svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ธุรกิจ-การตลาด

รัฐดึงเชฟมิชลิน โปรโมตอาหาร จาก "วัตถุดิบ GI" สร้าง Soft power สู่ระดับโลก

02 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รัฐบาลดันปี 2566 เป็นปี แห่ง Soft power โดยกระทรวงพาณิชย์ จับมือเชฟมิชลิน ใช้วัตถุดิบจากสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI จำนวน 15 รายการ รังสรรค์เมนูระดับพรีเมี่ยม เพื่อยกระดับสินค้าชุมนให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลก

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามนโยบายรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริม Soft Power เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และ สร้างรายได้สู่ชุมชน ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้เผยแพร่ชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยเฉพาะในเรื่องของวัตถุดิบและอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ผ่านการเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

โดยในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ นอกจากดำเนินการในเรื่องการประชาสัมพันธ์ เร่งขยายตลาดสินค้าไทยแล้ว ยังให้ความสำคัญการส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication: GI) ซึ่งเป็นการคุ้มครองว่าสินค้าเกษตรชนิดนั้นเป็นสินค้าเฉพาะถิ่นที่พื้นที่อื่น ไม่สามารถนำชื่อไปใช้ และเสมือนเครื่องยืนยันถึงคุณภาพสินค้าอีกด้วย

ทั้งนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้เร่งรัดการขึ้นทะเบียน ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ถึงประโยชน์ของการคุ้มครอง GI ให้แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่น จัดทำระบบควบคุมคุณภาพ เพื่อรักษามาตรฐานของสินค้า GI ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ส่งเสริมการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้างโอกาสและยกระดับสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่นของชุมชนสู่สินค้าระดับพรีเมี่ยมต่อไป

โดยขณะนี้มีสินค้าที่ได้ขึ้นทะเบียนสินค้า GI กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา แล้วทั้งหมด 195 รายการ (ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2565) แบ่งเป็น GI ไทย 177 รายการ GI ต่างประเทศ 18 รายการ  และ 6 รายการล่าสุด คือ มะม่วงเบาสงขลา (จ.สงขลา) มะม่วงน้าดอกไม้สีทองพิษณุโลก (จ.พิษณุโลก) ขมิ้นชันสุราษฎร์ธานี (จ.สุราษฎร์ธานี) กล้วยหอมทองพบพระ (จ.ตาก) ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา (จ.ยะลา) และปลาเม็ง สุราษฎร์ธานี (จ.สุราษฎร์ธานี)

นางสาวรัชดา กล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการเผยแพร่สินค้า IG ให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก ทางกรมฯ ได้ร่วมกับ Michelin Guide ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ โดยการคัดสรรวัตถุดิบซึ่งเป็นสินค้า GI จากแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ มาสร้างสรรค์ เป็นเมนูอาหารจากเชฟระดับมิชลินสตาร์ โดยที่ผ่านมา จัดทำให้กับสินค้า GI แล้ว 4 สินค้าจาก 3 จังหวัด ได้แก่ ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ ,หอมแดงศรีสะเกษ , กระเทียมศรีสะเกษ และ เนื้อโคขุนโพนยางคา จังหวัดสกลนคร

รัฐดึงเชฟมิชลิน โปรโมตอาหาร จาก "วัตถุดิบ GI" สร้าง Soft power สู่ระดับโลก

รัฐดึงเชฟมิชลิน โปรโมตอาหาร จาก "วัตถุดิบ GI" สร้าง Soft power สู่ระดับโลก

สำหรับปี 2566 นับแต่มกราคมนี้ จะต่อยอดผ่านกิจกรรม “สัมผัสสำรับ GI สุดประณีตด้วยเชฟมิชลิน” โดยการนำวัตถุดิบ GI ถึง 15 รายการ เช่น ปลากะพงสามน้ำ จาก ทะเลสาบสงขลา ,ปลาดุกร้าทะเลน้อยพัทลุง ,ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์ ,สับปะรดภูเก็ต ,มะนาวเพชรบุรี และ น้าตาลโตนดเมืองเพชร เป็นต้น มารังสรรเป็นเมนูสุดพิเศษให้แก่ผู้มีชื่อเสียงในแวดวง GI และสื่อมวลชน เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพสินค้า GI ในการก้าวไปสู่เวทีสากล
 

“รัฐบาลเชื่อมั่นในโอกาสเติบโต ของสินค้าเกษตร ผ่านการทำการตลาด เน้นทุนทางวัฒนธรรมอาหารไทย รวมถึงสร้างการรับรู้สินค้า GI ไทยว่า เป็นของแท้และมีคุณภาพระดับพรีเมียม ให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบอาชีพด้านอาหารหันมาสนใจวัตถุดิบจากสินค้า GI ท้องถิ่น นำไปสร้างสรรค์เมนูอาหารที่มีคุณภาพ เป็นการใช้ Soft Power เพื่อสร้างรายได้แก่ชาวบ้านและความเข้มแข็งของเศรษฐกิจท้องถิ่น” นางสาวรัชดา กล่าว

logoline