svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

หมอดื้อ ชวนสายสุขภาพเปิดผลรายงานวิจัยสุดปัง กินเนื้อแดง เสี่ยงเกิดโรคเพียบ

14 กรกฎาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หมอดื้อ หรือ นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก ชอบกินเนื้อ..ถึงกับเสี่ยงตาย? ระบุผลศึกษาวิจัย มีการเสียชีวิต 3,596 รายด้วยกัน โดย 655 ราย ตายจากโรคเส้นเลือดและหัวใจทั้งหมด 285 รายจากโรคเฉพาะของเส้นเลือดหัวใจ และ 149 รายจากโรคเส้นเลือดสมอง

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ หมอดื้อ หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก ชอบกินเนื้อ..ถึงกับเสี่ยงตาย? ใจความระบุว่า 


เป็นที่ทราบกันมานานพอสมควรแล้วว่าการกินเนื้อแดงอันประกอบไปด้วยเนื้อวัว หมู เนื้อแกะ เป็นต้น จะมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคนานาชนิด ที่เป็นโรคเรื้อรังและอันตราย รวมทั้งการเกิดมะเร็งและการเกิดเป็นเบาหวาน

หมอดื้อ ชวนสายสุขภาพเปิดผลรายงานวิจัยสุดปัง กินเนื้อแดง เสี่ยงเกิดโรคเพียบ ประเด็นร้อนๆ ที่จับตามองมากที่สุด จะเป็นเรื่องของความเสี่ยงของการเสียชีวิตโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคของเส้นเลือดไม่ว่าจะเป็นหัวใจ สมอง รวมทั้งเส้นเลือดทั่วร่างกาย (Cerebrovascular Diseases หรือ CVD) โดยรวมความผิดปกติของหัวใจ ทั้งหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดปกติ และโรคของเส้นเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease) และโรคเส้นเลือดสมอง (Stroke)

มีข้อมูลที่ขัดแย้งกันในบางประเด็นในเวลาที่ผ่านมา ก็คือความเสี่ยงจะเกิดขึ้นมากเฉพาะกับการกินเนื้อแดงที่ผ่านการปรุงแต่ง (Processed meat) โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตต่างๆ เช่น การรมควัน การหมัก การใช้เกลือและวิธีอื่นๆ เพื่อเพิ่มรสชาติและยืดอายุของอาหาร ที่รู้จักกันดีคือ ฮอตด็อก ไส้กรอก เบคอน แฮม เนื้อบรรจุกระป๋องและเนื้อตากแห้ง ในขณะที่เนื้อแดงที่ไม่ปรุงแต่ง ไม่เป็นไร

นอกจากนั้นความเสี่ยงยังอาจเกิดขึ้นร่วมกับการใช้ชีวิตและพฤติกรรม เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า การออกกำลัง และการกินพืชผักผลไม้กากใยมากหรือน้อยด้วยหรือไม่

และยังจะเกี่ยวข้องกับยีนที่กำหนดพันธุกรรม ที่ทำให้ตัวการที่ก่อให้เกิดการอักเสบที่เรียกว่า TMAO มีความรุนแรงขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้ TMAO เป็นผลจากการที่จุลินทรีย์ในลำไส้ทำการเปลี่ยนเนื้อแดงให้กลายเป็นสารอักเสบ และในปัจจุบันมีการพบว่ารหัสพันธุกรรมที่ผันแปร (SNP-Single Nucleotide Polymorphisms) และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับ TMAO มี 10 ตำแหน่งด้วยกัน จากการศึกษา Genome-Wide Association Study (GWAS) เป็น Genetic risk score ของ TMAO

หมอดื้อ ชวนสายสุขภาพเปิดผลรายงานวิจัยสุดปัง กินเนื้อแดง เสี่ยงเกิดโรคเพียบ

ผลของการศึกษาที่มาจากการติดตามประชากรขนาดใหญ่ และเป็นเวลานาน จากคณะผู้วิจัยทั้งจากสหรัฐฯและจีน รายงานในวารสารทางด้านโภชนา การของยุโรป (European Journal of Nutrition) ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2022 พบว่า การกินเนื้อแดงที่ไม่ได้ผ่านการปรุงแต่งใดๆ มีความสัมพันธ์ชัดเจนกับความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นของการเสียชีวิตที่เกิดจากโรคของเส้นเลือดทั้งหมด และโรคเส้นเลือดสมอง และความเสี่ยงดังกล่าวไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้ลดลงได้จากการปรับพฤติกรรมและไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ในขณะเดียวกัน การหันมากินเนื้อไก่ สัตว์ปีก อาหารธัญพืช กลับช่วยให้ลดความเสี่ยงการตายอย่างมากมาย

การศึกษานี้ควบรวมประชากร 180,642 คน ในระหว่างปี 2006 ถึง 2010 ที่ไม่ได้มีโรคประจำตัวเกี่ยวข้องกับเส้นเลือดหรือมะเร็ง และทำการติดตามไปจนกระทั่งถึงปี 2018 โดยมีระยะเวลาโครงการติดตามเฉลี่ยอยู่ที่ 8.6 ปี

ผลของการศึกษา มีการเสียชีวิต 3,596 รายด้วยกัน โดย 655 ราย ตายจากโรคเส้นเลือดและหัวใจทั้งหมด 285 รายจากโรคเฉพาะของเส้นเลือดหัวใจ และ 149 รายจากโรคเส้นเลือดสมอง

หมอดื้อ ชวนสายสุขภาพเปิดผลรายงานวิจัยสุดปัง กินเนื้อแดง เสี่ยงเกิดโรคเพียบ

หมอดื้อ ชวนสายสุขภาพเปิดผลรายงานวิจัยสุดปัง กินเนื้อแดง เสี่ยงเกิดโรคเพียบ

เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่กินเนื้อแดงน้อยที่สุดคือ น้อยกว่า 1.5 ครั้งต่ออาทิตย์ กับกลุ่มที่กินเนื้อแดงมากที่สุดคือ มากกว่าสามครั้งต่ออาทิตย์ จะพบว่ากลุ่มที่กินเนื้อแดงมากนั้น มีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการตายด้วยโรคเส้นเลือดทั้งหมด 20% และด้วยโรคเฉพาะของเส้นเลือดหัวใจ 53% และโรคที่เกี่ยวข้องกับเส้นเลือดสมอง 101% (P for trend =0.04, 0.007, 0.02 ตามลำดับ)

และเมื่อทำการวิเคราะห์โดย ถ้ามีการลดการกินเนื้อแดงเปลี่ยนเป็นไก่หรือสัตว์ปีก หรือธัญพืชจะมีความเสี่ยงต่อการตายของเส้นเลือด 9 ถึง 16% การศึกษานี้ยังเน้นย้ำถึงการกินเนื้อแดงที่แม้ไม่ได้มีการปรับหรือปรุงแต่งใดๆ ก็เสี่ยงตายอยู่ดี และแม้จะพยายามออกกำลัง ไม่สูบบุหรี่ก็ไม่ได้ช่วยให้ความเสี่ยงลดลง

ข้อจำกัดของการศึกษาอยู่ที่ไม่สามารถประเมินว่าถ้ากินอาหารพืชผักผลไม้ร่วมไปด้วยจะลดความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด
ผลของการศึกษานี้สอดคล้องกับความรู้ที่เราได้รับทราบมาเนิ่นนาน และพิสูจน์ซ้ำในการศึกษาขนาดใหญ่ที่ควบรวมประชากรทุกทวีป ที่มีเศรษฐานะและเชื้อชาติแตกต่างกันมากกว่า 100,000 คนในปี 2017 แต่เราทำไม่ได้หรือไม่ได้ตั้งใจที่จะทำ ว่าการกินอาหารหลักเป็นพืชผักผลไม้กากใย โดยอัตราส่วนของผักผลไม้อยู่ที่สองต่อหนึ่ง และโปรตีนส่วนใหญ่นั้นมาจากพืช เช่น ถั่ว และสัตว์น้ำ เช่น ปลา โดยลดหรืองดเนื้อทั้งหมด

รวมกระทั่งถึงการลดคาร์โบไฮเดรตก็คือ แป้ง ทั้งข้าว ข้าวเหนียว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง มันเทศ มันสำปะหลัง

ถึงท้ายสุดนี้คงคล้ายกับที่ได้เคยพูดมาก่อนหน้าและพูดในหมู่เพื่อนฝูงและรุ่นน้องมีหลายคนประสานเสียงกันว่า ร้องเพลง My Way กันดีกว่า นั่นก็คือ “กูจะกิน ก็เรื่องของกู”

ขอขอบคุณที่มา >>

อีกโพสต์ที่น่ารักของคุณหมอดื้อ อ่านแล้วยิ้มร่าทีเดียว 

ปิดท้ายวันนี้ กับโพสต์นี้ ดีมากๆ 

หมอดื้อ ชวนสายสุขภาพเปิดผลรายงานวิจัยสุดปัง กินเนื้อแดง เสี่ยงเกิดโรคเพียบ

แอลกอฮอล์บ้าง กลับลดสมองเสื่อม

การศึกษานี้ไม่ได้หมายความว่าส่งเสริมให้ผู้คนทั้งหลายดื่มเหล้า เพราะทั้งนี้เราทุกคน ทราบแล้วว่า การดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ถ้าไม่รู้จักตนเองเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นติดแอลกอฮอล์ ดื่มหัวราน้ำ ชีวิตตนเองและครอบครัวจะพังพินาศและมีโรคภัยไข้เจ็บมหาศาลทั้งโลกทางกายและสมอง

ผลของการศึกษานี้ รายงานในวารสารสมาคมแพทย์อเมริกัน (JAMA network open) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2023

ผลสรุป โครงการศึกษาก็คือ กลุ่มที่คงระดับของการดื่มอยู่ที่ดื่มบ้าง ถึงดื่มปานกลางนั้น ลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมลง และการลดปริมาณจากดื่มหนักเป็นดื่มปานกลาง จะลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมเช่นกัน และในขณะเดียวกันจากที่ไม่ดื่มเลย เป็นเริ่มดื่มบ้างในปริมาณน้อย จะลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมด้วย

ทั้งนี้ เป็นการติดตามศึกษาในคนเกาหลีเป็นจำนวน 4 ล้านคน (3,933,382 คน) โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2009 และในจำนวนนี้ ตั้งแต่เริ่มต้น 54.8% ไม่ดื่มเลย 26.7% ดื่มบ้าง 11.0% เป็นพวกดื่มปานกลางและ 7.5% เป็นดื่มหนัก

โดยที่การจัดระดับของการดื่มบ้าง ปานกลาง และหนักนั้น ดูจากปริมาณแอลกอฮอล์มาตรฐาน นั่นก็คือ หนึ่งดื่ม=14 กรัมของแอลกอฮอล์

ดื่มบ้าง หรือ mild drinker จะอยู่ที่น้อยกว่า 15 กรัมต่อวันหรือประมาณ=หนึ่งดื่ม ดื่มปานกลางจะอยู่ที่ 15 ถึง 29.9 กรัมต่อวัน หรือประมาณเท่ากับหนึ่งถึงสองดื่มและดื่มหนักจะอยู่ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 30 กรัมต่อวัน นั่นก็คือมากกว่าหรือเท่ากับสามดื่ม

ในระหว่างช่วงเวลา 2009 ถึง 2011 นั้น กลุ่มดื่มบ้าง 24.2% กลุ่มดื่มปานกลาง 8.4% และกลุ่มดื่มหนัก 7.6% นั้นเลิกดื่มไปหมด

แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ปรากฏว่า 13.9% ของกลุ่มไม่ดื่มเลย 16.1% ของกลุ่มที่ดื่มบ้างและ 17.4% ของกลุ่มที่ดื่มปานกลางกลับเพิ่มระดับปริมาณของการดื่มขึ้น

ในช่วงเวลาของการติดตามเฉลี่ย 6.3 ปีนั้น พบว่ามี 2.5% ที่เป็นสมองเสื่อม (100,282 คน) โดยสามารถระบุได้ว่า 2% (79,982 คน) เป็นโรคอัลไซเมอร์ และ 0.3% (11,085 คน) เป็นโรคสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นจากเส้นเลือดฝอยตันพรุนในเนื้อสมอง (vascular dementia)

หมอดื้อ ชวนสายสุขภาพเปิดผลรายงานวิจัยสุดปัง กินเนื้อแดง เสี่ยงเกิดโรคเพียบ ข้อมูลที่ไม่คาดคิดมาก่อน ในการศึกษานี้ก็คือ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ดื่มเลยตลอดระยะเวลาที่เริ่มการศึกษา กลับพบว่ากลุ่มที่ดื่มบ้างและดื่มปานกลางกลับมีความเสี่ยงของสมองเสื่อมลดลง 21% (aHR, 0.79; 95% CI, 0.77-0.81) และ 17% (aHR, 0.83; 95% CI, 0.79-0.88) ตามลำดับ

แต่ในกลุ่มที่ดื่มหนักนั้นมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 8% (aHR, 1.08; 95% CI, 1.03–1.12)

ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณกับความเสี่ยงของสมองเสื่อมในลักษณะนี้เป็นแบบเดียวกันทั้งโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อมจากเส้นเลือดตัน

การลดระดับปริมาณของแอลกอฮอล์จากดื่มหนักเป็นดื่มปานกลางทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดสมองเสื่อมได้ทั้งสองแบบ และเช่นเดียวกันเมื่อเพิ่มปริมาณขึ้นจากระดับปานกลางไปเป็นหนักก็จะเพิ่มความเสี่ยงของสมองเสื่อมทั้งสองแบบ

แต่ข้อมูลที่ดูประหลาดแต่เป็นไปแล้วนั้น ก็คือในกลุ่มที่ไม่ดื่มเลยและเริ่มต้นดื่มบ้างในระยะต่อมา พบว่าความเสี่ยงที่จะเกิดสมองเสื่อมทั้งหมดลดลง 7 เปอร์เซ็นต์ (aHR, 0.93; 95% CI, 0.90-0.96) และลดลง 8% ของสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ (aHR, 0.92; 95% CI, 0.89-0.95) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ดื่มบ้างอยู่แล้วตั้งแต่ต้น

หมายความว่า เมื่อเริ่มดื่มบ้างแล้วจากไม่เคยดื่มเลยกลับทำให้ความเสี่ยงของสมองเสื่อมนั้นลดลง

ซึ่งข้อมูลจากไม่ดื่มเลยเป็นดื่มบ้าง กลับได้ประโยชน์ ไม่เคยมีรายงานการศึกษาที่ใดมาก่อน และหัวหน้าคณะวิจัยได้กล่าวย้ำว่าผลการศึกษานี้ ไม่ได้เป็นการชักชวนให้คนที่ไม่ดื่มเลยเริ่มต้นดื่ม

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษานี้หรือการศึกษาก่อนหน้า เมื่อเริ่มต้นดื่มไปแล้วและไม่สามารถหยุดยั้งตนเองกลายเป็นติดแอลกอฮอล์จนใช้ปริมาณสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของสมองเสื่อมขึ้นเป็นสามเท่า

ในทางกลับกัน ผู้ที่ดื่มบ้างในปริมาณน้อยอยู่แล้ว สามารถคงปริมาณในระดับนั้นได้ โดยอาจไม่ต้องกังวล และอาจมีความดีใจแฝงอยู่นิดๆว่ายังคงมีสมองใสต่อไปได้

ท้ายสุด คณะผู้ศึกษาได้แจงข้อจำกัดของการศึกษานี้ว่า ปริมาณแอลกอฮอล์ที่แต่ละคนรายงานนั้น อาจเป็นไปได้ว่า น้อยกว่าสัดส่วนที่ดื่มจริง และขณะเดียวกันชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นไม่ได้มีการแยกแยะรายละเอียดในการศึกษานี้ว่า เป็น เหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเป็นเครื่องดื่มประเภทอื่น

และอีกประเด็นหนึ่งก็คือ ผู้อยู่ในการศึกษานี้เป็นผู้ที่ได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ ดังนั้นอาจจะเป็นกลุ่มประชากรที่มีสุขภาพค่อนข้างดีอยู่แล้วและมีการใช้ชีวิตแบบสุขภาพดีกว่าประชากรทั่วไปในเกาหลี

อีกประเด็นที่สำคัญก็คือการศึกษานี้ไม่ได้มีการพิจารณาถึงยีนที่ส่งเสริมที่ทำให้เกิดอัลไซเมอร์ และประการสุดท้ายก็คือ ข้อมูลเหล่านี้จำกัดอยู่ที่คนเกาหลี ดังนั้น อาจจะพูดไม่ได้เต็มที่ว่าสามารถนำไปประยุกต์กับคนเชื้อชาติอื่นได้หรือไม่โดยที่อาจจะมีพันธุกรรมในด้านการขจัดแอลกอฮอล์ไม่เหมือนกัน (alcohol metabolism)

ง่ายสุดที่เราทำได้ก็คือ ไม่เคยดื่มก็ไม่ต้องดื่ม หรือถ้าดื่มก็เป็นการดื่มเพื่อสุขภาพในปริมาณน้อยครับ



หมอดื้อ ชวนสายสุขภาพเปิดผลรายงานวิจัยสุดปัง กินเนื้อแดง เสี่ยงเกิดโรคเพียบ


 

logoline