svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

เปิดความจริง"แบคทีเรียกินเนื้อ" ร้ายแค่ไหน คร่าชีวิตแล้ว 2 รายจริงหรือไม่

14 กันยายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สสจ.ระยอง เปิดความจริง "แบคทีเรียกินเนื้อ" คร่าชีวิตแล้ว 2 ศพจริงหรือไม่ พร้อมเปิดข้อมูลความร้ายแรงและแนวทางป้องกัน

14 กันยายน 2566 จากกรณีที่มีข่าวและเผยแพร่ในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับ "แบคทีเรียกินเนื้อ" มีการติดเชื้อและมีอาการรุนแรงจนเกิดโรคเนื้อเน่า (Necrotizing fasciitis) หรือเรียกอีกอย่างว่า โรคแบคทีเรียกินเนื้อ (Flesh-eating disease) 

ทั้งนี้มีการส่งต่อภาพและเนื้อหา ไวรัสกินคน ปรากฎภาพบาดแผลเน่า น่าสยดสยอง ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ พร้อมระบุว่า..

"เชื้อ vibrio valnificus ระยองมีแล้ว 2 ราย ตายทั้ง 2 ราย ในหอยแครงหอยแมลงภู่ สุกๆดิบๆ อาหารทะเล"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

เปิดความจริง"แบคทีเรียกินเนื้อ" ร้ายแค่ไหน คร่าชีวิตแล้ว 2 รายจริงหรือไม่

ล่าสุด นายแพทย์สุนทร เหรียญภูมิการกิจ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระยอง (สสจ.ระยอง) ชี้แจงกรณีโซเซียลแชร์ภาพและข้อความว่า มีผู้เสียชีวิต จากเชื้อ vibrio valnificus จำนวน 2 ราย จากการกินหอยแมลงภู่ สุก ๆ ดิบ ๆ โดยเสียชีวิตที่ รพ.แกลง 1 ราย และ รพ.ระยอง 1 ราย ไม่เป็นความจริง

ที่ถูกต้องคือเป็นภาพผู้ป่วยเมื่อ 5 ปีก่อน ที่เสียชีวิตจากการถูกของทิ่มแทง ได้รับการรักษาช้า จนมีเนื้อเยื่อตาย ไม่เกี่ยวกับแบคทีเรียกินเนื้อคน ยืนยันไม่พบเชื้อดังกล่าวในระยอง

เปิดความจริง"แบคทีเรียกินเนื้อ" ร้ายแค่ไหน คร่าชีวิตแล้ว 2 รายจริงหรือไม่
พร้อมกันนี้ เพจเฟซบุ๊ก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ภาพดังกล่าว เป็นภาพผู้ป่วยเมื่อ 5 ปีที่แล้ว จากการถูกของทิ่มแทง ได้รับการรักษาช้า จนมีเนื้อเยื่อตาย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับข่าว แบคทีเรียกินเนื้อคนของ CDC ปัจจุบัน จังหวัดระยองยังไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต จากเชื้อ Vibrio valnificus ตามที่เป็นข่าว

ทำความรู้จัก โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า

โรงพยาบาลวิภาวดี ได้เปิดข้อมูลและความรู้เรื่อง "แบคทีเรียกินเนื้อ" พร้อมแนวทางในการป้องกัน ระบุว่า..

โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing Fasciitis เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่เนื้อเยื้อใต้ผิวหนัง อาทิ ไขมันใต้ผิวหนัง ผังผืดและกล้ามเนื้อ จะมีความรุนแรงมาก อันตรายถึงชีวิต

Necrotizing Fasciitis คืออะไร
โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing Fasciitis เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่เนื้อเยื้อใต้ผิวหนัง อาทิ ไขมันใต้ผิวหนัง ผังผืดและกล้ามเนื้อ จะมีความรุนแรงมาก อันตรายถึงชีวิต หากรักษาไม่ทัน เพราะเชื้อจะทำลายเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อที่มักพบบ่อยที่แขนขา บริเวณฝีเย็บ และลำตัว มักมีประวัติได้รับอุบัติเหตุ ไปเที่ยวทะเล ถูกก้างปลาตำ
แบคทีเรียกินเนื้อ
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Streptococcus เมื่อเชื้อเข้าสู่เนื้อเยื่อ โดยผ่านทางแผลที่ผิวหนัง เชื้อจะเจริญอย่างรวดเร็วและหลั่งสารพิษ (Toxin) ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื่อ มีผลทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นไม่พอทำให้กล้ามเนื้อตาย และเชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและลามไปทั่วร่างกาย

อาการของโรค
ไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน เหงือออก เป็นลม ช๊อกหมดหมดสติ

อาการของโรคแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรค
อาการของโรควันที่ 1-2 มีอาการปวดบริเวณที่เกิดโรค บวม และแดง ลักษณะจะคล้ายกับผิวหนังอักเสบหรือไฟลามทุ่ง แต่โรคเนื้อเน่าเกิดในชั้นลึกกว่านั้นซึ่งมองไม่เห็น อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นซึ่งไม่สอดคล้องกับอาการทางผิวหนังที่ตรวจพบ ไม่ตอบสนองต่อยาปฎิชีวนะ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัวหัวใจเต้นเร็ว มีลักษณะอาการขาดน้ำ

อาการของโรควันที่ 2-4  พบว่าบริเวณที่บวมจะกว้างกว่าบริเวณผิวหนังที่แดง มีผื่นผุพองซึ่งบ่งบอกว่าผิวหนังขาดเลือด และมีเลือดออก ผิวมีสีออกคล้ำเนื่องจากผิวหนังเริ่มตาย เมื่อกดผิวจะพบว่าแข็งไม่สามารถคลำขอบของกล้ามเนื้อได้ อาจจะคลำได้กรอบแกรบใต้ผิวหนัง เนื่องจากเกิดแก๊สใต้ผิวหนัง
อาการของโรควันที่ 4-5 จะมีความดันโลหิตต่ำ และมีภาวะโลหิตเป็นพิษ ผู้ป่วยจะไม่ค่อยรู้สึกตัว
อาการแทรกซ้อน

อัตราเสียชีวิตจะสูง เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ การติดเชื้ออาจจะทำให้เส้นประสาท กล้ามเนื้อและหลอดเลือดถูกทำลาย อาจจะต้องตัดอวัยวะทิ้ง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเนื้อเน่า 

  • ผิวหนังมีแผลจากแมลงกัดต่อย อุบัติเหตุถูกของมีคมตำหรือบาด แผลผ่าตัด
  • มีโรคประจำตัว เช่น ติดสุรา ติดยาเสพติด โรคตับ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง วัณโรค
  • อาจเกิดหลังจากป่วยเป็นโรคไข้สุกใส
  • มีการใช้ยา Steroid

การรักษา
มาพบแพทย์โดยด่วนเพื่อวินิจฉัยให้เร็ว และผ่าตัดเอาเนื้อที่ตายหรือเนื้อที่ติดเชื้อออกให้มากที่สุด ผ่าตัดเพื่อระบายเอาหนองออก และตัดเนื้อเยื่อที่ตาย หากติดเชื้อรุนแรงอาจจำเป็นต้องตัดอวัยวะนั้นออก

การป้องกันโรค

  • การดูแลแผล การดูแลแผลจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคเนื้อเน่า
  • เมื่อเกิดแผล รีบทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดทันที
  • ทำความสาดแผลทุกวัน และใช้อุปกรณ์ทำแผลที่สะอาด
  • ระหว่างที่มีแผลควรหลีกเลี่ยงการใช้สระน้ำ และอ่างอาบน้ำร่วมกัน
  • ล้างมือทุกครั้งก่อนแหละหลังสัมผัสแผล
  • บริเวณที่ติดเชื้อได้ง่าย

ทั้งนี้ โรคเนื้อเน่า ที่เกิดจากแบคทีเรียกินเนื้อ เกิดกับส่วนใดๆของร่างกายโดยพบบ่อยที่แขน ขา บริเวณฝีเย็บและลำตัว มักจะมีประวัติได้รับอุบัติเหตุ ไปเที่ยวทะเลถูกก้างปลาตำ
เปิดความจริง"แบคทีเรียกินเนื้อ" ร้ายแค่ไหน คร่าชีวิตแล้ว 2 รายจริงหรือไม่
ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลวิภาวดี

logoline