svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

"PM2.5" คุณภาพอากาศเริ่มน่ากังวล พื้นที่กรุงเทพ เกินค่ามาตรฐาน 22 พื้นที่

19 ตุลาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คุณภาพอากาศเริ่มน่ากังวล ค่าฝุ่น "PM2.5" เริ่มกลับมาเพิ่มขึ้น ล่าสุดพื้นที่กรุงเทพฯ เกินค่ามาตรฐาน ส่งผลกระทบสุขภาพ 22 พื้นที่ แนะเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งบางพื้นที่ พร้อมจับตาสถานการณ์ทั่วประเทศช่วงปลายฝนต้นหนาว

\"PM2.5\" คุณภาพอากาศเริ่มน่ากังวล พื้นที่กรุงเทพ เกินค่ามาตรฐาน 22 พื้นที่
19 ตุลาคม 2566 ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ PM2.5 ประจำวันที่ 19 ตุลาคม 2566 ณ 07:00 น สรุปดังนี้

ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ พบเกินค่ามาตรฐานในกรุงเทพฯ โดยค่าการตรวจวัดคุณภาพอากาศทั้งประเทศ ดังนี้

  • ภาคเหนือ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 7.3 - 26.8 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 5 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 28.9 - 42.7 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐาน 3 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 19.6 - 41.2 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 15.9 - 31.5 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 5.9 - 15.9 มคก./ลบ.ม.
  • กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ​ ​กทม. เกินค่ามาตรฐาน 25 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 21.1 - 53.3 มคก./ลบ.ม.

คำแนะนำทางสุขภาพ 

  • ประชาชนทั่วไป : ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง
  • ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง ถ้ามีอาการทางสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

\"PM2.5\" คุณภาพอากาศเริ่มน่ากังวล พื้นที่กรุงเทพ เกินค่ามาตรฐาน 22 พื้นที่

นอกจากนี้ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ประจำวันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 07.00 น. พบว่า..

ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ค่ามาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม. ตรวจวัดได้ 24.6-53.3 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่า "เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ" จำนวน 22 พื้นที่ ดังนี้ 

  • 1.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 53.3 มคก./ลบ.ม.
  • 2.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 48.3 มคก./ลบ.ม.
  • 3.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 47.8 มคก./ลบ.ม.
  • 4.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 46.0 มคก./ลบ.ม.
  • 5.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 45.4 มคก./ลบ.ม.
  • 6.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 44.1 มคก./ลบ.ม.
  • 7.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 43.9 มคก./ลบ.ม.
  • 8.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 43.8 มคก./ลบ.ม.
  • 9.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 42.0 มคก./ลบ.ม.
  • 10.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 41.9 มคก./ลบ.ม.

\"PM2.5\" คุณภาพอากาศเริ่มน่ากังวล พื้นที่กรุงเทพ เกินค่ามาตรฐาน 22 พื้นที่

  • 11.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 41.6 มคก./ลบ.ม.
  • 12.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 41.0 มคก./ลบ.ม.
  • 13.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 40.6 มคก./ลบ.ม.
  • 14.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 40.3 มคก./ลบ.ม.
  • 15.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 40.3 มคก./ลบ.ม.
  • 16.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 40.2 มคก./ลบ.ม.
  • 17.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 39.8 มคก./ลบ.ม.
  • 18.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 38.8 มคก./ลบ.ม.
  • 19.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 38.7 มคก./ลบ.ม.
  • 20.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 38.6 มคก./ลบ.ม.
  • 21.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 38.5 มคก./ลบ.ม.
  • 22.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 38.4 มคก./ลบ.ม.

ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศปานกลาง โดย กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ฝนตกหนักบางแห่ง

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา พบว่า..

  • ในช่วงวันที่ 19 - 25 ต.ค. 2566 การระบายอากาศไม่ดี อาจส่งผลต่อค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5)ที่สูงขึ้นในบางพื้นที่ และวันนี้พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ฝนตกหนักบางแห่ง
  • จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร

\"PM2.5\" คุณภาพอากาศเริ่มน่ากังวล พื้นที่กรุงเทพ เกินค่ามาตรฐาน 22 พื้นที่
ข้อแนะนำสุขภาพ สำหรับ คุณภาพอากาศระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

  • สำหรับบุคคลทั่วไป: ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
  • ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์

สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยแจ้งเตือนรวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง

  • แอปพลิเคชัน AirBKK
  • www.airbkk.com
  • FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
  • FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
  • FB: กรุงเทพมหานคร
  • แอปพลิเคชัน AirBKK
  • LINE ALERT
  • LINE OA @airbangkok

สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5

logoline