เพิ่ม nation online
ลงในหน้าจอหลักของคุณ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยผลสำรวจ พฤติกรรมและการใช้จ่ายของผู้บริโภคช่วงวัน "วาเลนไทน์" ปี 2566 จากกลุ่มตัวอย่ง 1,255 ราย ทั่วประเทศ พบว่า จำนวนคนที่จะฉลองในเทศกาลวาเลนไทน์และไม่ฉลองมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันมากนัก โดยจะไม่ฉลอง 50.8% และฉลอง 49.2% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่อายุต่ำกว่า 40 ปี และเลือกจะฉลองกับคนรักมากที่สุด 63.7%
สำหรับสถานที่ฉลองนั้น คือห้างสรรพสินค้า 30.2% คาเฟ่ 15.7% และร้านอาหาร 15.3% และ จะมีค่าใช้จ่ายโดยรวมในช่วงวาเลนไทน์เฉลี่ย 1,848.82 บาทต่อคน คิดเป็นเงินสะพัดรวม 2,389.31 ล้านบาทขยายตัวเพิ่มขึ้น 15% เป็นบวกครั้งแรกในรอบ 4ปี
โดยการซื้อสินค้าในวาเลนไทน์ปีนี้ 33.2% มองว่าราคาสินค้าเพิ่มมากขึ้น จึงต้องใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่ปริมาณการซื้อ 51.6% เห็นว่าจะไม่เปลี่ยนแปลง โดยเงิรที่นำมาใช้นั้นส่วนใหญ่มาจากเงินเดือนและเงินออมบางส่วน
“การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้มาจากเศรษฐกิจฟื้นตัว และ คนมีกำลังซื้อมากขึ้น แต่เหตุผลหลักมาจากราคาสินค้าที่แพงขึ้น จึงเตรียมเงินซื้อของเพิ่มแต่ปริมาณเท่าเดิม ซึ่งมองว่าวาเลนไทน์ปีนี้จะคึกคักแบบแต่ไม่มาก เนื่องจากมีเทศกาลติดต่อกันหลายเทศกาลแล้วตั้งแต่ต้นปี คนจึงใช้จ่ายไปแล้วค่อนข้างเยอะ รวมทั้งวาเลนไทน์ ปีนี้ตรงกับวันธรรมดาไม่ใช่วันหยุด อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่กำลังจะฟื้นตัวชัดเจน ทั้งจากเงินเฟ้อที่ลดลง การท่องเที่ยวที่ดีขึ้น คาดว่าปีหน้าวาเลนไทน์จะคึกคักมากขึ้นกว่าปีนี้” นายธนวรรธน์ กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวต่อว่านอกจากนี้ยังมีการสำรวจในเชิงสังคม พบว่า ส่วนใหญ่ 35.7% มีแนวโน้มจะมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ โดยเฉพาะในกลุ่ม GEN X และ GEN Z รวมทั้งยังมีการสะท้อนถึงปัญหาเด็กและเยาวชน ในปีนี้พบว่า
ปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นคือ การคลอดแล้วทิ้ง การมีลูกในวัยไม่พร้อม การถูกล้วงละเมิดทางเพศ และการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และสิ่งที่อยากให้หน่วยงานรัฐทำ คือการสอนเรื่องเพศสัมพันธ์ในโรงเรียน การแจกถุงยางอนามัยช่วงวาเลนไทน์ การสมรสเท่าเทียม
ทั้งนี้ในการเลือกตั้งที่จะมาถึงกลุ่มตัวอย่างต้องการให้ แก้ไขปัญหาทุจริตทุกระดับบมากที่สุด รองลงมาคือ การสร้างความเท่าเทียมในสังคม และ สนับสนุนเงินทุนการศึกษาสำหรับผู้มีรายได้น้อย