svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ทำความรู้จัก“ภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติก” Plastic Tax ก่อนจะมีการเก็บจริง 

23 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ภาษีพลาสติก”  (Plastic Tax) หรือ “ภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติก” (Plastic Packaging Tax: PPT) เป็นมาตรการภาษีที่เรียกเก็บเงินจากผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือประเทศสมาชิกที่ผลิต นำเข้า แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและย่อยสลายยาก

อีกหนึ่งประเด็นทางสังคมที่น่าสนใจ "ภาษีพลาสติก" (Plastic Tax) หรือ “ภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติก” (Plastic Packaging Tax: PPT) ล่าสุดทางด้าน นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า

สนค. ได้ศึกษาและติดตามนโยบายและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศที่ส่งผลต่อการค้าของไทย พบว่า ตั้งแต่ปี 2564 มีประเทศคู่ค้าของไทยเริ่มจัดเก็บภาษีพลาสติก เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change)

ทำความรู้จัก“ภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติก” Plastic Tax ก่อนจะมีการเก็บจริง 

ทั้งนี้ ภาษีพลาสติก” (Plastic Tax) หรือ “ภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติก” (Plastic Packaging Tax: PPT) เป็นมาตรการภาษีที่เรียกเก็บเงินหรือค่าธรรมเนียมจากผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือประเทศสมาชิกที่ผลิต นำเข้า หรือใช้ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและย่อยสลายยาก

ทั้งนี้ ไม่รวมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มาจากการรีไซเคิล การจัดเก็บภาษีพลาสติกจะทำให้ต้นทุนของบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หรือเลือกใช้สินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้หรือบรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้ซ้ำแทน ท้ายที่สุดแล้วจะทำให้ปริมาณขยะพลาสติกลดลง ในขณะที่ภาครัฐก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้น

ภาษีพลาสติกของสหภาพยุโรปที่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 พิจารณาจากปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่รีไซเคิลที่ผลิตขึ้นโดยแต่ละรัฐสมาชิก นำเงินดังกล่าวให้เป็นงบประมาณของสหภาพยุโรปของปี 2021-2027

เงินที่ต้องจ่ายจะคำนวณโดยน้ำหนักของขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่รีไซเคิล โดยมีอัตราคงที่ คือ 0.80 ยูโรต่อกิโลกรัม โดยคำนวณตามข้อมูล Eurostat data
 

ยกตัวอย่างใน ออสเตรีย ซึ่งมีขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกมากกว่า 200,000 ตันที่ไม่ได้รีไซเคิล โดยมีตัวเลขสถิติจาก NGO นับตั้งแต่การใช้ภาษีดังกล่าว ออสเตรียได้เสียเงินไปกว่า 220 ล้านยูโร ซึ่งได้มีหลายฝ่ายออกมากล่าวว่าบริษัทผู้ผลิตเป็นคนสร้างขยะขึ้นมา ดังนั้นรัฐบาลต้องมีการคิดกลไกในการให้ผู้ผลิตและผู้ขายเป็นคนจ่าย เพื่อทำให้เกิดแรงจูงใจในการเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้
 

ความตกลงปารีส เป็นเสมือนหัวใจหลัก ที่ทุกประเทศทั่วโลกพยายามที่จะออกนโยบายให้ประเทศของตนสามารถบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ให้ได้ โดยสหภาพยุโรปก็เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่มีการตั้งเป้าหมายอย่างทะเยอทะยานเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 55% ภายในปี 2030

 

ทำให้สหภาพยุโรป ได้ออกยุทธศาสตร์และมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของ EU Green Deal ออกมาเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ซึ่ง EU Green Deal เป็นแพ็คเกจที่ครอบคลุมทั้งมาตรการภาษีและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี หนึ่งในนั้นคือ “Plastic Tax” หรือภาษีพลาสติกของสหภาพยุโรป โดยเป็นหนึ่งในหลายมาตรการของการปฏิรูปภาษีซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการใช้วัตถุดิบและลดการเกิดของเสีย ส่งเสริมการมุ่งไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน
 

ทำความรู้จัก“ภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติก” Plastic Tax ก่อนจะมีการเก็บจริง 

การเก็บภาษีหรือสิ่งจูงใจทางภาษี สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคของประชาชนได้ และนำมาใช้ได้ในแต่ละขั้นตอนของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือสินค้าต่าง ๆ ได้ เพื่อผลักดันให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ในขั้นตอนการผลิตจะเก็บภาษีจากการสกัดแยกวัตถุดิบมาใช้ หรือเก็บภาษีจากการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณคาร์บอนสูง เช่น เหล็กกล้า หรือการเก็บภาษีจากปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น

ภาษีขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่รีไซเคิล เป็นมาตรการภาษีล่าสุดที่สหภาพยุโรปนำมาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 และสามารถนำมาปรับใช้ได้ ณ จุดต่างๆ ของวงจรชีวิตของพลาสติก มาตรการฯ นี้ เป็นส่วนหนึ่งของ EU recovery package ซึ่งรัฐสมาชิกต้องจ่ายเงินสมทบรัฐสมาชิกที่เก็บได้จากภาษีพลาสติกเข้าเป็นเงินงบประมาณของสหภาพยุโรป โดยพิจารณาจากปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่รีไซเคิลที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศรัฐสมาชิก เงินดังกล่าวจะนำมาสมทบเป็นงบประมาณของสหภาพยุโรปสำหรับปี 2021-2027 (พ.ศ. 2564 – 2570) เพื่อนำมาใช้ในการฟื้นฟูสหภาพยุโรปอันเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 (NextGeneration EU)

ในปี 2566 สหราชอาณาจักร เริ่มเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์พาสติก  ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 จากผู้ผลิตและผู้นำเข้าบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมจากพลาสติกรีไซเคิลน้อยกว่าร้อยละ 30 ในอัตรา 200 ปอนด์ต่อตัน และฟิลิปปินส์เพิ่งเห็นชอบกฎหมายภาษีถุงพลาสติก (Plastic Bags Tax Act) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา และในปี 2569 ฟิลิปปินส์จะเริ่มจัดเก็บภาษีจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ในอัตรา 100 เปโซฟิลิปปินส์ต่อกิโลกรัม (ประมาณ 1.75 ดอลลาร์) ในขณะที่สหรัฐฯ ก็กำลังพิจารณาร่างกฎหมาย Reduce Act of 2021 ที่จะจัดเก็บภาษีพลาสติกที่ไม่มีส่วนผสมจากพลาสติกรีไซเคิลและบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ในอัตรา 0.2 – 0.5 ดอลลาร์ต่อปอนด์

ในปี 2564 ไทย มีการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก  ไปยังตลาดโลก มูลค่ารวม 140,772.17 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.07 ของมูลการส่งออกรวม ขยายตัวร้อยละ 13.46 สำหรับใน 11 เดือนแรกของปี 2565 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นมูลค่า 146,580.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 14.09 โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรกได้แก่ สหรัฐฯ มีสัดส่วนร้อยละ 19.26 ญี่ปุ่น (ร้อยละ 16.74) เวียดนาม (ร้อยละ 5.69) ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 4.94) และจีน (ร้อยละ 4.75)

ถึงแม้ว่าตลาดสำคัญของไทยจะยังไม่มีการจัดเก็บภาษีพลาสติก แต่ในอนาคตมีแนวโน้มที่ตลาดเหล่านี้จะจัดเก็บภาษีพลาสติก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกอันดับ 1 ของไทย อยู่ระหว่างจัดทำร่างกฎหมาย Reduce Act of 2021 ซึ่งย่อมส่งผลให้ผู้ส่งออกมีต้นสูงขึ้น ดังนั้น ประเทศไทย ต้องเตรียมการรองรับ ปรับตัว และแสวงหาโอกาสทางการตลาดในการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค อาทิ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ การพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับและมาตรฐานบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมของพลาสติกรีไซเคิล การส่งเสริมการส่งออกพลาสติกชีวภาพ และการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable business) เป็นต้น
 

ขอขอบคุณที่มา: กระทรวงอุตสาหกรรม 

อ้างอิงที่มาจาก: ภาษีพลาสติก คือ แหล่งรายได้ใหม่ของงบประมาณสหภาพยุโรป

 

logoline