svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

กรมประมง เตือน เกษตรกร เฝ้าระวังภัยแล้ง กระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

31 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมประมง แจ้งเตือนเกษตรกร เฝ้าระวังภัยแล้งส่งผลกระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พร้อมออกแนวปฎิบัติการเลี้ยงสัตว์น้ำในฤดูร้อน และเร่งส่งเจ้าหน้าที่สร้างการรับรู้ ข้อมูลข่าวสาร ลดผลกระทบ

นายถาวร ทันใจ  รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยในฐานะโฆษกกรมประมง ว่า ด้วยสภาพอากาศในช่วงฤดูร้อน ทำให้หลายพื้นที่มีสภาพอากาศร้อนจัด ส่งผลให้อุณหภูมิน้ำ ทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำชลประทาน เกิดการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น กระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้สัตว์น้ำที่เกษตรกรเลี้ยงไว้เกิดความเครียด อ่อนแอ มีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย และอาจตายได้

กรมประมง เตือน เกษตรกร เฝ้าระวังภัยแล้ง กระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น กรมประมงจึงได้จัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ในช่วงฤดูแล้ง ประจำปี 2566 ไว้ 3 ระยะ คือ

1. การเตรียมรับสถานการณ์ก่อนเกิดภัย

2. การให้ความช่วยเหลือขณะเกิดภัย

3. การให้ความช่วยเหลือหลังเกิดภัย

กรมประมง เตือน เกษตรกร เฝ้าระวังภัยแล้ง กระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ทั้งนี้ ยังได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนแก่เกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเตรียมตัวรับกับสถานการณ์ รวมทั้งหาวิธีการป้องกัน แก้ไข และหลีกเลี่ยงความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งให้คำแนะนำทางวิชาการแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเตรียม การป้องกันอีกด้วย โดยกรมประมงมีข้อควรปฏิบัติในช่วงฤดูแล้ง ดังนี้

 1. ควรปรับลดขนาดการผลิตหรืองดเว้นการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทำการตากบ่อและตกแต่งบ่อเลี้ยง/ทำความสะอาดและซ่อมแซมกระชังในช่วงฤดูแล้งแทน เพื่อเตรียมไว้เลี้ยงสัตว์น้ำในรอบต่อไป

2. วางแผนการเลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และฤดูกาล โดยเฉพาะแหล่งน้ำ ที่ตั้งกระชังควรมีระดับความลึกเพียงพอ เมื่อตั้งกระชังแล้วพื้นกระชังควรสูงจากพื้นน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เพื่อให้น้ำมีการหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก

3. ทยอยจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นมาจำหน่ายหรือบริโภค เพื่อลดปริมาณสัตว์น้ำภายในบ่อ/กระชัง

4. หากจำเป็นต้องเลี้ยงสัตว์น้ำควรคัดเลือกพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความแข็งแรง จากฟาร์มผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้

5. ควบคุมการใช้น้ำและรักษาปริมาณน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีการสูญเสียน้อยที่สุด ป้องกันการรั่วซึม หรือจัดทำร่มเงาให้กับบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

กรมประมง เตือน เกษตรกร เฝ้าระวังภัยแล้ง กระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

6. ควรจัดเตรียมหาแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้เพิ่มเติม ปล่อยสัตว์น้ำลงเลี้ยงในปริมาณหนาแน่นน้อยกว่าปกติ และ ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่เพื่อลดระยะเวลาการเลี้ยงให้น้อยลง

7. ควรเลือกใช้อาหารสัตว์น้ำที่มีคุณภาพดี ให้ในปริมาณที่เหมาะสม และลดปริมาณอาหารสัตว์น้ำลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นอาหารสดเพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย

กรมประมง เตือน เกษตรกร เฝ้าระวังภัยแล้ง กระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

8. ควรทำความสะอาดกระชังสม่ำเสมอ เพื่อกำจัดตะกอนและเศษอาหาร ซึ่งเป็นการตัดวงจรชีวิตปรสิตและเชื้อโรค นอกจากนี้ช่วยให้กระแสน้ำไหลผ่านกระชังได้ดี มีผลต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพสัตว์น้ำ และควรสังเกตอาการต่าง ๆ ของสัตว์น้ำที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด หากมีอาการผิดปกติจะได้แก้ไขและให้การรักษาได้ทันท่วงที

9. ควรงดเว้นการขนถ่ายสัตว์น้ำ ถ้าจำเป็นต้องระมัดระวังให้มากเนื่องจากจะมีผลกระทบกับการกินอาหารและการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำโดยตรง

10. ควรหมั่นตรวจสุขภาพสัตว์น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบสิ่งผิดปกติ ให้รีบหาสาเหตุและแก้ไขได้ทันที

ในขณะเดียวกันควรแจ้งให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงทราบ เพื่อที่จะได้หามาตรการป้องกันการแพร่กระจายโรค กรณีที่มีสัตว์น้ำป่วยตาย ควรกำจัดโดยการฝังหรือเผา ไม่ควรทิ้งสัตว์น้ำป่วยในบริเวณบ่อ และ แหล่งน้ำที่เลี้ยงเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคทำให้การระบาดของโรคเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

กรมประมง เตือน เกษตรกร เฝ้าระวังภัยแล้ง กระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

 

 

logoline