svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เจ้าท่าเดินหน้าขุดลอกแม่น้ำ-ลำคลองปี 68 ตั้งเป้า 8 ล้าน ลบ.ม. ฟื้นฟูแหล่งน้ำ

เจ้าท่า เดินหน้าขุดลอกแม่น้ำ-ลำคลองปี 68 ตั้งเป้า 8 ล้าน ลบ.ม. ฟื้นฟูแหล่งน้ำ โชว์ผลสำเร็จ ปี 62-67 นำวัสดุที่ขุดลอกเป็นค่าตอบแทนช่วยรัฐประหยัด 690 ล้านบาท

นายกริชเพชร ชัยช่วย อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม โดยกรมเจ้าท่า ได้ร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการแผนการขุดลอกคลองและการสูบน้ำเพื่อการเกษตร โดยมีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งในที่ประชุมมีมติให้พิจารณาแนวทางการขุดลอกต่างตอบแทนของกรมเจ้าท่า ที่จะสร้างประโยชน์ ทั้งในด้านการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งให้กับประชาชน  โดยใช้วัสดุที่ได้จากการขุดลอก ได้แก่ กรวด หิน ดิน ทราย เป็นค่าตอบแทน เพื่อการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายให้เกิดประสิทธิภาพสามารถประหยัดงบประมาณของราชการ

เจ้าท่าเดินหน้าขุดลอกแม่น้ำ-ลำคลองปี 68 ตั้งเป้า 8 ล้าน ลบ.ม. ฟื้นฟูแหล่งน้ำ

ทั้งนี้ กรมเจ้าท่า ได้มีแผนดำเนินโครงการขุดลอกแม่น้ำ ลำคลอง เพื่อพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ (ขุดลอกต่างตอบแทน) ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยอาศัยระเบียบกรมเจ้าท่าว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ขุดลอกเพื่อดูแลและรักษาสภาพลำน้ำ พ.ศ. 2556 ประกอบกับระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการเกี่ยวกับการขุดลอกแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์ที่ตื้นเขิน พ.ศ. 2547 ซึ่งองค์กรปกครองท้องถิ่นสามารถนำวัสดุที่ได้จากการขุดลอกมาเป็นค่าตอบแทนตามเงื่อนไข วิธีการ ที่กำหนดระเบียบฯ โดยการสำรวจออกแบบจัดทำโครงการพร้อมเหตุผลความจำเป็น ยื่นขออนุญาตต่อสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาในพื้นที่ (หรือผู้ว่าราชการจังหวัดตามที่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าท่า) และขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัด ในการนำวัสดุที่ได้จากการขุดลอกมาเป็นค่าตอบแทนแทนค่าจ้าง โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ

เจ้าท่าเดินหน้าขุดลอกแม่น้ำ-ลำคลองปี 68 ตั้งเป้า 8 ล้าน ลบ.ม. ฟื้นฟูแหล่งน้ำ เจ้าท่าเดินหน้าขุดลอกแม่น้ำ-ลำคลองปี 68 ตั้งเป้า 8 ล้าน ลบ.ม. ฟื้นฟูแหล่งน้ำ
 

สำหรับแผนงานในช่วงไตรมาส 1 ของปีงบประมาณ 2568 ระหว่างเดือนตุลาคม  - ธันวาคม 2567  ได้ดำเนินการไปแล้ว 14 โครงการ คิดเป็นปริมาณวัสดุขุดลอก 26,425,728.26 ลูกบาศก์เมตร   เป็นการเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ ลดระดับความเสียหายของตลิ่ง ป้องกันแก้ไขปัญหาการเกิดอุทกภัย เพิ่มพื้นที่ในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ควบคู่กับการสนับสนุนวิถีชีวิตทางน้ำและการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายในการขยายพื้นที่รับน้ำ เพิ่มอัตราการระบายน้ำในแม่น้ำสายหลักและแม่น้ำสาขา ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ปรับภูมิทัศน์ริมแม่น้ำ โดยมีประชาชนเป็นผู้ที่ได้ใช้ประโยชน์ในการขนส่งทางน้ำที่สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย   ส่วนเป้าหมายในการขุดลอกแม่น้ำ ลำคลอง เพื่อพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำในปี 2568 โดยใช้วัสดุที่ได้จากการขุดลอกเป็นค่าตอบแทน ที่ 8 ล้านลูกบาศก์เมตร  เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2567  ที่นำวัสดุที่ได้จากการขุดลอกเป็นค่าตอบแทน ที่ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร 

เจ้าท่าเดินหน้าขุดลอกแม่น้ำ-ลำคลองปี 68 ตั้งเป้า 8 ล้าน ลบ.ม. ฟื้นฟูแหล่งน้ำ

อย่างไรก็ตาม กรมเจ้าท่า ได้ดำเนินการขุดลอกต่างตอบแทน ตั้งแต่ในปีงบประมาณ 2562 – 2567 โดยสำนักงานเจ้าท่าที่ 1- 7 เป็นจำนวนโครงการ รวมทั้งสิ้น 508 โครงการ ในพื้นที่ 35 จังหวัดทั่วประเทศ คิดเป็นปริมาณวัสดุขุดลอก รวมทั้งสิ้น 25,589,379.70 ลูกบาศก์เมตร สามารถประหยัดงบประมาณเป็นเงินจำนวน รวมทั้งสิ้น 690,913,251.90 บาท

เจ้าท่าเดินหน้าขุดลอกแม่น้ำ-ลำคลองปี 68 ตั้งเป้า 8 ล้าน ลบ.ม. ฟื้นฟูแหล่งน้ำ
 

สำหรับโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ได้แก่ อาทิ โครงการขุดลอกแม่น้ำปิง บ้านหนองโค้ง จ.เชียงใหม่ โครงการขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยา จ.นครสวรรค์ โครงการขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยา จ.ชัยนาท โครงการขุดลอกคลองหินจวง จ.ประจวบคีรีขันธ์ โครงการขุดลอกที่อยู่ระหว่างดำเนินการ อาทิ โครงการขุดลอกแม่น้ำมูล จ.สุรินทร์ โครงการขุดลอกแม่น้ำชี จ.อุบลราชธานีโครงการขุดลอกแม่น้ำมูล บ้านสะแกทอง จ.บุรีรัมย์  รวมถึงโครงการขุดลอกคลองมอง จ.ชุมพร โครงการขุดลอกคลองท่าฉาง จ.ระนอง ที่อยู่ระหว่างการจัดทำแผนดำเนินการ

เจ้าท่าเดินหน้าขุดลอกแม่น้ำ-ลำคลองปี 68 ตั้งเป้า 8 ล้าน ลบ.ม. ฟื้นฟูแหล่งน้ำ

กรมเจ้าท่า ในฐานะหน่วยงานสำคัญในการปฏิบัติภารกิจการกำกับ ควบคุม ดูแล และพัฒนาส่งเสริมการขนส่งทางน้ำให้ได้รับความปลอดภัย  สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางน้ำ รวมทั้งผลิตและพัฒนาบุคลากร เกี่ยวกับการขนส่งทางน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล  โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำ  ซึ่งมีความสำคัญ ที่ต้องดูแล และเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของน้ำ ด้วยการขุดคลอง พื้นที่เก็บกักน้ำ เพื่อชะลอความเร็วของน้ำไม่ให้ไหลบ่าเข้าสู่พื้นที่ตอนล่าง และยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าต้นน้ำ เป็นการป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน รวมถึงพื้นที่กลางน้ำ และพื้นที่ท้ายน้ำ สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่มุ่งสู่การขนส่งอย่างยั่งยืน