svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

วิทยาศาสตร์การให้ดอกไม้ ทำไมเราจึงมีความสุขเมื่อได้รับดอกไม้

13 กุมภาพันธ์ 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การให้ดอกไม้ช่วยสร้างความประทับใจและความรู้สึกดีๆ ให้กับผู้รับชนิดที่ประเมินค่าไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์แบบไหน แต่เพราะอะไร ดอกไม้จึงสามารถสร้างความรู้สึกดีๆ แบบนี้ได้ เราลองมาหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์กัน

มนุษย์มอบดอกไม้ให้แก่กันเพื่อเป็นการแสดงความรักและความห่วงใยมานานตั้งแต่สมัยที่เราเริ่มมีอารยธรรม ซึ่งแน่นอนว่าดอกไม้เป็นสิ่งสวยงามจากธรรมชาติที่แค่ได้เห็นก็รู้สึกทำให้จิตใจเบิกบาน แต่ผลสำรวจทางวิทยาศาสตร์พบว่า เมื่อเราอยู่ใกล้ๆ ดอกไม้ สมองจะหลั่งสาร “โดปามีน” ออกมา ซึ่งเป็นสารเคมีสื่อประสาทที่จะหลั่งออกมามากเป็นพิเศษเมื่อเรามีความสุขหรือพึงพอใจที่ทำอะไรได้สำเร็จ

 

นอกจากนี้ กลิ่นของดอกไม้ โดยเฉพาะดอกกุหลาบ เป็นตัวกระตุ้นให้สมองหลั่งสาร “เซโรโทนิน” ที่ช่วยสร้างอารมณ์ในทางบวก เช่น ความสุข ความสงบ และความใจเย็น

วิทยาศาสตร์การให้ดอกไม้ ทำไมเราจึงมีความสุขเมื่อได้รับดอกไม้ ดอกไม้ยังเป็นตัวเชื่อมให้มนุษย์รู้สึกว่าได้อยู่ใกล้ธรรมชาติมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่อยู่ในเมือง และห่างเหินจากธรรมชาติมานาน การได้รับดอกไม้มาอยู่ในมือ หรือมีดอกไม้วางอยู่ในห้อง ทำให้เรารู้สึกเข้าใกล้ธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งช่วยให้เรารู้สึกสงบและผ่อนคลาย

 

หากนำดอกไม้ไปวางไว้ในที่ทำงาน จะช่วยทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือหากนำดอกไม้ไปวางไว้ในห้องของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ก็มีส่วนช่วยในเรื่องของการฟื้นตัว

วิทยาศาสตร์การให้ดอกไม้ ทำไมเราจึงมีความสุขเมื่อได้รับดอกไม้ ในปี 2005 ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา จีนเนตต์ ฮาวิแลนด์-โจนส์ ของมหาวิทยาลัยรุตเกอร์ ในสหรัฐฯ ได้ทำการวิจัยเพื่อหาจุดเกี่ยวข้องของการให้ดอกไม้กับความสุขของมนุษย์ โดยผลวิจัยพบว่า คนทุกคน ไม่ว่าจะเพศไหน อายุเท่าไร ต่างมีความสุขและตื่นเต้นที่ได้รับดอกไม้ และความรู้สึกนี้อยู่นานถึง 3 วัน หลังจากวันที่ได้รับดอกไม้จากใครสักคน

 

ในโลกที่ไม่เคยหยุดรอใครอย่างทุกวันนี้ ที่หลายๆ คนใช้ชีวิตด้วยความเร่งรีบ การแสดงความรักและความห่วงใยแบบง่ายๆ ด้วยการมอบดอกไม้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาพิเศษ อย่างวันวาเลนไทน์ สามารถสร้างความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจได้อย่างเหลือเชื่อ จึงทำให้ดอกไม้ยังเป็นตัวแทนของการแสดงความรักและความห่วงใยที่เรามีให้ต่อกันเสมอมา

logoline