svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

"มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก" เล่นงาน NYT เขียนข่าวไม่จริงเรื่องยิวยิตสู (มีคลิป)

05 มิถุนายน 2566

มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ที่หันไปเอาดีทางด้านกีฬาการต่อสู้ "ยิวยิตสู" เกิดอาการเดือดจัดหลังจากสื่อยักษ์อย่าง New York Times รายงานว่า เขาเกือบจะหมดสติตอนที่ถูกคู่ต่อสู้ล็อกเพราะกรนออกมา ทำให้กรรมการต้องยุติการแข่งขัน

มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดนิยม "เมตา" (Meta) ที่หันไปเอาดีทางกีฬา "ยิวยิตสู" (Jiu-Jitsu) ได้ประณามสื่อยักษ์ New York Times ที่รายงานว่าเขาสำลัก หลังจากกรรมการบอกว่าเขา "เริ่มกรน" ในขณะที่ถูกรัดคอ ซึ่งเขาบอกว่า "ไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น"

ภาพ : IG/zuck


ซัคเคอร์เบิร์กซึ่งแม้จะมีฐานะระดับอภิมหาเศรษฐี แต่เขาก็หลงใหลในศิลปะการต่อสู้ของบราซิลอย่าง "ยิวยิตสู" และได้ลงแข่งขันครั้งแรกที่เมืองเร้ดวู้ด รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 และแม้จะได้มาทั้งเหรียญทองและเหรียญเงิน แต่ก็มีแมทช์ที่เขาไม่พอใจจากการถูกจับกด และกรรมการก็ยุติการแข่งขันเร็วเกินไป ซึ่งกรรมการอ้างว่า ที่ต้องยุติการแข่งขันก็เพราะได้ยินเสียงเขา "กรน" ที่เป็นสัญญาณว่าเขากำลังจะหมดสติ แต่ซัคเคอร์เบิร์กกับโค้ชปฏิเสธและบอกว่าเป็นเสียง "คำราม" 

คลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นว่า เขาถูกจับกดกับพื้นและพยายามจะดิ้นให้หลุดจากฝ่ายตรงข้าม ได้เป็นไวรัลในโซเชียลมีเดีย ซึ่งเหตุการณ์นี้จบลงด้วยการที่กรรมการสั่งยุติการแข่งขัน และให้คู่ต่อสู้เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ สร้างความไม่พอใจให้ซัคเคอร์เบิร์ก ซึ่งได้พูดคุยกับกรรมการค่อนข้างเครียด ก่อนจะจับมือและสวมกอดกับคู่แข่ง

ภาพ : IG/zuck

คอสตา ดา ซิลวา ซึ่งเป็นกรรมการตัดสินและเป็นอดีตนักกีฬายิวยิตสู เปิดเผยต่อ New York Times ว่า ได้รับการฝึกมาให้เรียนรู้อาการของนักกีฬา แต่ซัคเคอร์เบิร์กกับโค้ช คือ เดฟ คาาริญโญ เขียนอีเมลชี้แจงไปยัง New York Times ว่านั่นไม่ใช่อาการของการใกล้หมดสติ แต่กรรมการเข้าใจผิดว่าเสียงคำรามเป็นเสียงกรน และมันไม่เคยเกิดขึ้น ด้านบริษัท Meta ได้แถลงซ้ำด้วยว่า "ไม่มีช่วงไหนของการแข่งขัน ที่มาร์คถูกน็อกหมดสติ มันไม่เคยเกิดขึ้น และกรรมการได้ขอโทษมาร์คและโค้ชแล้ว"

ภาพ : IG/zuck

ยิวยิตสู หรือ จูจุสึ (Jujutsu) ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า "ศิลปะแห่งความอ่อน" เป็นชื่อเรียกของศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่น โดยบางครั้งอาจจะถูกเรียกด้วยชื่ออื่น ๆ เช่น ยะวะระ (yawara) หรือ ไทจุตสุ (taijutsu)