svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

รู้จักอาการ "Computer Vision Syndrome" (CVS) เตือนคนที่ติดหน้าจอเป็นเวลานาน

แพทย์เตือน หากใช้อุปกรณ์ดิจิตอลทุกวัน เสี่ยงเป็นโรค CVS หรือ Computer Vision Syndrome เตือนคนที่ติดหน้าจอเป็นเวลานาน แนะให้ดูแลสุขภาพดวงตา แบ่งเวลาการใช้ให้เหมาะสม

ยังไม่สายเกินไป!! ที่จะทำความรู้จักอาการ Computer Vision Syndrome (CVS) แพทย์ส่งคำเตือน สำหรับคนที่ติดหน้าจอเป็นเวลานาน โดย นายแพทย์ไพโรจน์  สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า

ยุคปัจจุบัน สังคมออนไลน์ มีการใช้สมาร์ทโฟนในการอัปเดตข้อมูลข่าวสารตลอดเวลา และต้องใช้สายตาในการจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ทำให้ผู้ที่ใช้จอเป็นประจำตกอยู่ในกลุ่มอาการทางตาที่เรียกว่า computer vision syndrome แม้ว่าจะไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง แต่ก็ทำให้เกิดความไม่สบายตา และเป็นปัญหาต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันได้

รู้จักอาการ \"Computer Vision Syndrome\" (CVS) เตือนคนที่ติดหน้าจอเป็นเวลานาน

แพทย์หญิงกนกทิพย์  มันตโชติ นายแพทย์ชำนาญการ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะ computer vision syndrome ที่เกิดจากการใช้สายตากับหน้าจออย่างต่อเนื่อง มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน อาจทำให้ตาแห้ง ต้องใช้ความพยายามในการโฟกัสมากขึ้น จึงทำให้สายตาเมื่อยล้า

เราสามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงภาวะ computer vision syndrome ได้ด้วย 5 วิธีการง่ายๆ ดังนี้  

1. กะพริบตาบ่อยๆ การนั่งจ้องหน้าจอนาน ๆ จะทำให้อัตราการกะพริบตาลดลงจาก 20 – 22 ครั้งต่อนาที เหลือเพียง 6 – 8 ครั้งต่อนาทีเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ตาแห้ง ดังนั้นจึงควรกะพริบตาให้บ่อยๆ หรืออาจใช้น้ำตาเทียมเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตาก็ได้


2. ปรับความสว่างของหน้าจอและห้องทำงานให้เหมาะสม และปรับเพิ่มความแตกต่างของสีระหว่างตัวอักษรกับพื้นจอภาพเพื่อให้อ่านง่าย ปรับความสว่างของหน้าจอให้สบายตา 


3. พักสายตาทุก ๆ ชั่วโมง โดยยึดหลัก “20 – 20 – 20” คือ การละสายตาจากหน้าจอ และมองออกไปไกลระยะ 20 ฟุต ทุก ๆ 20 นาที เป็นเวลา 20 วินาทีต่อครั้ง จะช่วยลดอาการตาล้าได้ 

รู้จักอาการ \"Computer Vision Syndrome\" (CVS) เตือนคนที่ติดหน้าจอเป็นเวลานาน
4. ปรับระดับการมองจอให้เหมาะสม โดยจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ควรห่างจากตาประมาณ 20-28 นิ้ว และต่ำลงจากระดับสายตาประมาณ 4-5 นิ้ว 

รู้จักอาการ \"Computer Vision Syndrome\" (CVS) เตือนคนที่ติดหน้าจอเป็นเวลานาน

5. ใส่แว่นแก้ไข หากสายตาผิดปกติ เพ่งหน้าจอนานๆ อาจทำให้ปวดตาได้ 
ดังนั้นจึงต้องแบ่งเวลาการใช้ให้เหมาะสม หากดวงตามีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาจักษุแพทย์ตรวจเช็กดวงตา เพื่อที่จะได้รับการรักษาได้ทันท่วงที

ทางด้านคุณหมอดังอีกท่าน นพ.เมธี อึ้งอาภรณ์ จากศูนย์การรักษา คลินิก หู คอ จมูก สาขาพญาไท นวมินทร์ แนะนำไว้ว่า 

วิธีป้องกัน หรือแก้ไขอาการ Computer Vision Syndrome

 

  • หลังจากใช้คอมพิวเตอร์ไปประมาณ 20 – 30 นาที ให้ละสายตาจากคอมพิวเตอร์ และมองออกไปไกลๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อตาได้ผ่อนคลาย และช่วยในกระพริบตามากขึ้น
  • ควรหยุดพักสายตาเป็นเวลา 2-4 นาที แล้วค่อยลืมตาขึ้นทำงานใหม่
  • กรณีตาแห้ง ใช้น้ำตาเทียมหยอดตา จะช่วยบรรเทาอาการปวดตาและแสบตาได้
  • ปรับแสงสว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ให้แสงจ้ามากเกินไป
  • ควรนั่งให้มีระยะห่างจากจอคอมพิวเตอร์กับดวงตา ประมาณ 40-50 ซม. และควรให้จุดกึ่งกลางของหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ต่ำกว่าระดับสายตา
  • ใส่แว่นตากรองแสงคอมพิวเตอร์ ช่วยลดแสงเข้าดวงตา ทำให้รู้สึกสบายตา

 
จักษุแพทย์ ชี้ 'ค่าสายตา' คนยุคดิจิทัลเปลี่ยนทุกปี เหตุจ้องหน้าจอไม่พัก

สิ่งหนึ่งที่บ่งชี้ถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีคือการมองเห็น เพราะทำให้การดำเนินชีวิตและทำกิจกรรมประจำวันต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่น องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยในรายงาน World report on vision 2022 ว่าจากจำนวน ผู้บกพร่องทางการมองเห็น 2.2 พันล้านคนมีประชากรอย่างน้อย 1 พันล้านคน หรือคิดเป็น 45% ของประชากรทั่วโลกที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นทั้งระยะใกล้และระยะไกลที่สามารถป้องกันได้หรือยังสามารถแก้ไขได้หากมีการตรวจพบอย่างทันท่วงที แต่สิ่งที่น่ากังวลคือจากนี้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า หลายประเทศจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการดูแล สุขภาพดวงตา ของประชากรมากขึ้นจากการเติบโตของประชากรสูงวัยและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต สู่โหมดดิจิทัล

สอดคล้องกับคำแนะนำจาก นพ.ศุภฤกษ์ ทิพาพงศ์ จักษุแพทย์ สาขาจอประสาทตาและวุ้นตา อาจารย์พิเศษสาขาจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และประธานกรรมการบริหารและจักษุแพทย์ประจำศุภฤกษ์ วิชชั่น เซ็นเตอร์ กล่าวว่า

พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนยุคนี้ใช้สายตาในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทั้งการทำงานที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ การพักผ่อนด้วยการดูโทรทัศน์เล่นเกมส์ และการเพ่งจอมือถือเพื่อสื่อสารตลอดเวลา ทำให้ปัจจุบันพบผู้ที่มีปัญหาสายตาเข้ามาขอรับคำปรึกษาจำนวนมาก การดูแล สุขภาพดวงตา จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย ควรตรวจสุขภาพตาและวัดค่าสายตาเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อค้นหาความผิดปกติของดวงตาและประสิทธิภาพของการมองเห็น หากเรามีวิธีดูแลสุขภาพดวงตาที่ยั่งยืนก็จะช่วยให้มีการมองเห็นที่ชัดเจนยืนยาว ชะลออายุดวงตาไม่ให้เสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร

 

รู้จักอาการ \"Computer Vision Syndrome\" (CVS) เตือนคนที่ติดหน้าจอเป็นเวลานาน

อายุเท่าไหร่ควรตรวจสุขภาพตา?

หากถามว่าควรตรวจสุขภาพตาตั้งแต่อายุเท่าไหร่ คงต้องบอกควรทำเป็นประจำ ตั้งแต่วัยเด็ก เพราะเด็กในปัจจุบันมีกิจกรรมที่ต้องใช้สายตาในระยะมองใกล้เยอะมาก เช่น การเรียนออนไลน์ ดูยูทูป เล่นเกมส์ ฯลฯ จึงควรตรวจวัดค่าสายตาเป็นประจำ เพราะหากมีความบกพร่องทางสายตาตั้งแต่เด็กก็อาจส่งผลถึงการเรียนในห้องเรียน การสังเกต การมองเห็น ทำให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ลดลง ส่วนในวัยผู้ใหญ่ก็ควรมีการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปี เพราะปัญหาสายตาที่พบบ่อย ในวัยเด็ก – 35 ปี คือ สายตาสั้นและตาแห้งจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ในช่วงวัย 40 ปี จะเริ่มมีสายตายาวและโรคต้อหิน ผู้ที่อายุมากกว่า 50-60 ปีมักจะพบโรคจอประสาทตาเสื่อม หรือในบางรายที่มีโรคประจำตัวเบาหวาน ก็ควรระวังโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถตรวจเช็คสุขภาพตาเบื้องต้นได้ที่ร้านแว่นตาชั้นนำที่มีการดูแล ให้คำปรึกษาเรื่องค่าสายตาและการถนอมดวงตาโดยจักษุแพทย์และนักทัศนมาตร

นวัตกรรมการตรวจ สุขภาพดวงตา และการวัดค่าสายตาถูกปรับเปลี่ยนมาสู่รูปแบบ Digital Technology ในชื่อ Vision R800 ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ออกแบบมาสำหรับค่าสายตา ‘เฉพาะบุคคล’ ทำให้การมองเห็นเป็นธรรมชาติเสมือนจริง ซึ่งปัจจุบันร้านแว่นตาชั้นนำในประเทศไทยมีเครื่องมือตรวจวัดค่าสายตาที่สามารถอ่านค่าสุขภาพตาเบื้องต้นได้ โดยก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพตาสามารถทำ ‘Check List โรคของดวงตาที่พึงระวัง’ เพื่อเป็นจุดสังเกตในการขอรับคำปรึกษา ดังนี้

  • ปัญหาเรื่องเยื่อบุตา: ต้อลม ต้อเนื้อ
  • ปัญหากระจกตาผิดปกติ: กระจกตาย้วย แผลเป็นของกระจกตา
  • ช่องหน้าลูกตาอยู่ในเกณฑ์ปกติไหม คัดกรองภาวะต้อหินมุมปิด
  • ปัญหาเลนส์ตา: ภาวะต้อกระจก
  • ปัญหาจอประสาทตา: ภาวะจอประสาทตาเสื่อม เบาหวานขึ้นจอประสาทตา

    นพ.ศุภฤกษ์ ทิพาพงศ์ 

 

 

 

 

นพ.ศุภฤกษ์ กล่าวเสริมว่า หากสุขภาพตาเราปกติดีแล้ว ลำดับต่อไปคือ การวัดค่าสายตา ซึ่งเราวัดค่าสายตาปัจจุบันเพื่อเทียบกับค่าสายตาเดิมว่ามีแนวโน้มค่าสายตาที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ และรับคำปรึกษาเรื่องเลนส์ที่ใส่แล้วมองเห็นชัด สบายตา ตรงตามค่าสายตาแท้จริงเรามากที่สุด

การวัดค่าสายตาเพื่อตัดแว่น “แบบเฉพาะบุคคล” ด้วยเครื่องวัดสายตา Vision R 800 นี้ ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในเมืองไทยได้ประมาณ 2-3 ปี สามารถวัดค่าสายตาได้ความละเอียดมากถึง 0.01 ไดออปเตอร์หรือ 25 เท่า ผนวกกับเลนส์สายตาก็มีเทคโนโลยีที่รองรับความละเอียดระดับนี้แล้ว
 

การตรวจสุขภาพตาเป็นประจำอย่างนี้ทุกปี จะทำให้เราช่วยป้องกันโรคทางตาที่จะเกิดขึ้นกับเราได้ หากเราพบสาเหตุโรคทางตาเราจะได้แก้ไขหรือปรึกษากับจักษุแพทย์ได้ทันเวลา