svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

อึ้ง! น้ำแข็งในแอนตาร์กติกาละลายหายไปกว่า 2.6 ล้าน ตร.กม. หรือมากกว่าไทยอินโดนีเซียรวมกัน

07 กรกฎาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

NOAA รายงานเกี่ยวกับความผิดปกติของปริมาณน้ำแข็งในขั้วโลกใต้ ซึ่งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาน้ำแข็งในขั้วโลกใต้มีปริมาณขอบเขตต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยน้ำแข็งในมหาสมุทรแอนตาร์กติกาหายไปมากกว่า 2.6 ล้านตารางกิโลเมตร

อีกหนึ่งความเคลื่อนไหว The National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) หรือ หน่วยงานด้านชั้นบรรยากาศและมหาสมุทรศาสตร์ รายงานเกี่ยวกับความผิดปกติของปริมาณน้ำแข็งในขั้วโลกใต้ ซึ่งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาน้ำแข็งในขั้วโลกใต้มีปริมาณขอบเขตต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

โดยน้ำแข็งในมหาสมุทรแอนตาร์กติกาหายไปมากกว่า 2.6 ล้านตารางกิโลเมตร หรือเทียบเท่าพื้นที่มากกว่าครึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  อึ้ง! น้ำแข็งในแอนตาร์กติกาละลายหายไปกว่า 2.6 ล้าน ตร.กม. หรือมากกว่าไทยอินโดนีเซียรวมกัน

รายงานของ NOAA ยังเผยอีกว่า

นักวิทยาศาสตร์วิตกกังวล เกี่ยวกับการละลายของน้ำแข็งในขั้วโลกใต้เป็นอย่างมาก ทั้งๆ ที่ช่วงนี้เป็นช่วงของการเติบโตของน้ำแข็งซึ่งจะเริ่มขยายตัวจนถึงขีดสุด 18.4 ล้านตารางกิโลเมตรในช่วงกลางเดือนกันยายน แต่ปริมาณน้ำแข็งมันหายไปในปริมาณมหาศาล

นี่อาจเป็นสัญญาณบางอย่างจากโลกหรือเปล่า?

อึ้ง! น้ำแข็งในแอนตาร์กติกาละลายหายไปกว่า 2.6 ล้าน ตร.กม. หรือมากกว่าไทยอินโดนีเซียรวมกัน

หน่วยงานด้านชั้นบรรยากาศและมหาสมุทรศาสตร์ หรือ NOAA เผยถึงปริมาณน้ำแข็งในขั้วโลกใต้หายไปมากมหาศาลถึง 1 ล้านตารางไมล์ หรือ 2.6 ล้านตารางกิโลเมตร เทียบให้เห็นภาพง่ายๆ คือมากกว่าประไทยและอินโดเซียรวมกันเสียอีก เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปี 1981-2010

นักวิทยาศาสตร์กังวลว่า นี่อาจเป็นสัญญาณของภาวะโลกรวน ซึ่งถือว่าปรากฎการณ์นี้ผิดปกติเป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วงเวลานี้ทวีปแอนตาร์กติกาเป็นฤดูหนาวเป็นช่วงที่มีการสะสมของน้ำแข็งในปริมาณมาก แต่กลับกลายเป็นว่าปริมาณน้ำแข็งมันหายไปอย่างน่าตกใจ
อึ้ง! น้ำแข็งในแอนตาร์กติกาละลายหายไปกว่า 2.6 ล้าน ตร.กม. หรือมากกว่าไทยอินโดนีเซียรวมกัน

จากพฤติกรรมอันไม่ปกติของน้ำแข็งในขั้วโลกใต้ การสูญเสียน้ำแข็งในขั้วโลกใต้อย่างรวดเร็ว อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อลักษณะภูมิประเทศของทวีปแอนตาร์กติก ระบบนิเวศบริเวณขั้วโลกใต้ รวมถึงส่งผลกระทบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ยังต้องทำการศึกษาภูมิภาคนี้อีกมาก เนื่องจากขั้วโลกใต้อยู่ห่างไกลทำให้งานศึกษาวิจัยยังมีไม่มากนัก

ขอขอบคุณที่มา :  Discover Magazine / Live Science

logoline