- 29 ส.ค. 2564
- 64
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีการปรับเป็นเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อเด็ก เพราะไม่สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กที่ควรจะได้รับรู้ หากไม่มีการปรับเปลี่ยนจะทำให้ระบบการศึกษาไทยถดถอยลงไปได้
ตลอดระยะเวลา 1ปี ที่มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์ นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความเห็นว่า การที่เด็กหยุดเรียนเป็นเวลานาน ทำให้เด็กถดถอยด้านการศึกษา สอดคล้องกับข้อมูลที่ ศ.ดร.สมพงษ์ จิตรระดับ ให้ข้อมูลว่า การเรียนการสอนแบบปกติกับการเรียนแบบออนไลน์ มีผลต่างกันถึง 50 เปอร์เซ็น เพราะยิ่งปิดเทอมนานเท่าไหร่ จะส่งผลต่อเด็กนักเรียนมากเท่านั้น ทั้งเรื่องการทดถอยของคุณภาพ และสุขภาพจิตของตัวเด็กเองจะยิ่งแย่ลง
ข้อมูลนี้ยังสอดคล้องกับผลการสำรวจใน 29 จังหวัดสีแดงเข้ม เรื่องความพร้อมของเด็ก เฉพาะกลุ่มเด็กยากจนพิเศษ จำนวน 2แสน7หมื่น 1พันกว่าคน พบว่า 87% ไม่มีโทรทัศน์ / และร้อยละ 99 เปอร์เซ็น ไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือ Smartphone นี่จึงซึ่งถือว่าเป็นความเหลื่อมล้ำทางสังคมอย่างชัดเจน
ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ผอ.ศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของนักวิชาการบางคนที่ให้เด็กหยุดเรียน 1 ปี เสมือนเป็นการปล่อยเวลาให้เสียเปล่า หลังจากนี้ทางรอดในสถานการณ์โควิด ทางกระทรวงศึกษาธิการจะต้องทำการสำรวจโรงเรียนที่สามารถจะเปิดเรียนได้ ให้ทยอยเปิด ควบคู่กับการพิจารณาความปลอดภัย โดยคาดว่าเดือนมกราคมปีหน้า จะสามารถเปิดระบบได้เต็มรูปแบบ
ขณะเดียวกันโลกของการเรียนรู้ต่อไปในอนาคตจะต้องปรับตัวครั้งใหญ่ หรือปฏิรูปสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย โรงเรียน หรือแม้กระทั่งกระทรวงศึกษาธิการ ให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่เรียนรู้บน Digital platform ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ทันสมัยและตอบโจทย์สังคมไทย
อีกหนึ่งเสียงสะท้อนของปัญหาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกมาประกาศใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ ปรากฏว่า มีเสียงวิพาก์วิจารณ์ของนักวิชาการและผู้ที่อยู่ในวงการศึกษา หลายฝ่ายออกมาคัดค้านถึงความไม่เหมาะสม ผิดที่ ผิดเวลา ของช่วงเวลาที่เริ่มทดลองใช้ เพราะมีความเร่งรีบในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทั้งที่ยังไม่มีการทำประชาพิจารณ์
ปฎิเสธไม่ได้ว่าการเรียนออนไลน์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก เพราะต้องใช้สายตาผ่าน คอมพิวเตอร์ ทีวี แท็บเล็ต เป็นเวลานาน ซึ่งเด็กอาจจะเข้าสู่ภาวะ computer vision syndrom โดยมีลักษณะ อาการ ปวดเมื่อยตา ตาแห้ง ตาล้า แสบตา เคืองตา ตาพร่ามัวและส่งผลต่อ การนอนหลับได้ แต่กลุ่มอาการเหล่านี้ไม่เกิดอันตรายร้ายแรงต่อดวงตา หรือ การมองเห็น แต่จะเกิดความไม่สบายตา