svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

ไขข้อสงสัย ต้องรับมือและดูแลตัวเองอย่างไร ในภาวะ PM2.5 สูง

03 กุมภาพันธ์ 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อีกหนึ่งคำถามคาใจในยุคฝุ่น PM2.5 มาแรง เราทุกคนในสังคมไทยวันนี้ จะต้องรับมือและดูแลตัวเองอย่างไร ในภาวะ PM2.5 สูงเช่นนี้ เพื่อความปลอดภัยของคนที่เรารัก ตรงนี้มีคำตอบ 

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศ กรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ประจำวันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 07.00 น. พบว่า ดัชนีคุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในระดับ คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศ กรุงเทพมหานคร จึงขอแนะนำ ประชาชนวางแผนการทำงาน วางแผนการเดินทาง การทำกิจกรรม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ "เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ" และ "มีผลกระทบต่อสุขภาพ" ควรลดระยะเวลา หรืองดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง 

ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน70 พื้นที่

ไขข้อสงสัย ต้องรับมือและดูแลตัวเองอย่างไร ในภาวะ PM2.5 สูง

ไขข้อสงสัย ต้องรับมือและดูแลตัวเองอย่างไร ในภาวะ PM2.5 สูง

สำหรับค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ "PM2.5" ตรวจวัดได้ 61-105 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่า เกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 70 พื้นที่ มีดังนี้

1.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 105 มคก./ลบ.ม.
2.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 104 มคก./ลบ.ม.
3.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 103 มคก./ลบ.ม.
4.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 101 มคก./ลบ.ม.
5.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 101 มคก./ลบ.ม.
6.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 100 มคก./ลบ.ม.
7.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 95 มคก./ลบ.ม.
8.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 93 มคก./ลบ.ม.
9.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 92 มคก./ลบ.ม.
10.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 91 มคก./ลบ.ม.

ไขข้อสงสัย ต้องรับมือและดูแลตัวเองอย่างไร ในภาวะ PM2.5 สูง

ไขข้อสงสัย ต้องรับมือและดูแลตัวเองอย่างไร ในภาวะ PM2.5 สูง

ไขข้อสงสัย ต้องรับมือและดูแลตัวเองอย่างไร ในภาวะ PM2.5 สูง
11.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 91 มคก./ลบ.ม.
12.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 90 มคก./ลบ.ม.
13.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 90 มคก./ลบ.ม.
14.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 90 มคก./ลบ.ม.
15.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 90 มคก./ลบ.ม.
16.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 89 มคก./ลบ.ม.
17.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 89 มคก./ลบ.ม.
18.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 89 มคก./ลบ.ม.
19.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 88 มคก./ลบ.ม.
20.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 88 มคก./ลบ.ม.
21.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 88 มคก./ลบ.ม.
22.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 87 มคก./ลบ.ม.
23.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 87 มคก./ลบ.ม.
24.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 87 มคก./ลบ.ม.
25.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 87 มคก./ลบ.ม.

ไขข้อสงสัย ต้องรับมือและดูแลตัวเองอย่างไร ในภาวะ PM2.5 สูง

ไขข้อสงสัย ต้องรับมือและดูแลตัวเองอย่างไร ในภาวะ PM2.5 สูง

26.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม.
27.เขตบางบอน ใกล้ตลาดสุขสวัสดี : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม.
28.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม.
29.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 84 มคก./ลบ.ม.
30.เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 83 มคก./ลบ.ม.
31.เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม.
32.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม.
33.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม.
34.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม.
35.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 81 มคก./ลบ.ม.
36.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 81 มคก./ลบ.ม.
37.สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 81 มคก./ลบ.ม.
38.เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 81 มคก./ลบ.ม.
39.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 80 มคก./ลบ.ม.
40.อุทยานเบญจสิริ (สวนเบญจสิริ) เขตคลองเตย เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 80 มคก./ลบ.ม.
41.เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 79 มคก./ลบ.ม.
42.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 79 มคก./ลบ.ม.
43.เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 79 มคก./ลบ.ม.
44.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 78 มคก./ลบ.ม.
45.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 78 มคก./ลบ.ม.
46.เขตราชเทวี ภายในสำนักงานเขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 78 มคก./ลบ.ม.
47.เขตสวนหลวง ด้านหน้าสำนักงานเขตสวนหลวง : มีค่าเท่ากับ 77 มคก./ลบ.ม.
48.เขตวัฒนา ตรงข้าม noble Reveal(ข้าง MK gold restaurants) : มีค่าเท่ากับ 76 มคก./ลบ.ม.
49.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค เขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 76 มคก./ลบ.ม.
50.สวนหนองจอก เขตหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 75 มคก./ลบ.ม.
51.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 75 มคก./ลบ.ม.
52.สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน เขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 75 มคก./ลบ.ม.
53.เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 75 มคก./ลบ.ม.
54.สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 75 มคก./ลบ.ม.
55.เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต : มีค่าเท่ากับ 75 มคก./ลบ.ม.
56.สวนสันติภาพ เขตราชเทวี เขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 74 มคก./ลบ.ม.
57.เขตบางกะปิ ข้าง ป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 74 มคก./ลบ.ม.
58.เขตลาดพร้าว ภายในสำนักงานเขตลาดพร้าว : มีค่าเท่ากับ 73 มคก./ลบ.ม.
59.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ เขตประเวศ : มีค่าเท่ากับ 71 มคก./ลบ.ม.
60.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 71 มคก./ลบ.ม.
61.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 71 มคก./ลบ.ม.
62.สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 70 มคก./ลบ.ม.
63.เขตห้วยขวาง ภายในสำนักงานเขตห้วยขวาง (ด้านข้างโรงเพาะชำ) ถนนประชาอุทิศ : มีค่าเท่ากับ 69 มคก./ลบ.ม.
64.สวนจตุจักร เขตจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 68 มคก./ลบ.ม.
65.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 67 มคก./ลบ.ม.
66.เขตสะพานสูง ภายในสำนักงานเขตสะพานสูง : มีค่าเท่ากับ 67 มคก./ลบ.ม.
67.สวนลุมพินี เขตปทุมวัน เขตปทุมวัน : มีค่าเท่ากับ 67 มคก./ลบ.ม.
68.สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม เขตบางคอแหลม : มีค่าเท่ากับ 66 มคก./ลบ.ม.
69.สวนพระนคร เขตลาดกระบัง เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 65 มคก./ลบ.ม.
70.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.
 

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา) คาดว่าอัตราการระบายอากาศในช่วงวันที่ 31 ม.ค.- 6 ก.พ. 66 จะไม่ดี เนื่องจากเพดานอากาศต่ำ เกิดสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับในช่วงวันที่ 4-6 ก.พ.66 คาดว่าอัตราการระบายอากาศ ดี/อ่อน มีฝนบางพื้นที่ จากทิศใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยพัดเข้ามาปกคลุมแทนที่ลมหนาว

ช่วงวันที่ 2 - 4 ก.พ. 2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลควรเฝ้าระวังการสะสมของฝุ่นละออง เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่ง และปิด โดยพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพกลาง กรุงธนเหนือ และกรุงธนใต้ (พื้นที่ท้ายลม) ** ‼️‼️

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร

แจ้งเตือนรวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง

  • แอปพลิเคชัน AirBKK
  • www.airbkk.com
  • www.pr-bangkok.com
  • FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
  • FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
  • FB: กรุงเทพมหานคร

เพื่อให้ประชาชนวางแผนการทำงาน การทำกิจกรรมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ/มีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรลดระยะเวลา หรืองดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
ทั้งนี้ กรณีประชาชนพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแส ผ่านทาง Traffy Fondue
.

ฝุ่น PM 2.5 วันนี้ ตามข้อมูลระบุว่า อันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูง (AQI) 1-10 ของโลก (อัพเดต ณ เวลา 07.00 น.วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566) ข้อมูลจาก IQAir มีดังต่อไปนี้ 

คูเวต ซิตี้ ประเทศคูเวต ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 196 AQI
ฉงชิ่ง ประเทศจีน ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 193 AQI
มุมไบ ประเทศอินเดีย ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 186 AQI
ลาฮอร์ ประเทศปากีสถาน ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 186 AQI
การาจี ประเทศปากีสถาน ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 186 AQI
อัสตานา ประเทศคาซัคสถาน ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 185 AQI
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 183 AQI
คาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 176 AQI
สโกเปีย ประเทศนอร์ทมาซิโดเนีย ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 175 AQI
เดลี ประเทศอินเดีย ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 171 AQI

ไขข้อสงสัย ต้องรับมือและดูแลตัวเองอย่างไร ในภาวะ PM2.5 สูง

ไขข้อสงสัย ต้องรับมือและดูแลตัวเองอย่างไร ในภาวะ PM2.5 สูง

'อธิบดีกรมคุมมลพิษ' ขึ้นเหนือจัดการฝุ่นควันไฟป่า รับปี 66 งานหนัก!!

ความคืบหน้าล่าสุด ในวันนี้ (3 ก.พ. 2566) ที่ ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จังหวัดเชียงใหม่ นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ พร้อมคณะ มาประชุม เพื่อรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาระบบการตัดสินใจในการจัดการไฟในที่โล่ง ด้วยระบบ Fire D ระดับจังหวัดและท้องถิ่น โดยมีนายเดโช ไชยทัพ สมาคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภาคเหนือ พร้อมด้วยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาองค์กรชุมชนและเครือข่ายระดับพื้นที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก่อนจะลงพื้นที่ไปที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จุดต้นแบบของการบริหารจัดการไฟป่าในกระบวนการต้นแบบเพื่อต่อยอดขยายผล

ทางด้าน อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า สาเหตุของปัญหามลพิษที่เกิดขึ้น มีหลายปัจจัย มีความแตกต่างไปตามสภาพแวดล้อมและพื้นที่ ชุมชนเมือง เช่น กรุงเทพมหานครก็จะมีปัญหาเรื่องมลพิษจากการจราจร สภาพสังคมเมือง ขณะที่ต่างจังหวัดก็จะมีเรื่องของการจัดการเชื้อเพลิงภาคการเกษตร การเผาในที่โล่งและพื้นที่ป่า เช่นที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือเวลานี้ โดยยอมรับว่า ปีนี้สถานการณ์ค่อนข้างน่ากังวล จากบริบทปัจจัยในด้านต่างๆ ทั้งอากาศหนาวนาน แห้งแล้งการสะสมของปริมาณเชื้อเพลิง วิถีชีวิตซึ่งก็เห็นได้ชัดเจนว่า

ปัญหาเหล่านี้ยังคงทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ล่าสุดมลพิษทางอากาศก็เกินค่ามาตรฐานสูงขึ้นต่อเนื่อง การเข้าพื้นที่เชียงใหม่วันนี้นอกจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบการตัดสินใจการจัดการไฟในที่โล่งด้วยระบบ Fire D แล้วยังจะได้ประสบการณ์ในด้านอื่นๆเพื่อที่จะนำไปสู่การพัฒนาขยายผลต่อยอดในพื้นที่ต่างๆ โดยปัจจุบันหลายหน่วยงานได้มีการบูรณาการความร่วมมือเพื่อป้องกันแก้ไข ลดปัญหาและบรรเทาผลกระทบ สร้างความตระหนักร่วมกันทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ขณะที่ นายเดโช กล่าวว่า ที่ผ่านมาภาคประชาชนในพื้นที่ได้มีการทำงานกันอย่างหนักภายใต้ภาวะปัจจัยที่เกิดขึ้น สิ่งที่เป็นโจทย์สำคัญและท้าทายที่จะช่วยกันเวลานี้คือ อำนาจบริหารจัดการจากการถ่ายโอนภารกิจ ฐานความรู้ ขยายผลความร่วมมือและงบประมาณสนับสนุนเพื่อบูรณาการ ตามเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ แต่การจัดการในแต่ละพื้นที่ก็มีความต่างกัน การได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยกันจะสามารถสร้างความร่วมมือแก้ไขได้ยั่งยืน

โดยการประชุมครั้งนี้ แต่ละองค์กรได้มีการถ่ายทอดเพื่อการเรียนรู้แลกเปลี่ยนเรื่องของการบริหารจัดการไฟป่าของจังหวัด รวมทั้งหน่วยงานในส่วนของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตัวแทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นักวิชาการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการกระจายอำนาจ สภาลมหายใจจังหวัดเชียงใหม่ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สสส. และเครือข่ายภาคประชาชนในนามของสมาคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภาคเหนือ สภาองค์กรชุมชน ก่อนที่จะเดินทางเข้าพื้นที่ เพื่อดูการบริหารจัดการไฟป่าของท้องถิ่นท้องที่และชุมชนที่บ้านเชิงดอย ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง พร้อมร่วมกันทำแนวกันไฟ การลดเชื้อเพลิงและการจัดการในจุดต้นแบบที่บ้านเชิงดอย ก่อนที่จะมีการสรุปเพื่อยกระดับการแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

อีกหนึ่งแนวทางดี ๆ ที่หยิบยกมาฝากคอข่าว และคนรักษ์สุขภาพในยุค PM2.5 หรือจะเรียกว่าในยุคฝุ่นพิษกำลังคุกคามเราทุกคน จะมีวิธีการรับมือหรือแนวทางในการดูแลตนเองและคนี่เารักอย่างไร ให้ห่างไกลและปลอดภัยจากฝุ่นพิษ ฝุ่น PM2.5 ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความเสี่ยงน้อยที่สุด

เนชั่นออนไลน์ ขอนำสาระดี ๆ แนวทางในการดูแลตนเองในช่วงนี้มาฝากทุกคนตรงนี้
 
อ.ผญ.ภัทรวลัย สิรินารา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้เผยสาระความรู้ดีๆ ในการดูแลตนเองและวิธีรับมือฝุ่น PM2.5 มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ระบุไว้ดังนี้ 

  • ใส่หน้ากากประเกทที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอนได้ เช่น หน้ากาก N95 ที่ได้มาตรฐาน
  • หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งในบริเวณที่คมลพิษอากาศสูง
  • งดการออกกำลังกายกายนอกตัวอาคาร เช่น งดวิ่งในสวนสาธารณะชั่วคราว ให้เปลี่ยนมา ออกกำลังกายภายในตัวอาคารแทน
  • หมั่นตรวจตราไม่เปิดหน้าต่างในช่วงภาวะ PM 2.5 สูง เพื่อป้องการฝุ่น PM2.5 จากภายนอกเข้ามาในตัวอาคาร
  • ช่วยกันงดการเผาไหม้ที่ “ไม่” สมบูรณ์ เช่น งดจุดเทียนในตัวอาคาร และนอกตัวอาคารงดการเผาในที่โล่ง งดใช้รถดีเซลที่ปล่อยควันดำ
  • กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ กลุ่มผู้สูงอายุและเด็ก

ไขข้อสงสัย ต้องรับมือและดูแลตัวเองอย่างไร ในภาวะ PM2.5 สูง

ปิดท้ายความห่วงใยในเรื่องฝุ่น หยิบยกมาจากบทความดีๆ จาก กองบรรณาธิการ กรุงเทพธุรกิจ ที่ได้ตอกย้ำ เรื่องฝุ่น ไว้อย่างน่าสนใจ นำมาฝากคอข่าวเนชั่นออนไลน์ อีกครั้ง 

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 กลับมาอีกแล้วซึ่งไม่ได้มีแค่กรุงเทพฯ แต่กระทรวงสาธารณสุขเตือนวานนี้ (2 ก.พ.) 14 จังหวัดน่าห่วง ค่าฝุ่น PM 2.5 เกิน 51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ติดต่อกันเกิน 3 วัน หรือที่เรียกว่า พื้นที่สีแดง

เปิดดูดัชนีคุณภาพอากาศจาก เว็บไซต์ iqair.com เมื่อเวลา 16.35 น. กรุงเทพฯ หลุดท็อปเท็นมาอยู่ในอันดับ 12 ระดับวัดค่าได้ 157 ไม่ห่างกันคือเชียงใหม่ อันดับ 14 วัดได้ 153 ส่วนอันดับ 3 ที่ไทยเคยครอง (ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าภูมิใจ) ตกเป็นของกรุงฮานอย เวียดนาม วัดค่าได้ 172 สำหรับสาเหตุของฝุ่นกรุงเทพฯ อธิบายได้ว่ามาจากหลายปัจจัย

  • ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากจีนอ่อนกำลังลง เมื่อลมสงบอากาศจึงระบายได้ยาก
  • ความชื้นในอากาศเพิ่ม ฝุ่นละอองเมื่อมาเจอความชื้นเข้าก็กลายเป็นหมอกควัน 
  • รถยนต์เพิ่ม
  • โรงงานเพิ่ม ปัจจัยเหล่านี้เดากันได้ไม่ยาก หากเป็นต่างจังหวัดก็ต้องเพิ่มปัจจัยเรื่องการเผาทางการเกษตรเข้ามาด้วย 

หากมองในต่างประเทศเมื่อพูดถึงปัญหามลพิษทางอากาศที่เห็นเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ หนีไม่พ้นจีนและอินเดีย เรื่องนี้เห็นที่ต้องถอดบทเรียนจากต่างประเทศ

รัฐบาลจีน นั้นประกาศทำสงครามกับมลพิษในปี 2556 ทุ่มงบประมาณนับแสนล้านดอลลาร์ทำอากาศให้สะอาด ทางการกรุงปักกิ่งควบคุมการปล่อยมลพิษของโรงงาน ห้ามรถเก่าวิ่งบนถนน เปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติแทนถ่านหิน แม้มีเรื่องให้ต้องทำอีกมากแต่ความพยายามที่ว่านับว่าได้ผล นับตั้งแต่เริ่มรณรงค์กรุงปักกิ่งมีวันที่ท้องฟ้าสดใสมากกว่า 100 วัน ได้ยินอย่างนี้ก็พลอยดีใจไปด้วย  เห็นได้ว่าการแก้ปัญหาฝุ่นของจีนทำทั้งในระดับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น

สำหรับ กทม. ผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ใช้มาตรการทำงานที่บ้าน Work from home เพราะเป็นการลดผลกระทบ ลดการเคลื่อนที่ ฝุ่นจากการจราจร และช่วยปกป้องสุขภาพของประชาชนไม่ต้องเสี่ยงออกไปพื้นที่โล่งและมีฝุ่น

ปรากฏการณ์ฝุ่นเกิดขึ้นตามฤดูกาล หน้าหนาวทีก็บ่นกันที การแก้ปัญหาเหมือนกับทำไปเฉพาะหน้าให้ผ่านพ้นไปในแต่ละวัน พอเข้าหน้าร้อนมีเรื่องภัยแล้งเข้ามา ปัญหาฝุ่นถูกกลบด้วยเรื่องอื่นทั้งๆ ที่ในภาพรวมล้วนเป็นเรื่องของสภาพแวดล้อมที่ถูกซ้ำเติมด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การแก้ปัญหาจึงต้องมีนโยบายที่เป็นองค์รวม มองยาว มองไกล ประสานหลายหน่วยงาน ปัญหาของเมืองใหญ่คือมลพิษจากยานพาหนะ ถึงเวลาหรือยังที่ต้องคิดเรื่องการเปลี่ยนจากรถเครื่องยนต์สันดาปภายในใช้น้ำมันไปหายานยนต์พลังงานไฟฟ้า กรณีกรุงปักกิ่ง 10 ปีสภาพอากาศดีขึ้นมาก การแก้ไขของไทยจึงต้องเริ่มเสียแต่วันนี้ อย่าปล่อยให้ต้องบ่นกันทุกปี เวลา 10 ปีนั้นไม่นานเลยและถ้าทุกฝ่ายเอาใจอาจแก้ปัญหาได้เร็วกว่านั้นก็ได้

ส่วนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กลับไปเวิร์กฟรอมโฮมอีกครั้งก็น่าจะดี ไหนๆ เราก็คุ้นชินกันมาแล้วตอนโควิด-19 ระบาด ถ้าทำงานที่บ้านแล้วเสี่ยงเจอฝุ่นน้อยก็น่าทำ โควิด-19 คนไทยมีภูมิคุ้มกันหมู่แล้ว แต่ PM 2.5 ไม่มีภูมิคุ้มกันหมู่ มีแต่จะตายผ่อนส่ง 

ขอขอบคุณที่มา : อ.ผญ.ภัทรวลัย สิรินารา

 

logoline