ ป.ป.ช.

สำหรับการประเมิน ITA มีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่การให้บริการสาธารณะ ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ กล่าวได้ว่าเป็นการประเมินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน

 

ITA เป็นเครื่องมือการประเมินสุขภาพองค์กร ด้วยการเก็บข้อมูลอย่างรอบด้านและลงลึก เพื่อให้สะท้อนสุขภาวะขององค์กร ในด้านคุณธรรม และความโปร่งใส อย่างแท้จริง

 

โดยการเก็บข้อมูล ITA  มาจาก 3 ส่วน คือ 1.บุคลากรภายในหน่วยงาน 2.ประชาชนที่มาติดต่อหรือผู้มารับบริการ และ 3.การเปิดเผยข้อมูลทางเว็บไซต์หลักของหน่วยงานภาครัฐ ดังนี้

 

สืบสวนความจริง : สัมภาษณ์พิเศษ "สุวณา สุวรรณจูฑะ" กรรมการ ป.ป.ช.

 

ส่วนที่ 1 การเก็บข้อมูลจากบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ การประเมิน ITA ได้เปิดโอกาสให้ทุกคนในองค์กรไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือลูกจ้างชั่วคราว มีหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็นต่อคุณธรรมและความโปร่งใสในองค์กรของตนเอง ผลของการแสดงความคิดเห็นที่ได้ รัฐบาลและผู้บริหารของหน่วยงานจะนำไปใช้ในการพัฒนาระบบราชการหรือองค์กรให้มีการบริหารจัดการที่ดียิ่งขึ้น

 

ส่วนที่ 2 ผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อหน่วยงานภาครัฐ ที่เคยมารับบริการหรือมาติดต่อหน่วยงานภาครัฐในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ.2565 

 

ส่วนที่ 3 การเปิดเผยข้อมูลทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน จะเป็นการตรวจสอบระดับการเปิดเผย ข้อมูลผลการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ที่เปิดเผยทางหน้าเว็บไชต์หลักของหน่วยงาน เพื่อให้คนทั่วไปได้ทราบรายละเอียดการบริหารงานขององค์กร

 

ทั้งนี้คะแนนจากการประเมินจะได้ในระดับใด อยู่ที่หน่วยงานที่เข้ารับการประเมินว่า ได้ทำตามสิ่งที่กำหนดในคำถาม ข้อชี้วัดเหล่านี้ยังไง ถ้าผลคะแนนของหน่วยงานดีขึ้น เป้าหมายของหน่วยงานที่บอกว่าต้องได้เท่าไหร่ จะถูกยกระดับขึ้นไป

การพัฒนาระบบ ITA ที่เราเรียกว่า ITAS ระบบถูกออกแบบอย่างแม่นยำ ยืนยันว่าไม่ว่าท่านจะเป็นบุคลากรของภาครัฐ หรือประชาชนผู้มารับบริการ จำเป็นต้องกรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก เพื่อยื่นยันตัวตน และป้องกันการกรอกข้อมูลซ้ำ แต่เมื่อผลการประเมินออกมาจะระบุเป็นภาพรวมทั้งหมด ไม่สามารถทราบได้ว่าใครเป็นผู้ประเมิน ทั้งนี้ การที่เราต้องการให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน ITA เพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงในการประเมินหน่วยงานรัฐ

 

สืบสวนความจริง : สัมภาษณ์พิเศษ "สุวณา สุวรรณจูฑะ" กรรมการ ป.ป.ช.

 

สิ่งที่อยากฝากทุกท่านที่มีส่วนร่วมคือ เราต้องมาช่วยกันประเมินให้ถูกต้องโดยสุจริต เพื่อที่จะเราจะได้รู้สุขภาพขององค์กรณ์นั้น ๆ ว่าหน่วยงานดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องแก้ไขเพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อไปอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ประชาชน การได้ประโยชน์จากการบริการสาธารณะ การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานรัฐในการให้บริการประชนชน

 

การประเมิน ITA จะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในแง่ความโปร่งใสและความเป็นธรรมในการปฏิบัติงาน และให้บริการภาครัฐอย่างชัดเจนแน่นอน ตัวอย่างของความเปลี่ยนแปลงในด้านการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐทางเว็บไซต์ของหน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมิน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรมที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทย

 

สืบสวนความจริง : สัมภาษณ์พิเศษ "สุวณา สุวรรณจูฑะ" กรรมการ ป.ป.ช.

 

logoline