svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

"มะเร็งปอด" คร่าชีวิต "หม่อมน้อย" รักษาตัวนานเกือบ 2 เดือน

16 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดสาเหตุ "มะเร็งปอด" คร่าชีวิต "หม่อมน้อย" บรมครูด้านการแสดงและภาพยนตร์ของไทย หลังเข้ารับการรักษาตัวเกือบ 2 เดือน ที่โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน

16 กันยายน 2565 ข่าวเศร้าวงการบันเทิงไทยกลางดึกคืนวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา กับการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ "หม่อมน้อย" หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับละครโทรทัศน์ และละครเวที ถือเป็นบรมครูด้านการแสดงและภาพยนตร์คนสำคัญของประเทศไทย ในวัย 69 ปี สร้างความเสียใจและอาลัยอย่างยิ่งกับคนบันเทิงและแฟนภาพยนต์
 

ล่าสุด ช่วงกลางดึกที่ผ่านมา (15 ก.ย.) ทีมงานของ "หม่อมน้อย" ออกมาแจ้งข่าวเศร้า ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล ถึงแก่กรรม เมื่อเวลา 22.20 น. ด้วยโรคมะเร็งปอด หลังจากที่เข้ารักษาตัว ณ โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน เป็นเวลาเกือบสองเดือน สิริอายุ 69 ปี 

"หม่อมน้อย" หม่อมหลวง พันธุ์เทวนพ เทวกุล

 

  เปิดประวัติ "หม่อมน้อย" หม่อมหลวง พันธุ์เทวนพ เทวกุล  

หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล หรือที่นิยมเรียกกันว่า หม่อมน้อย เกิดเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2496 เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับละครโทรทัศน์ และละครเวทีที่มีผลงานโดดเด่นแปลกใหม่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคนหนึ่งของประเทศไทย ทั้งยังเป็นผู้เขียนบทและอาจารย์สอนวิชากำกับการแสดงและการแสดงในระดับสากล

 

หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์ชนาญวัต เทวกุล (โอรสในหม่อมเจ้าสุทธาสิโนทัย เทวกุล) กับนางภักดี เทวกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สมรรคะบุตร) โดยหม่อมน้อยเป็นพระปนัดดา (เหลน) ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ และหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ทางหม่อมเจ้าสุธาสิโนทัย เทวกุล (พระอนุชาในหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร พระอัยกีใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ผู้เป็นท่านปู่

หม่อมน้อย

 ประวัติการศึกษา 

ในระดับอนุบาล ศึกษาที่ โรงเรียน สมถวิล (ราชดำริ) ก่อนจะสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จากนั้นเข้าศึกษาที่ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนที่จะลาออกเพื่อมาทำงานทางด้านภาพยนตร์ในเวลาต่อมา

 

กระทั่งต่อมา ได้รับปริญญา ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการสื่อบันเทิง ประจำปีการศึกษา 2557 จากสถาบันกันตนา

"หม่อมน้อย" หม่อมหลวง พันธุ์เทวนพ เทวกุล

หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพมีผลงานเรื่องแรกคือ เพลิงพิศวาส ของ สหมงคลฟิล์ม ที่ได้สร้างชื่อให้แก่ สินจัย เปล่งพานิช และในอีก 26 ปีต่อมา หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพได้กลับมาร่วมงานกับสหมงคลฟิล์มอีกครั้งในการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย

 

ผลงานกำกับภาพยนตร์ของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพได้รับรางวัลหลายเรื่อง เช่น เพลิงพิศวาส (2527), ช่างมันฉันไม่แคร์ (2529), ฉันผู้ชายนะยะ (2530), นางนวล (2530), เผื่อใจไว้ให้กันสักหน่อย (2532), ความรักไม่มีชื่อ (2533), มหัศจรรย์แห่งรัก (2538) และ อันดากับฟ้าใส (2540)

 

 ผลงานการทำงาน 

  • ด้านการเป็นอาจารย์สอนการกำกับแสดงและการแสดงในระดับสากล ตามสถาบันการศึกษา ดังนี้
  • อาจารย์สอนการแสดงที่สหมงคลฟิล์ม
  • อาจารย์พิเศษสอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • อาจารย์พิเศษสอนที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อาจารย์พิเศษที่สถาบันกันตนา 
  • อาจารย์พิเศษสอนนักศึกษาปริญญาโทที่ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
  • สอนการแสดงแก่ศิลปินและนักแสดง จากค่ายต่างๆ

 

ด้านการเป็นผู้กำกับละครเวที ผู้กำกับละครโทรทัศน์ ผู้กำกับภาพยนตร์ และ เป็นผู้เขียนบท  ตามรายชื่อผลงานทั้งหมด ดังนี้


 ผลงานการกำกับภาพยนตร์ 

  • เพลิงพิศวาส (2527)
  • ช่างมันฉันไม่แคร์ (2529)
  • ฉันผู้ชายนะยะ (2530)
  • นางนวล (2530) [4]
  • เผื่อใจไว้ให้กันสักหน่อย (2532)
  • ความรักไม่มีชื่อ (2533)
  • มหัศจรรย์แห่งรัก (2538)
  • อันดากับฟ้าใส (2540)
  • ชั่วฟ้าดินสลาย (2553)
  • อุโมงค์ผาเมือง (2554) [5]
  • จัน ดารา ปฐมบท (2555)
  • จัน ดารา ปัจฉิมบท (2556)
  • แผลเก่า (2557)
  • แม่เบี้ย (2558)
  • Six characters มายาพิศวง (2565)

 

"หม่อมน้อย" หม่อมหลวง พันธุ์เทวนพ เทวกุล


 ผลงานการกำกับละครโทรทัศน์ 

  • เทพธิดาบาร์ 21 (มินิซีรีส์ 2533)
  • ช่างมันฉันไม่แคร์ (2536)
  • แผ่นดินของเรา (2539)
  • ซอยปรารถนา 2500 (2541)
  • ปีกทอง (2542)
  • ลูกทาส (2544)
  • คนเริงเมือง (2545)
  • ทะเลฤๅอิ่ม (2546)
  • สี่แผ่นดิน (2546)
  • ในฝัน (2549)
  • ศรีอโยธยา (2560)


 ผลงานการกำกับละครเวที 

  • ALL MY SON (2517)- แสดงที่หอประชุม A.U.A
  • บัลเลต์พระราชนิพนธ์ “ความฝันอันสูงสุด” (2518) - แสดงที่โรงละครแห่งชาติ
  • The Lower Depths (2517, 2518) - แสดงที่โรงละครคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และโรงละครแห่งชาติ
  • IMPROMPTU (2520) - แสดงที่สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน
  • LES MALENTANDU (2524) - แสดงที่หอประชุมคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เทพธิดาบาร์ 21 (2529) - แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
  • ONE FLEW OVER THE CUCKOO’S NEST (2530) - แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
  • ผู้แพ้ผู้ชนะ (2532) - แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
  • พรายน้ำ (2533) - แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
  • ราโชมอน (2534) - แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
  • ปรัชญาชีวิต (2531-2533) - แสดงที่ตึกร้าง บ.แปลนอคิวเท็ก, เชียงใหม่ สปอร์ตคลับ, ม.ขอนแก่น
  • พระผู้เป็นดวงใจ ของโรงเรียนสวนจิตรลดา (2529) - แสดงที่หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ
  • แฮมเล็ต เดอะ มิวสิเคิล (2538) - แสดงที่หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ

นับเป็นการสูญเสียบุคคลสำคัญในแวดวงการแสดงของเมืองไทยอีกครั้ง ทาง "เนชั่นออนไลน์" ขอร่วมแสดงความอาลัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย 


"หม่อมน้อย" หม่อมหลวง พันธุ์เทวนพ เทวกุล

logoline