svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

เสื้อผ้ารักษ์โลกมาแรง! สนค. หนุนภาคธุรกิจปรับตัว ชี้โตเฉลี่ยปีละ 10.7%

15 มิถุนายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สนค. หนุนภาคธุรกิจ ลุยตลาดเสื้อผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศคู่ค้ารับ BCG Model ด้วยวัสดุสิ่งทอรีไซเคิล ชี้ตลาดโตต่อเนื่องคาด ปี 2575 มีมูลค่าตลาด 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า สนค. ได้ติดตามแนวโน้ม ความต้องการเสื้อผ้า ที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิล (Textile recycling) ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ตามความต้องการของผู้บริโภค โดยวัสดุที่นำมารีไซเคิลมีทั้งสิ่งทอก่อนการใช้งาน เช่น เศษด้ายหรือผ้าเหลือใช้ในโรงงาน และสิ่งทอหลังการใช้งาน เช่น เสื้อผ้าเก่าและของใช้ในบ้าน

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

สำหรับตลาดเสื้อผ้าที่ทำมาจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิลของโลกมีมูลค่าประมาณ 5.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2565 และ คาดว่าจะเติบโตได้ถึง 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2575 หรือมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึง 10.7% ต่อปี

เสื้อผ้ารักษ์โลกมาแรง! สนค. หนุนภาคธุรกิจปรับตัว ชี้โตเฉลี่ยปีละ 10.7%  

สาเหตุที่หลายภาคส่วน หันมาผลิตเสื้อผ้าจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิลเพิ่มขึ้น เนื่องจากการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแบบเดิมส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม โดยการผลิตสิ่งทอทั้งโลกมีการใช้น้ำประมาณ 9.3 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มมีการปล่อยน้ำเสีย 20% ของการปล่อยน้ำเสียทั่วโลก

เสื้อผ้ารักษ์โลกมาแรง! สนค. หนุนภาคธุรกิจปรับตัว ชี้โตเฉลี่ยปีละ 10.7%

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 1.7 พันล้านตันต่อปี หรือคิดเป็น 8-10% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก  ซึ่งมากกว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากอุตสาหกรรมการบิน และ การขนส่งทางทะเลรวมกัน ดังนั้นหากมีการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภค อาจจะก่อให้เกิดมลพิษจากการผลิตและกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ปัจจุบันบริษัทเสื้อผ้าชั้นนำ เห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการลงนาม ใน กฎบัตรสหประชาชาติด้านอุตสาหกรรมแฟชั่น ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Fashion Industry Charter for Climate Action) โดยมีเป้าหมาย ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ส่งผลให้ผู้ผลิตเสื้อผ้าปรับเปลี่ยนการออกผลิตภัณฑ์ ที่ทำมาจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิลเพิ่มขึ้น

อาทิ สหรัฐอเมริกา แบรนด์ Patagonia ซึ่งผลิตเสื้อผ้าสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง มีเสื้อผ้า 70% ที่ทำมาจากวัสดุรีไซเคิล สวีเดน แบรนด์ H&M และ ญี่ปุ่น แบรนด์ UNIQLO มีการรับเสื้อผ้าที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการรีไซเคิล เพื่อนำกลับมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้าใหม่ 

ในส่วนประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่า มูลค่าตลาดเสื้อผ้า ที่ทำมาจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิลปี 2575 จะอยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท หรือประมาณ 0.5% ของมูลค่าตลาดเสื้อผ้าทั้งหมดของไทย  โดยมีผู้ประกอบการไทยหลายรายปรับตัวมาผลิตเสื้อผ้าจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิล อาทิ แบรนด์ Circular ได้นำเศษผ้าและเสื้อผ้าเก่าไปแปลงสภาพเป็นสิ่งทอรีไซเคิลที่นำไปผลิตเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า และเฟอร์นิเจอร์

เสื้อผ้ารักษ์โลกมาแรง! สนค. หนุนภาคธุรกิจปรับตัว ชี้โตเฉลี่ยปีละ 10.7%

เพื่อขายทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงแบรนด์ Moreloop ที่เป็นบริษัทสตาร์ทอัพ ได้นำผ้าที่เหลือจากกระบวนการผลิตของโรงงานเสื้อผ้ามาผลิตเป็นเสื้อผ้าและกระเป๋า อีกทั้งยังนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อเป็นตัวกลางระหว่างโรงงานที่ต้องการขายผ้าเหลือ และผู้ซื้อต้องการผ้าในตลาดออนไลน์

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกสิ่งทอรีไซเคิล สามารถดำเนินการจัดทำมาตรฐานที่ทั่วโลก
ให้การยอมรับ ซึ่งโดยส่วนใหญ่อยู่บนหลัก ความสมัครใจ อาทิ Global Recycle Standard (GRS) คือ มาตรฐานระหว่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากองค์กรด้านสิ่งทอในต่างประเทศ เพื่อบ่งบอกว่าบริษัทผลิตสินค้าที่มาจากการรีไซเคิลที่ยั่งยืน

สำหรับกระทรวงพาณิชย์ ให้ความสำคัญกับนโยบายที่เกี่ยวกับการค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ การพัฒนาสินค้าบนพื้นฐาน BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งเป็นแนวคิดการลดขยะและมลพิษ รวมทั้งการหมุนเวียนวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ อาทิ โครงการพัฒนาสินค้าผ้าไทยสู่ตลาดโลกด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) ที่นำเศษผ้าจากการตัดและทอผ้ามาเรียงสีแล้วนำไปทอใหม่ก่อนนำไปตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า

นอกจากนี้ ยังมีโครงการ Local+ (โลคัล พลัส) ที่ผลักดันสินค้าท้องถิ่นที่รักษาสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาและมีนวัตกรรม ตัวอย่างเช่น การพัฒนาเสื้อผ้า “ผ้ามัดย้อมมูลวัว” ที่นำมูลวัวมาเป็นน้ำย้อมผ้า นับเป็นการนำของเสียมาแปรรูปให้เกิดมูลค่า ซึ่งถือเป็นการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

เสื้อผ้ารักษ์โลกมาแรง! สนค. หนุนภาคธุรกิจปรับตัว ชี้โตเฉลี่ยปีละ 10.7%

 

 

 

logoline