svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

กรมควบคุมโรค เตือนภัยโรคฤดูร้อน เฝ้าระวังป่วยฮีทสโตรก-ไข้เลือดออก

10 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมควบคุมโรค ห่วงโรคที่มากับอากาศร้อน คือ ฮีทสโตรก โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และโรคไข้เลือดออก แนะประชาชนร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หลังพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเสียชีวิตทุกสัปดาห์

10 มีนาคม 2566 นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุถึงโรคภัยที่มากับช่วงหน้าร้อน โดยจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่า อุณหภูมิในปีนี้อาจสูงถึง 43 องศาเซลเซียส ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเป็นห่วงในสองโรคสำคัญ ที่จะมาในช่วงที่สภาพอากาศร้อน โดยเฉพาะโรคอาหารเป็นพิษ และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร รวมถึงโรคไข้เลือดออก ซึ่งในช่วงที่อากาศเริ่มร้อนพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเสียชีวิตเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 ราย และ ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด

สำหรับโรคอาหารเป็นพิษ หรือโรคอุจจาระร่วง โดยในช่วงหน้าร้อน เชื้อแบคทีเรียเติบโตได้ดีในอาหาร เกิดจากข้อมูลย้อนหลังรอบ 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีโอกาสเกิดโรคอาหารเป็นพิษที่สูงขึ้น โดยส่วนใหญ่พบใน กลุ่มเยาวชนที่เข้าค่าย และงานเลี้ยงในช่วงเทศกาลสงกรานต์

จึงอยากแนะนำให้ประชาชน ดูแลในเรื่องของสุขาภิบาลอาหาร รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ไม่รับประทานอาหารที่ทิ้งค้าง รวมถึง เรื่องของน้ำ ที่บางพื้นที่อาจอยู่ในภาวะขาดแคลนน้ำ น้ำอาจมีการปนเปื้อน และ อาจเกิดโรคที่มากับน้ำได้ ถังโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส

กรมควบคุมโรค เตือนภัยโรคฤดูร้อน เฝ้าระวังป่วยฮีทสโตรก-ไข้เลือดออก

นอกจากนี้อีกโรคที่สำคัญคือโรคไข้เลือดออก ที่ต้องมีการเตรียมการตั้งแต่ช่วงหน้าร้อน เนื่องจากช่วงปลายปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเมืองใหญ่โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล มีผู้เสียชีวิตจากโรคให้เลือดออกเกือบทุกสัปดาห์ 

สาเหตุปัญหาหลักมาจากแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่ไม่ได้มีการจัดการ รวมถึงมียุงอยู่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผู้ป่วยเข้าพื้นที่มีโอกาสที่จะเกิดการแพร่พันธุ์ของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงควรจัดการกับแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีน้ำขัง

กรมควบคุมโรค เตือนภัยโรคฤดูร้อน เฝ้าระวังป่วยฮีทสโตรก-ไข้เลือดออก

นพ.โสภณ ระบุว่า โรคฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด ที่มักพบผู้ป่วยในฤดูร้อน โดยเฉพาะในกลุ่มนักกีฬา ชาวไร่ชาวสวน และทหารที่ฝึก โดยก่อนที่จะออกกำลังกาย ก่อนออกแดด  และก่อนฝึกอาหาร ควรต้องพักผ่อนให้เพียงพอ และอยู่ในพื้นที่กลางแดดอย่างเหมาะสม ไม่นานเกินไป รวมถึงดื่มน้ำอย่างเพียงพอ 
       
ทั้งนี้ ฮีทสโตรก เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไป หรือสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้ โดยอาการสำคัญของโรค มักเกิดร่วมภาวะสับสน กระวนกระวาย เพ้อ และชักหรือหมดสติ ร่วมกับภาวะหัวใจเต้นเร็ว อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังแดงและร้อนแต่แห้ง
       
สำหรับการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นเมื่อมีอาการ สามารถทำได้ โดยพาผู้ป่วยเข้ามาในร่ม ถอดเสื้อผ้าและคลายเครื่องแต่งกายที่รัดแน่นเกินไป และอาจเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำเย็น ใช้ถุงน้ำแข็งวางบริเวณศีรษะ ลำคอ รักแร้ และขาหนีบ หากอาการไม่ดีขึ้นให้นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

กรมควบคุมโรค เตือนภัยโรคฤดูร้อน เฝ้าระวังป่วยฮีทสโตรก-ไข้เลือดออก

logoline